**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    ศิวิไล พระเครื่อง

    รับเช่า ให้เช่าจัดหาบูชาวัตถุมงคลเกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

    ยินดีต้อนรับ เพื่อนพ้องน้องพี่ทุกท่าน ทางร้านมีพระเครื่องเกจิคณาจารย์สายเหนือไว้ให้บริการทุกท่าน ยินดีให้คำแนะนำและให้บริการท่านด้วยพระแท้ สวย ดูง่าย สบายตา ตามหลักสากลนิยม รับประกันความแท้ทุกรายการครับ

    เงื่อนไขการรับประกัน

    1. รับประกันความแท้ 100 %

    2. รับประกันความพอใจภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับพระ
    (คืนพระเกินกำหนดรับประกัน หัก 20 %)

    3. การคืนพระต้องอยู่ในสภาพเดิมที่เช่าไปจากร้าน และจะรับคืนเฉพาะท่านที่เช่าจากร้านไปเท่านั้น

    4. การจองเกิน 3 วัน ถือว่าสละสิทธิ์ และท่านอื่นสามารถจองได้เป็นลำดับต่อไป

    รายละเอียดการโอนเงิน
    ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาโลตัสกาดคำเที่ยง เชียงใหม่
    ชื่อบัญชี นายวันศีล โกวัง
    เลขที่บัญชี 892-209743-2

    โทร.086-1936900


    เชิญเยี่ยมชมพระเครื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ ร้านศิวิไล และ ร้านศิวิไล2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2013
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการ 01
    เหรียญรุ่นแรกครูบาชัยวงค์ วัดพระพทธบาทห้วยต้ม บล็อกข้าวตม เหรียญประสบการณ์ยอดนิยม สภาพสวยไม่ผ่านการใช้


    บูชาแล้วครับ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]



    ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)ชาติภูมิ


    นามเดิม วงศ์หรือชัยวงศ์ นามสกุล ต๊ะแหนม เกิดที่ ตำบลหันก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อ วันอังคาร เดือน ๗ ( เหนือ ) แรม ๒ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๖ เวลา ๒๔.๑๕ นาฬิกา มีพี่น้องรวม ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓


    ชิวิตในวัยเด็ก

    ท่านเกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนาที่ยากจน พ่อแม่ของท่านมีสมบัติติดตัวมาแค่นา ๓-๔ ไร่ ควาย ๒-๓ ตัว ทำนาได้ข้าวปีละ ๒๐-๓๐ หาบ ไม่พอกินเพราะต้องแบ่งไว้ทำพันธุ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ใส่บาตรทำบุญบูชาพระ ส่วนที่เหลือจึงจะเก็บไว้กินเอง ต้องอาศัยขุยไผ่ขุยหลวกมาตำเอาเม็ดมาหุงแทนข้าว และอาศัยของในป่า รวมทั้งมันและกลอยเพื่อประทั้งชีวิต บางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อก็มี แม่ต้องไปขอญาติพี่ๆน้องๆ เขาก็ไม่มีจะกินเหมือนกัน แม่ต้องกลับมามือเปล่า พร้อมน้ำตาบนใบหน้ามาถึงเรือน ลูกๆก็ร้องไห้เพราะหิวข้าว

    แม้ว่าครอบครัวของท่านต้องดิ้นรนต่อสู้กับความอดทนอยากแต่ก็ไม่ได้ละทิ้ง เรื่องการทำบุญให้ทาน ข้าวที่แบ่งไว้ทำบุญ แม่จะแบ่งให้ลูกทุกคนๆละปั้น ไปใส่บาตรบูชาพระพุทธทุกวันพระ

    โยมพ่อเคยสอนว่า " ตอนนี้พ่อแม่อด ลูกทุกคนก็อด แต่ลูกๆทุกคนอย่าท้อแท้ใจ ค่อยทำบุญไปเรื่อยๆ บุญมีภายหน้าก็จะสบาย " และโยมพ่อเคยพูดกับท่านว่า

    " ลูกเอ๋ยเราทุกข์ขนาดนี้เชียวหนอ ข้าวจะกินก็ไม่มี ต้องกินไปอย่างนี้ ค่อยอดค่อยกลั้นไป บุญมีก็ไม่ถึงกับอดตายหรอก ทรมานมานานแล้ว ถึงวันนี้ก็ยังไม่ตาย มันจะตายก็ตาย ไม่ตายก็แล้วไป ให้ลูกอดทนไปนะ ภายหน้าถ้าพ่อยังไม่ตายเสียก่อนก็ดี ตายไปแล้วก็ดี บางทีลูกจะได้นั่งขดถวายหงายองค์ตีน ( บวช ) กินข้าวดีๆอร่อยๆ พ่อนี่จะอยู่ทันเห็นหรือไม่ทันก็ยังไม่รู้ "

    ผู้มีความขยันและอดทน

    ในสมัยที่ท่านยังเล็กๆอายุ ๓-๔ ขวบ ท่านมีโรคประจำตัวคือ โรคลมสันนิบาต ลมเปี่ยวลมกัง ต้องนั่งทุกข์อยู่เป็นวันเป็นคืน เดินไปไกลก็ไม่ได้ วิ่งก็ไม่ได้เพราะลมเปี่ยว ตะคริวกินขากินน่อง เดินเร็วๆก็ไม่ได้ ต้องค่อยไปค่อยยั้ง เวลาอยู่บ้านต้องคอยเลี้ยงน้อง ตักน้ำติดไฟไว้คอยพ่อแม่ที่เข้าไปในป่าหาอาหาร

    ในช่วงที่ท่านมีอายุได้ ๕-๑๐ ขวบ ท่านต้องเป็นหลักในบรรดาพี่น้องทั้งหมดที่ต้องช่วยงานพ่อแม่มากที่สุด เวลาพ่อแม่ไปไร่ไปนาก็ไปด้วย เวลาพ่อแม่ไปหากลอยขุดมัน หาลูกไม้ในป่า ท่านก็ไปช่วยขุดช่วยหาบกลับบ้าน บางครั้งพ่อแม่หลงทางเพราะไปหากลอยตามดอยตามเนินเขา กว่าจะหากลอยได้เต็มหาบก็ดึก ขากลับพ่อแม่จำทางไม่ได้ ท่านก็ช่วยพาพ่อแม่กลับบ้านจนได้

    ครั้นถึงหน้าฝน พ่อแม่ออกไปทำนา ท่านก็ติดตามไปช่วยทุกอย่าง พ่อปั้นคันนาท่านก็ช่วยพ่อ พ่อไถนาท่านก็คอยจูงควายให้พ่อ เวลาแม่ปลูกข้าวก็ช่วยแม่ปลูกจนเสร็จ

    เสร็จจากหน้าทำนา ท่านก็จะเผาไม้ในไร่เอาขี้เถ้า ไปขุดดินในถ้ำมาผสม ทำดินปืนไปขาย ได้เงินซื้อข้าวและเกลือ บางครั้งก็ไปอยู่กับลุงน้อยเดชะรับจ้างเลี้ยงควาย บางปีก็ได้ค่าแรงเป็นข้าว ๒-๓ หาบ บางปีก็เพียงแต่ขอกินข้าวกับลุง พอตุนท้องตุนไส้ไปวันๆ

    พอถึงเวลาข้าวออกรวง นกเขาจะลงกินข้าวในนา ท่านก็จะขอพ่อแม่ไปเฝ้าข้าวในนาตั้งแต่เช้ามืด กว่าจะกลับก็ตะวันลับฟ้าไปแล้ว

    ผู้มีความกตัญญู

    หลวงพ่อมีความกตัญญูมาตั้งแต่เด็ก ท่านช่วยพ่อแม่ทำงานต่างๆ ทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ตั้งแต่อายุได้ประมาณ ๕ ขวบ ท่านก็ช่วยพ่อแม่เฝ้านา เลี้ยงน้อง ตลอดจนช่วยงานทุกอย่างของพ่อแม่ เมื่อเวลาที่พ่อแม่หาอาหารไม่ได้ ท่านก็จะไปรับจ้างชาวบ้านแถบบ้านก้อทำความสะอาด หรือช่วยเฝ้าไร่นา เพื่อแลกกับข้าวปลาอาหารมาให้พ่อแม่และน้องๆกิน

    ในบางครั้งอาหารที่ได้มาหรือที่พ่อแม่จัดหาให้ไม่เพียงพอกับคนในครอบครัว ด้วยความที่ท่านมีนิสัยเสียสละ และไม่ต้องการให้พ่อแม่ต้องเจียดอาหารของท่านทั้งสองซึ่งมีน้อยอยู่แล้วออก มาให้ท่านอีก ท่านจึงได้บอกว่า " กินมาแล้ว " เพื่อให้พ่อแม่สบายใจ แต่พอลับตาผู้อื่น หรือเมื่อผู้อื่นในบ้านหลับกันหมดแล้ว ท่านก็จะหลบไปดื่มน้ำ หรือบางครั้งจะหลบไปหาใบไม้ที่พอจะกินได้มาเคี้ยวกิน เพื่อประทังความหิวที่เกิดขึ้น ท่านเติบโตขึ้นมาโดยพ่อแม่เลี้ยงข้าวท่านไม่ถึง ๑๐ ถัง แต่ท่านในสมัยเป็นเด็ก กลับหาเลี้ยงพ่อแม่มากกว่าที่พ่อแม่หาเลี้ยงท่าน

    นิสัยกล้าหาญ

    เมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ ท่านต้องออกไปเฝ้านาข้าว เพื่อคอยไล่นกที่จะมากินข้าวในนา ท่านต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี ๔ ยังไม่สว่าง นกยังไม่ตื่นออกหากิน การที่ท่านต้องออกไปไร่นาแต่เพียงลำพังคนเดียวเป็นประจำ ทำให้ลุงตาลซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของท่านอดสงสัยไม่ได้ จนต้องเข้ามาถามท่าน

    ลุงตาล " มึงนี้เป็นผีเสือหรือไร แจ้งมากูก็เห็นมึงที่นี่ มึงไม่ได้นอนบ้านหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " เมื่อนกหนูนอนแล้ว ข้าจึงกลับไปบ้าน เช้ามืดไก่ขัน หัวทียังบ่แจ้ง นกยังบ่ลงบ่ตื่น ข้าก็มาคนเดียว "

    ลุงตาล " ไม่กลัวเสือ ไม่กลัวผีป่าหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " ผีเสือมันก็รู้จักเรา มันไม่ทำอะไรเรา เราเทียวไปเทียวมา มันคงรู้ และเอ็นดูเรา บางวันตอนเช้าเราเห็นคนเดินไปข้างหน้า เราก็เดินตามก็ไม่ทัน จนถึงไร่มันก็หายไป เราก็เข้าใจว่ามันไปส่งเรา เราก็ไม่กลัว บางเช้าก็ได้ยินเสียงเสือร้องไปก่อนหน้า "

    ลุงตาล " ไม่กลัวเสือหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " เราไม่กลัว มันเป็นสัตว์ เราเป็นคน มันไม่รังแกเรา มันคงสงสารเราที่เป็นทุกข์ยาก มันคงจะมาอยู่เป็นเพื่อน เราจะไปจะมา ก็ขอเทวดาที่รักษาป่าช่วยรักษาเรา เราจึงไม่กลัว "

    ลุงตาล " มึงเก่งมาก กูจักทำตามมึง "

    ด.ช.วงศ์ " เราไม่ได้ทำอะไรมัน มันก็ไม่ทำอะไรเรา มันไม่รังแกเรา เราคิดว่า คนที่ใจบาปไปเสาะหาเนื้อในป่า กินกวางกินเก้งกินปลา เสือก็ยังไม่กัดใครตายในป่าสักคน เวลาเราจะลงเรือน เราก็ขอให้บุญช่วยเรา "

    ลุงตาล " มึงยังเด็ก อายุไม่ถึง ๑๐ ขวบ มืดๆ ดึกๆก็ไม่กลัวป่า ไม่กลัวเถื่อน ไม่กลัวผีป่าผีพง ไม่กลัวช้าง กูยอมมึงแล้ว "

    ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์

    ขณะที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ในป่าคนเดียวตามลำพัง ท่านได้เปรียบเทียบชีวิตท่านกับสัตว์ป่าทั้งหลายว่า " นกทั้งหลายต่างก็หากินไป ไม่มีที่หยุด ต่างก็เลี้ยงตัวเองไปตามประสามัน ก็ยังทนทานไปได้ ตัวเราค่อยอดค่อนทนไปก็ดีเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายก็ทุกข์ยากอย่างเรา สัตว์ในโลกก็ทุกข์เหมือนกันทุกอย่าง เราไม่ควรจะเหนื่อยคร้าน ค่อยอดค่อยทนตามพ่อแม่นำพาไป "


    พรหมวิหารสี่

    หลวงพ่อมีความเมตตากรุณาและพรหมวิหารสี่มาแต่เยาว์วัยอย่างหาที่เปรียบมิ ได้ เพื่อนของหลวงพ่อตั้งแต่สมัยนั้นเล่าว่า เมื่อสมัยที่ท่านเป็นเด็กระหว่างทางไปหาของหรืออาหารป่า ทุกครั้งที่เห็นสัตว์ถูกกับดักของนายพราน ท่านจะปล่อยสัตว์เหล่านั้นให้มีอิสรภาพเสมอ แล้วจะหาสิ่งของมาทดแทนให้กับนายพราน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชีวิตของมัน

    ครั้งหนึ่งท่านเห็นตัวตุ่นถูกกับดักนายพรานติดอยู่ในโพรงไม้ไผ่ ด้วยความสงสารท่านจึงปล่อยตัวตุ่นนั้นไป แล้วหยิบหัวมันที่หามาได้จากในป่า ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆกิน ใส่เข้าไปในโพรงไม้นั้นแทน เพื่อเป็นการชดใช้แลกเปลี่ยนกับชีวิตของตัวตุ่นนั้น

    ต่อมามีอยู่วันหนึ่ง ท่านไปพบปลาดุกติดเบ็ดของชาวบ้านที่นำมาปักไว้ที่ห้วย ท่านเห็นมันดิ้นทุรนทุรายแล้วเกิดความสงสารเวทนาปลาดุกตัวนั้นมาก จึงปลดมันออกจากเบ็ด แล้วเอาหัวผักกาดที่ท่านทำงานแลกมาซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆ กิน มาเกี่ยวไว้แทนเป็นการแลกเปลี่ยนชีวิตปลาดุกนั้น

    หลวงพ่อได้เมตตาบอกถึงเหตุผลที่กระทำเช่นนั้นว่า ในเวลานั้นท่านมีความเวทนาสงสารสัตว์เหล่านั้นจึงได้ช่วยชีวิตของมันไว้ ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า " ชีวิตของใครๆก็รักทั้งนั้น เราทุกคนควรจะเมตตาตนเอง และเมตตาผู้อื่นอยู่เสมอ โลกนี้จะได้มีความสุข "

    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่ไม่ชอบการผิดศีลมาตั้งแต่สมัยเด็ก เมื่อท่านเห็นว่าคนอื่นจะผิดศีล ข้อปาณาติบาต ( การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ) ก็รู้สึกสงสารทั้งผู้ทำปาณาตีบาตและผู้ถูกปาณาติบาต ซึ่งท่านไม่อยากเห็นพวกเขามีเวรมีกรรมกันต่อไป แต่ในขณะเดียวกันท่านก็ไม่ต้องการให้ตัวเองต้องผิดศีลโดยไปลักขโมยของผู้ อื่น ซึ่งในเวลานั้นท่านไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ท่านจึงต้องหาสิ่งของมาตอบแทนให้กับเขา แต่ในบางครั้งก็ไม่มีสิ่งของมาแลกกับชีวิตของสัตว์เหล่านั้นเหมือนกัน แต่ท่านก็สามารถจะช่วยมันได้โดยปล่อยมันให้เป็นอิสระ แล้วท่านนั่งรอนายพรานจนกว่าเขาจะมาและก็ขอเอาตัวเองชดใช้แทน ซึ่งท่านได้เล่าว่า บางคนก็ไม่ถือสาเอาความ แต่บางคนก็ให้ไปทำงานหรือทำความสะอาด ทดแทนกับที่ท่านไปปล่อยสัตว์ที่เขาดักไว้ แต่ไม่เคยมีใครทำร้ายทุบตีท่าน อาจจะมีบ้างก็เพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือน

    ท่านได้พูดว่า " แม้ว่าบางครั้งจะต้องทำงานหนักเพื่อใช้ชีวิตของสัตว์ที่ท่านได้ปล่อยไป แต่ท่านก็รู้สึกยินดีและปิติใจเป็นอันมากที่ได้ทำในสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ "


    กินอาหารมังสวิรัติ

    เมื่อท่านอายุได้ ๑๒ ปี ท่านได้พบเหตุการณ์สำคัญที่ทำไม่อยากจะกินเนื้อสัตว์นั้นเลยนับแต่นั้นมา กล่าวคือ มีครั้งหนึ่งท่านได้เห็นพญากวางใหญ่ถูกนายพรานยิง แทนที่พญากวางตัวนั้นจะร้องเป็นเสียงสัตว์มันกลับร้องโอยๆๆๆเหมือนเสียงคน ร้อง แล้วสิ้นใจตายในที่สุด และเมื่อท่านไปอยู่กับครูบาชัยลังก๋าซึ่งไม่ฉันเนื้อสัตว์ ท่านจึงงดเว้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ตั้งแต่นั้นมา

    อีกประการหนึ่งอาจเป็นด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างสะมาแต่อดีตชาติ ประกอบกับได้เห็นความทุกข์ยากของสัตว์ต่างๆที่ถูกทำร้าย จึงทำให้ท่านเกิดความสลดใจอยู่เสมอ ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานถึงคุณพระศรีรัตนตรัยตั้งแต่นั้นมาว่า " จะไม่ขอเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์และจะไม่ขอกินเนื้อ สัตว์อีกต่อไป " ท่านได้เมตตาสอนว่า " สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมรักและหวงแหนชีวิตของมันเอง เราทุกคนไม่ควรจะเบียดเบียนมัน มันจะได้อยู่อย่างเป็นสุข " และท่านยังพูดเสมอว่า " ท่านต้องการให้ศีลของท่านบริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อยๆ "

    สัตว์ทุกตัวมันก็รักชีวิตของมันเหมือนกัน เมื่อเราฆ่ามันตายเพื่อกินเนื้อมัน จิตของมันไปที่สำนักพระยายมก็จะฟ้องร้องว่าคนนั้นฆ่ามันตาย คนนี้กินเนื้อของมัน ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่า คนกินก็เป็นจำเลยด้วยก็ย่อมต้องได้รับโทษ แต่จะออกมาในรูปของการเจ็บไข้ได้ป่วย และความไม่สบายต่างๆซึ่งเจ้าตัวไม่รู้สึกเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา


    บรรพชาเป็นสามเณร

    เมื่อท่านอายุย่าง ๑๓ ปี ( พ.ศ. ๒๔๖๘ ) ด้วยผลบุญที่ท่านได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ปางก่อนในอดีตชาติ และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ในชาตินี้จึงดลบันดาลให้ท่าน มีความเบื่อหน่ายต่อชีวิตทางโลก อันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ท่านจึงได้รบเร้าขอให้พ่อแม่ท่านไปบวช เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบิดามารดาได้ฟังก็เกิดความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก

    ไม่นานหลังจากนั้นพ่อแม่ก็ได้นำท่านไปฝากกับหลวงอาท่านได้อยู่เป็นเด็กวัด กับหลวงอาได้ไม่นาน หลวงอาจึงนำท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์และบวชเณรกับครูบาชัยลังก๋า ( ซึ่งเป็นธุดงค์กรรมฐานรุ่นพี่ของครูบาศรีชัย ) ครูบาชัยลังก๋าได้ตั้งชื่อให้ท่านใหม่หลังจากเป็นสามเณรแล้วว่า " สามเณรชัยลังก๋า " เช่นเดียวกับชื่อของครูบาชัยลังก๋า

    มีความเคารพเชื่อฟัง

    ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ตลอดจนผู้ สูงอายุ จึงทำให้ครูบาอาจารย์และผู้เฒ่าผู้แก่รักใคร่เอ็นดูมาก จนเป็นเหตุทำให้เพื่อนเณรบางคนพากันอิจฉาริษยา หาว่าท่านประจบครูบาอาจารย์ เมื่อใดที่ท่านอยู่ห่างจากครูบาอาจารย์เป็นต้องถูกรังแกเสมอ ทำให้การอยู่ปรนนิบัติติดตามครูบาอาจารย์เป็นไปอย่างไม่มีความสุข แต่ด้วยความเคารพกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ และต้องการที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐานเพื่อมรรคผล ท่านจึงได้ใช้ขันติและให้อภัยแก่พระเณรเหล่านั้นที่ไม่รู้สัจจธรรมในเรื่อง กฎแห่งกรรมที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้กล่าวไว้ว่า " ทำความดีได้ดี ทำความชั่วผลแห่งความชั่วย่อมตอบสนองผู้นั้น "

    ชายชราลึกลับ

    เพื่อนพระสงฆ์ที่เคยอยู่ร่วมกันกับท่านในสมัยเป็นเณรได้เล่าว่า " หลวงพ่อวงศ์เป็นผู้มีขันติและอภัยทานสูงส่งจริงๆ " ครั้งหนึ่งท่านเคยถูกเณรองค์อื่น เอาน้ำรักทาไว้บนที่นอนของท่านในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้า และเทียนก็หาได้ยาก ท่านจึงมองไม่เห็น เมื่อท่านนอนลงไป น้ำรักก็ได้กัดผิวหนังของท่านจนแสบจนคัน ท่านจึงได้เกาจนเป็นแผลไปทั้งตัว ไม่นานแผลเหล่านั้นก็ได้เน่าเปื่อยขึ้นมาจนทำให้ท่านได้รับทุกขเวทนามาก แต่ด้วยความที่ท่านเป็นคนดีมีธรรมะเมตตาให้อโหสิกรรมกับผู้อื่น ท่านจึงใช้ขันติข่มความเจ็บปวดเหล่านั้นโดยไม่ปริปากหรือกล่าวโทษผู้ใด

    ทุกครั้งที่ครูบาอาจารย์ถาม ท่านก็ไม่ยอมที่จะกล่าวโทษใครเลย เพียงเรียนไปว่า ขออภัยให้กับพวกคนเหล่านั้นเท่านั้นและขอยึดเอาคำของครูบาอาจารย์มาปฏิบัติ เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมกันต่อไปในอนาคต และเพื่อความหลุดพ้นจากวัฎสงสารแห่งนี้เข้ามรรคผลดังที่ครูบาอาจารย์ได้อบรม สั่งสอนมาด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาเป็นคนดีและเป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป

    ด้วยผลบุญที่ท่านได้สั่งสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงดลบันดาลให้มีชายชราชาวขมุนำยามาให้ท่านกิน ให้ท่านทาเป็นเวลา ๓ คืน เมื่อท่านหายดีแล้ว ชายชราผู้นั้นก็ได้กลับมาหาท่าน และได้พูดกับท่านว่า " เป็นผลบุญของเณรน้อยที่ได้สร้างสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบันไว้ดีมาก และมีความกตัญญูเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ดีมาก จึงทำให้แผลหายเร็ว ขอให้เณรน้อยจงหมั่นทำความดีปฏิบัติธรรม และเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ต่อไปอย่าได้ท้อถอย ไม่ว่าจะมีมารมาขัดขวางอย่างไรก็ดี ขอเณรน้อยใช้ความดีชนะความไม่ดีทั้งหลาย ต่อไปในภายภาคหน้าสามเณรน้อยจะได้เป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป "

    เมื่อชายชราผู้นั้นกล่าวจบแล้ว จึงได้เดินลงจากกุฏิที่ท่านพักอยู่ สามเณรชัยลังก๋านึกได้ยังไม่ได้ถามชื่อแซ่ของชายชราผู้มีพระคุณจึงวิ่งตามลง มา แต่เดินหาเท่าไรก็ไม่พบชายชราผู้นั้น ท่านจึงได้สอบถามผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้น ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่พบเห็นชายชราเช่นนี้มาก่อนเลย นอกจากเห็นท่านนอนอยู่องค์เดียวในกุฏิ จากคำพูดของคนเหล่านี้ทำให้ท่านประหลาดใจมาก เพราะท่านได้พูดคุยกับชายชราผู้นั้นถึง ๓ คืน เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านคิดว่าชายชราผู้นั้นถ้าไม่เป็นเทพแปลงกายมา ก็อาจจะเป็นผู้ทรงศีลที่บำเพ็ญอยู่ในป่าจนได้อภิญญา

    การกลั่นแกล้งจากพระเณรที่อิจฉาริษยายังไม่สิ้นสุดแค่นั้น บางครั้งเวลานอนก็ถูกเอาทรายกรอกปาก ถึงเวลาฉันก็ฉันไม่ได้มาก เพราะถูกพระเณรที่ไม่เชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษรังแก หรือหยิบอาหารของท่านไปกิน แต่ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความอดทนและยึดมั่นในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงอโหสิกรรมพวกเขาและใช้ขันติในการปฏิบัติธรรมรับใช้ปรนนิบัติครูบา อาจารย์ด้วยดีต่อไป

    ครูบาชัยลังก๋ามักลูบหัวของท่านด้วยความรักเอ็นดูและสั่งสอนให้ด้วยความ เมตตาอยู่เสมอว่า " มันเป็นกรรมเก่าของเณรน้อย ตุ๊ลุงขอให้เณรน้อยใช้ขันติและความเพียรต่อไป เพื่อโลกุตตรธรรมอันยิ่งใหญ่ในภายหน้า เมื่อถึงเวลานั้นแล้วทุกคนที่เคยล่วงเกินเณรน้อย เขาจะรู้กรรมที่ได้ล่วงเกินเณรน้อยมา "

    ไปวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

    ในระยะที่อยู่กับครูบาชัยลังก๋าๆได้เมตตาอบรมสั่งสอนวิชาการต่างๆให้แก่ท่าน เช่น ภาษาล้านนา ธรรมะ การปฏิบัติกรรมฐาน รวมทั้งธุดงควัตร ตลอดถึงการดำรงชีวิตในป่าขณะธุดงค์ ครูบา-ชัยลังก๋ามักพาท่านไปแสวงบุญและธุดงค์ไปในที่ต่างๆเสมอ เพื่อให้ท่านมีประสบการณ์ ทั้งยังเคยพาท่านไปนมัสการรอบพระพุทธบาทห้วยต้มหลายครั้ง ( วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ในสมัยก่อนนั้นชื่อว่า วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ) สมัยนั้นวัดนี้เป็นวัดร้างยังเป็นเขาอยู่

    ครั้งหนึ่งสามเณรชัยลังก๋าเห็นวิหารทรุดโทรมมาก จึงกราบเรียนถามครูบาชัยลังก๋า" ทำไมตุ๊ลุงถึงไม่มาสร้างวัดนี้มันทรุดโทรมมาก " ครูบาชัยลังก๋าตอบด้วยความเมตตาว่า " มันไม่ใช่หน้าที่ของตุ๊ลุงแต่จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้าง " ขณะที่ครูบาชัยลังก๋ากล่าวอยู่นั้น ท่านก็ได้ชี้มือมาที่สามเณรน้อยชัยลังก๋าพร้อมกับกล่าวว่า " อาจจะเป็นเณรน้อยนี้กะบ่ฮู้ที่จะมาบูรณะวัดนี้ " ท่านจึงได้เรียนไปว่า " เฮายังเป็นเณรจะสร้างได้อย่างใด " ครูบาชัยลังก๋าจึงกล่าวตอบไปด้วยความเมตตาว่า " ถึงเวลาจะมาสร้าง ก็จะมาสร้างเอง "

    คำพูดของครูบาชัยลังก๋านี้ไปพ้องกับคำพูดของครูบาศรีวิชัยที่เคยกล่าวกับ หม่องย่นชาวพม่า เมื่อตอนที่ท่านอายุได้ ๕ ขวบ ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้รับนิมนต์จากหม่องย่นให้มารับถวายศาลาที่วัดพระ พุทธบาทห้วยต้ม หม่องย่นให้ขอนิมนต์ครูบาศรีวิชัยมาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้มให้เจริญรุ่งเรือง แต่ครูบาศรีวิชัยได้ตอบปฏิเสธไปว่า " ไม่ใช่หน้าที่กู จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้างในภายภาคหน้า "

    ท่านอยู่กับครูบาชัยลังก๋าที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยเป็นเวลา ๑ ปี หลังจากนั้นครูบาชัยลังก๋าได้ออกจาริกธุดงค์ไปโปรดชาวบ้านที่จังหวัด เชียงราย ครูบาชัยลังก๋าได้ให้ท่านอยู่เฝ้าวัดกับพระเณรองค์อื่น ในช่วงที่ท่านอยู่วัดนี้ ท่านก็ได้พบกันครูบาศรีวิชัยเป็นครั้งแรกซึ่งท่านเคารพนับถือครูบาศรีวิชัยมาก่อนหน้านี้แล้ว

    ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้มาเป็นประธานใน การฉลองพระธาตุที่วัดพระธาตุแก่งสร้อย ในโอกาสนี้ท่านจึงได้อยู่ใกล้ชิดปรนนิบัติรับใช้ครูบาศรีวิชัยเป็นเวลา ๗ วัน การพบกันครั้งแรกนี้ ครูบาศรีวิชัยก็ได้รับท่านไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมา หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ผ่านพ้นไปแล้ว ท่านก็ยังประจำอยู่ที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยได้ไม่นาน เพราะทนต่อการกลั่นแกล้งจากพระเณรอื่นไม่ไหว จึงได้เดินทางกลับมาอยู่กับหลวงน้าของท่านเพื่อช่วยสร้างพระวิหารที่วัดก้อ ท่าซึ่งเป็นวัดร้างประจำหมู่บ้านก้อท่า ตำบลก้อทุ่ง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    ในระหว่างอายุ ๑๕-๒๐ ปีนั้น ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ และได้จาริกออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ ตลอดจนได้ไปอบรมสั่งสอนชาวบ้านชาวเขาในที่ต่างๆด้วยเช่นกัน ในบางครั้งก็ไปกับครูบาอาจารย์ ในบางครั้งก็ไปองค์เดียวเพียงลำพัง เมื่อมีโอกาสท่านก็จะกลับมารับการฝึกอบรมจากครูบาอาจารย์ทุกองค์ของท่าน เสมอๆ


    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

    เมื่ออายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้าเป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า " ชัยยะวงศา " ในระหว่างนั้น ท่านได้อยู่ปฏิบัติและศึกษาธรรมะกับครูบาพรหมจักร ในบางโอกาสท่านก็จะเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆทั้งลาวและพม่า ท่านได้อยู่กับครูบาพรหมจักรระยะหนึ่งแล้ว จึงได้กราบลาครูบาพรหมจักรออกจาริกธุดงค์ไปแสวงหาสัจจธรรมความหลุดพ้นจาก วัฏสงสารแห่งนี้เพียงลำพังองค์เดียวต่อ เพื่อเผยแพร่สั่งสอนธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกชาวเขา ในที่ต่างๆเช่นเคย

    สอนธรรมะแก่ชาวเขา

    ขณะที่ท่านธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ท่านได้พบและอบรมสั่งสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ ต่างๆ ท่านเล่าว่า ตอนที่ท่านพบชาวเขาใหม่ๆนั้น ในสมัยนั้นชาวเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ในขณะที่ท่านจาริกธุดงค์ไปตามหมู่บ้านของพวกชาวเขา พวกชาวเขาเหล่านี้ก็จะรีบอุ้มลูกจูงหลานหลบเข้าบ้านเงียบหายกันหมดพร้อมกับ ตะโกนบอกต่อๆกันว่า " ผีตาวอดมาแล้วๆๆ "

    ในบางแห่งพวกผู้ชายบางคนที่ใจกล้าหน่อยก็เข้ามาสอบถามและพูดคุยกับท่าน บางคนเห็นหัวของท่านแล้วอดรนทนไม่ไหวที่เห็นหัวของท่านเหน่งใส จึงเอามือลูบหัวของท่านและทักทายท่านว่า " เสี่ยว " ( แปลว่าเพื่อน ) หลวงพ่อว่าในตอนนั้น ท่านไม่รู้สึกเคืองหรือตำหนิเขาเหล่านั้นเลย นอกจากขบขันในความซื่อของพวกเขา เพราะพวกเขายังไม่รู้จักพุทธศาสนา ในสมัยนั้นพวกชาวเขายังนับถือลัทธิบูชาผี บูชาเจ้า ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ถือธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานในสถานที่แห่งนั้น เพื่อจะหาโอกาสสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับพวกชาวเขา การสอนของท่านนั้น ท่านได้เมตตาบอกว่า ท่านต้องทำและสอนให้พวกเขารู้อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้พวกเขามีความรู้สึกแปลกประหลาดและขัดต่อจิตใจความเป็นอยู่ที่เขา มีอยู่

    ท่านได้ใช้ตัวของท่านเองเป็นตัวอย่างให้เขาดู ในการที่จะทำให้พวกเขาหันมาปฏิบัติธรรมะของพระพุทธองค์ เมื่อพวกเขาถามท่านว่า " ทำไมท่านจึงโกนผมจนหัวเหน่ง และนุ่งห่มสีเหลืองทั้งชุดดูแล้วแปลกดี " ท่านก็จะถือเอาเรื่องที่เขาถามมาเป็นเหตุในการเทศน์ เพื่อเผยแพร่ธรรมะให้พวกเขาได้ปฏิบัติและรับรู้กัน

    หลวงพ่อได้เล่าว่า การสอนให้เขารู้ธรรมะนั้น ท่านต้องสอนไปทีละขั้น เพื่อให้เขารู้จักพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เสียก่อน จากนั้นท่านจึงสอนพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับ พวกเขา โดยเฉพาะการทำงาน การถือศีล และการนั่งภาวนา ให้พวกเขาได้ปฏิบัติยึดถือกัน โดยเฉพาะเรื่องของศีล ๕ ท่านจะสอนเน้นให้พวกเขาไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ทำร้ายผู้อื่น เพื่อจะได้ไม่เป็นเวรกรรมกันต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งการสอนของท่านทำให้พวกชาวเขาได้รับความสงบสุขภายในหมู่บ้านของเขาอย่าง ที่ไม่เคยมีมาก่อน พวกเขาจึงยิ่งเคารพนับถือและเชื่อฟังในคำสั่งสอนของท่านมากยิ่งขึ้น


    สอนกินมังสวิรัติ

    หลวงพ่อได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า ในสมัยนั้นพวกชาวเขาได้นำอาหารที่มีเนื้อสัตว์มาถวาย แต่ท่านหยิบฉันเฉพาะที่เป็นผักเป็นพืชเท่านั้น ทำให้เขาเกิดความสงสัย ท่านจึงได้ยกเอาเรื่องในพุทธชาดกมาเทศน์ให้พวกเขาฟัง เพื่อเป็นการเน้นให้เห็นถึงกฎแห่งกรรมและผลดีของการรักษาศีล

    ท่านได้อยู่อบรมสั่งสอนให้พวกเขารับรู้ถึงธรรมะและการรักษาศีลอยู่เสมอๆ ทำให้พวกเขาเลื่อมใสและหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาโดยละทิ้งประเพณีเก่าๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา

    ต่อมาพวกชาวเขาเหล่านี้ก็ได้เจริญรอยตามท่าน โดยเลิกกินเนื้อสัตว์หันมากินมังสวิรัติแทน ( ดังที่เราจะเห็นได้จากกะเหรี่ยงที่อพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านพระพุทธบาทห้วยต้ม ในปัจจุบันนี้ ) เมื่อท่านได้สอนพวกเขาให้นับถือศาสนาพุทธแล้ว ท่านก็จะจาริกธุดงค์แสวงหาสัจธรรมต่อไป และถ้ามีโอกาสท่านก็จะกลับไปโปรดพวกเขาเหล่านั้นอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ชาวเขาและชาวบ้านในที่ต่างๆที่ท่านเคยไปสั่งสอนมาจึงเคารพนับถือ ท่านมาก


    สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ

    เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเดินทางกลับมาหาครูบาศรีวิชัยพร้อมกับชาวกะเหรี่ยงที่เป็นศิษย์ของ ท่าน เพื่อช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ในครั้งนี้ครูบาศรีวิชัยได้เมตตาให้ท่านเป็นกำลังสำคัญทำงานร่วมกับครูบาขาว ปีในการควบคุมชาวเขาช่วยสร้างทางอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ยากลำบาก เช่น การสร้างถนนในช่วงหักศอก ก่อนที่จะถึงดอยสุเทพ

    ในระหว่างกำลังสร้างทางช่วงนี้ ได้มีหินก้อนใหญ่มากติดอยู่ใกล้หน้าผา จะใช้กำลังคนหรือช้างลากเช่นไรก็ไม่ทำให้หินนั้นเคลื่อนไหวได้ ชาวกะเหรี่ยงที่ทำงานอยู่นั้นจึงไปกราบเรียนให้ ครูบาศรีวิชัยทราบ ท่านจึงให้คนไปตามหลวงพ่อซึ่งกำลังสร้างทางช่วงอื่นอยู่ เมื่อหลวงพ่อวงศ์มาถึงท่านได้ยืนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้เดินทางไปผลักหินก้อนนั้นลงสู่หน้าผานั้นไป เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แปลกใจไปตามๆ กันที่เห็นท่านใช้มือผลักหินนั้นโดยไม่อาศัยเครื่องมือใดๆ ครูบาศรีวิชัยได้ยืนยิ้มอยู่ข้างๆท่านด้วยความพอใจ

    ครบาชัยวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)

    ประทับรอยเท้าเป็นอนุสรณ์

    ขณะที่ท่านช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอย สุเทพ ท่านได้ประทับรอยเท้าลึกลงไปในหินประมาณ ๑ ซ.ม. ข้างน้ำตกห้วยแก้ว ( ช่วงตอนกลางๆของทางขึ้นดอยสุเทพ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ท่านได้มาช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทาง )


    อุปสรรค

    ท่านเป็นผู้ที่ครูบาศรีวิชัยไว้ใจมากองค์หนึ่ง เพราะเมื่อครูบาศรีวิชัยมีปัญหาเรื่องขาดกำลังคน ครูบาศรีวิชัยก็จะมอบหน้าที่ให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงอยู่บนดอยต่างๆมาช่วยสร้างทาง

    หลวงพ่อเล่าว่า การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ และการสร้างบารมีของครูบาศรีวิชัยนั้น ทุกข์ยากลำบากมาก เพราะถูกกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจและอิจฉาริษยาอยู่เสมอ ทุกครั้งที่ครูบาศรีวิชัยให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงมาช่วยสร้างทาง ระหว่างการเดินทางต้องคอยหลบเลี่ยงจากการตรวจจับของพวกตำรวจหลวงและคณะสงฆ์ ที่ไม่เข้าใจ

    ครูบาศรีวิชัยท่านได้เล่าว่า ในเวลากลางวันต้องหลบซ่อนกันในป่าหรือเดินทางให้ห่างไกลจากเส้นทางสัญจร เพื่อหลบให้ห่างจากผู้ขัดขวาง ส่วนในเวลากลางคืนต้องรีบเดินทางกันอย่างฉุกละหุก เพราะเส้นทางต่างๆมืดมากต้องอาศัยโคมไฟตามบ้านเป็นการดูทิศทาง เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

    ด้วยบารมีและความตั้งมั่นในการทำความดีของครูบาศรีวิชัยที่มีต่อพระพุทธศาสนาทำให้พุทธบริษัททั้งชาวบ้านและชาวเขาจากในที่ต่างๆ จำนวนมากมาช่วยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพได้สำเร็จดังความตั้งใจของครูบาศรีวิชัย โดยใช้เวลาสร้างเพียง ๗ เดือนเท่านั้น

    เมื่อครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ สำเร็จแล้ว หลวงพ่อจึงได้ไปกราบลาครูบาศรีวิชัย กลับไปอยู่ที่เมืองตื๋น วัดจอมหมอก ตำบลแม่ตื๋น กิ่งอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

    ห่มขาว

    เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดจอมหมอก เจ้าคณะตำบลได้มาจับท่านสึก ในข้อหาที่ท่านเป็นศิษย์และเป็นกำลังสำคัญที่ปฏิบัติเชื่อฟังครูบาศรีวิชัย อย่างเคร่งครัด ( ซึ่งในขณะนั้นครูบาศรีวิชัยได้ถูกจับมาสอบสวนอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ) แต่ตัวท่านเองไม่ปรารถนาที่จะสึก จะหนีไม่ได้ เมื่อทางคณะสงฆ์จะจับท่านสึก และให้นุ่งห่มดำหรือแต่งแบบฆราวาส ท่านไม่ยอม เพราะท่านไม่ได้ผิดข้อปฏิบัติของสงฆ์ แต่เมื่อคณะสงฆ์ที่ไปจับท่านสึก ไม่ให้ห่มเหลือง ท่านจึงหาผ้าขาวมาห่มแบบสงฆ์ เลียนเยี่ยงอย่างครูบาขาวปี วัดผาหนาม ( ซึ่งเคยถูกจับสึก ไม่ให้ห่มเหลืองในข้อหาเดียวกัน ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์ ก่อนที่จะมีการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ) และยึดถือข้อวัตรปฏิบัติเหมือนที่เป็นสงฆ์อย่างเดิม

    ในหมู่พระสงฆ์และฆราวาสที่เป็นศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ก็ยังนับถือหลวงพ่อเป็นพระสงฆ์เช่นเดิม เพราะการสึกในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์ ครูบาวงศ์ไม่ได้ทำผิดพระวินัยของสงฆ์ และในขณะที่สึกนั้น จิตใจของท่านก็ไม่ยอมรับที่จะสึก ยังยึดมั่นว่าตัวเองเป็นพระสงฆ์เหมือนเดิม ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านยังปฏิบัติข้อวัตรพระธรรมวินัยของสงฆ์ทุกประการ

    หลวงพ่อได้เล่าว่า ในคราวนั้นลูกศิษย์ลูกหาของครูบาศรีวิชัยระส่ำระสายกันมาก บางองค์ก็ถูกจับสึกเป็นฆราวาส บางองค์ก็หนีไปอยู่ที่อื่นบ้าง ในป่าในเขาบ้างเพื่อไม่ให้ถูกจับสึก

    รวมตัวที่บ้านปาง

    หลังจากที่ครูบาศรีวิชัยพ้นจากอธิกรณ์ ครูบาศรีวิชัยได้ เดินทางกลับไปจังหวัดลำพูนเพื่อไปบูรณะและสร้างวัดบ้างปาง อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อและครูบาขาวปี ( ซึ่งขณะนั้นนุ่งขาวห่มขาวทั้งคู่ ) ตลอดจนลูกศิษย์ทั้งที่ถูกจับสึกเป็นฆราวาส และที่หนีไปในที่ต่างๆ ต่างก็ได้เดินทางกลับมาช่วยกันสร้างและบูรณะวัดบ้านปาง เพื่อให้เป็นที่อยู่ที่ถาวรของครูบาศรีวิชัย

    หลวงพ่อได้ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างวิหารที่ วัดบ้านปางได้ระยะหนึ่ง ท่านจึงลาไปบำเพ็ญภาวนาธุดงค์ แสวงหาสัจธรรมต่อไปในป่าในเขา และเผยแพร่ธรรมะให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆต่อไป


    เดินธุดงค์

    ในสมัยนั้นท่านได้ธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปในที่ต่างๆองค์เดียวเสมอ ท่านชอบธุดงค์ไปอยู่ในป่า ในถ้ำที่ห่างไกลผู้คน หลวงพ่อเล่าว่า ในสมัยนั้นการเดินธุดงค์ไม่สะดวกสบายเช่นสมัยนี้ เพราะเครื่องอัฏฐบริขารและกลดก็หาได้ยากมาก ตามป่าตามเขาก็มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายอาศัยกันอย่างมากมาย ในขณะถือธุดงค์ในป่าในเขา ก็ต้องอาศัยถ้ำหรือใต้ต้นไม้เป็นที่พักที่ภาวนา เมื่อเจอพายุฝน ก็ต้องนั่งแช่อยู่ในน้ำที่ไหลท่วมมาอย่างรวดเร็วเช่นนั้น จนกว่าฝนจะหยุดตก การภาวนาในถ้ำในสมัยก่อนนั้น ก็มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย เช่น เสือ ช้าง งู เม่น ฯลฯ เป็นต้น แต่มันไม่เคยมารบกวน หรือสร้างความกังวลใจให้ท่านเลย ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

    ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านได้ไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำแห่งหนึ่งที่ตำบลบ้านก้อ สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ ต้นสักแต่ละต้นขนาด ๓ คนโอบไม่รอบ ในถ้ำนั้นมีเม่นและช้างอาศัยอยู่ บางครั้งก็มีเสือเข้ามาหลบฝน บ่อยครั้งที่ท่านกำลังภาวนาทำสมาธิอยู่นั้น พวกมันจะมาจ้องมองท่านด้วยความแปลกใจ ทำให้ท่านรู้สึกถึงความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสาของสัตว์ที่มองดูท่านด้วย ท่าทางฉงนสนเท่ห์ ทำให้ท่านนึกถึงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า " ความไม่เบียดเบียนกันเป็นความสงบสุขอย่างยิ่ง "

    หลวงพ่อบอกว่าพระธุดงค์ในสมัยก่อน ต้องผจญอุปสรรคและปัญหาต่างๆมากมาย จึงต้องเคี่ยวจิตใจและกำลังใจให้เข้มแข็งและแกร่งอยู่เสมอ ดังนั้นพระธุดงค์รุ่นเก่าจึงเก่งและได้เปรียบกว่าพระสงฆ์ในปัจจุบัน ทั้งในด้านจิตใจและการปฏิบัติบำเพ็ญภาวนา แต่เสียเปรียบกว่าพระสงฆ์ในยุคนี้ ในด้านการใฝ่หาความรู้ทางด้านปริยัติ เพราะในสมัยนี้ ความเจริญทำให้ไปไหนมาไหนได้สะดวกและเร็วขึ้น พระสงฆ์ในรุ่นเก่าที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองจึงต้องบังคับจิตใจ บำเพ็ญเพียรปฏิบัติภาวนาให้เกิดปัญญาและธรรมะขึ้นในจิตในใจ เพื่อนำมาพิจารณาและปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน


    ธุดงค์น้ำแข็ง

    บ่อยครั้งท่านได้ธุดงค์จาริกผ่านไปที่กิ่งอำเภออมก๋อยในฤดูหนาว บริเวณภูเขาของกิ่งอำเภออมก๋อยจะมีเหมยค้างปกคลุมไปทั่ว ( เหมยค้างนี้ภาษาภาคเหนือ หมายถึง น้ำค้างที่กลายเป็นน้ำแข็ง ) ในบริเวณนี้มีต้นสนขนาดต่างๆขึ้นเต็มไปหมด ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย เวลาย่ำเดินไปบนพื้นน้ำแข็ง ขาจะจมลึกลงไปในน้ำแข็งนั้น ทำให้เกิดความหนาวเย็นเป็นอันมาก เพราะท่านมีแต่ผ้าที่ครองอยู่เพียงชั้นเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อมีลมพัดผ่านมา ท่านต้องสั่นสะท้านทุกครั้ง

    ท่านได้เล่าว่า ความแห้งแล้งของอากาศและความหนาวเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ผิวหนังของท่านแตกปริเป็นแผลไปทั้งตัว ต้องได้รับทุกขเวทนามาก สมัยนั้นในภาคเหนือ จะหากลดมาสักอันหนึ่งก็ยากมาก การธุดงค์ของท่านก็มีแต่อัฏฐบริขารเท่านั้นที่ติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง ช้อนก็ทำจากกะลามะพร้าว ถ้วยน้ำก็ทำจากกระบอกไม้ไผ่ ผ้าจีวรที่ครองอยู่ก็ต้องปะแล้วปะอีก

    ท่านได้เมตตาเล่าว่า แต่การปฏิบัติภาวนาบนภูเขาที่มีน้ำแข็งปกคลุมมากเช่นนี้ ทำให้การปฏิบัติสมถะและวิปัสนากรรมฐานนั้นกลับแจ่มชัดและรวดเร็วดียิ่งกว่า ในเวลาปกติธรรมดา เพราะทำให้ได้เห็นเรื่องของไตรลักษณ์ได้ชัดเจนดี และการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ก็สามารถเห็นอย่างแจ่มชัด ทำให้ในขณะภาวนาทำสมาธิอยู่นั้นจิตสงบดีมาก ไม่พะวงกับสิ่งภายนอกเลย

    ในบางครั้งขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น ไฟที่ก่อไว้ได้ลุกไหม้จีวรของท่านไปตั้งครึ่งค่อนตัว ท่านยังไม่รู้สึกตัวเลย เมื่อจิตออกจากสมาธิแล้ว ท่านต้องรีบดับไฟที่ลุกไหม้อยู่นั้นอย่างรีบด่วน ทำให้ต้องครองผ้าจีวรขาดนั้นไปจนกว่าจะเดินทางไปพบหมู่บ้าน ท่านก็จะนำผ้าที่ชาวบ้านถวายให้มาต่อกับจีวรผืนเก่าที่เหลืออยู่นั้น ในบางครั้งท่านจะนำผ้าบังสุกุลที่พบในระหว่างทาง มาเย็บต่อจีวรที่ขาดอยู่นั้นตามแบบอย่างที่ครูบาอาจารย์ในยุคก่อนๆปฏิบัติ สืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล

    หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์ผู้ถ่อมตน และไม่เคยโออวดเป็นนิสัย เมื่อมีผู้สงสัยว่า ท่านคงเข้าสมาธิจนสูงถึงขึ้นจิตไม่จับกับ กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้ว จึงไม่รู้ว่าไฟไหม้ ตัวท่านมักตอบเลี่ยงไปด้วยใบหน้าเมตตาว่า " คงจะอากาศหนาวมากหลวงพ่อจึงไม่รู้ว่าไฟไหม้จีวร "


    ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ

    เมื่อท่านได้ ๒๘ ปี ขณะนั้นท่านได้จาริกธุดงค์สั่งสอนชาวป่าชาวเขาดอยต่างๆ ท่านได้ทราบข่าวการมรณภาพของครูบาศรีวิชัย จึงได้เดินทางลงจากเขาเพื่อไปนมัสการพระศพ และช่วยจัดทำพิธีศพของครูบาศรีวิชัย ร่วมกับครูบาขาวปีและคณะศิษย์ของครูบาศรีวิชัยที่วัดบ้านปาง เมื่อเสร็จจากพิธีบรรจุศพครูบาศรีวิชัยแล้ว กรมทางได้นิมนต์ให้ท่านไปช่วยสร้างเส้นทางบ้านห้วยกาน - บ้านห้วยหละ ซึ่งในตอนนั้นท่านก็ยังห่มผ้าสีขาวอยู่ เมื่อการสร้างทางได้สำเร็จลงแล้ว ชาวบ้านห้วยหละจึงได้มานิมนต์ท่านไปจำพรรษา และอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทที่สำนักสงฆ์ห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน


    ห่มเหลืองอีกครั้ง

    ขณะนั้นหลวงพ่ออายุได้ ๒๘ ปี ได้รับนิมนต์ไปอยู่ช่วยบูรณะวัดป่าพลู และในปีนี้ท่านได้มีโอกาสห่มเหลืองเช่นพระสงฆ์ทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง โดยมีครูบาบุญมา วัดบ้านโฮ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาใหม่ว่า " จันทวังโส "

    ในการห่มเหลืองในครั้งนี้ คณะสงฆ์ได้ออกญัตติให้ท่านต้องจำพรรษาที่วัดป่าพลูเป็นเวลา ๕ พรรษา เมื่อออกพรรษาในแต่ละปีท่านจะเดินทางไปธุดงค์และจาริกสั่งสอนธรรมะให้กับชาว ป่าชาวเขาในที่ต่างๆ เสมอเหมือนที่ท่านเคยปฏิบัติมาในอดีต และบ่อยครั้งท่านจะไปช่วยครูบาขาวปีบูรณะวัดพระพุทธบาทตะเมาะ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่


    ตรงตามคำทำนาย

    เมื่อท่านอยู่วัดป่าพลูครบ ๕ พรรษาตามบัญญัติของสงฆ์แล้ว ในขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๓๔ ปี นายอำเภอลี้และคณะสงฆ์ในอำเภอลี้ ได้ให้ศรัทธาญาติโยมวัดนาเลี่ยงมานิมนต์ครูบาขาวปีหรือท่านองค์ใดองค์หนึ่ง เพื่อไปอยู่เมตตาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม แต่ครูบาขาวปีไม่ยอมไป และบอกว่า " ไม่ใช่หนึ่งที่ของกู "ครูบาศรีวิชัยเคยพูดไว้ว่า " วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มนั้น มันเป็นหน้าที่ของครูบาวงศ์องค์เดียว "

    ด้วยเหตุนี้ ครูบาขาวปีจึงขอให้ท่านไปอยู่โปรดเมตตาสร้าง วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ซึ่งต่อมาในภายหลังจากที่ท่านได้ไปอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มแล้ว ท่านได้เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็น " วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม "

    ในขณะที่ท่านอยู่ที่เมืองตื๋นนั้น ชาวบ้านและชาวเขาต่างเรียกท่านว่า " น้อย " เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดพระบาทห้วยต้ม ชาวบ้านทั้งหลายจึงเชื่อกันว่า ท่านคงเป็น " พระน้อยเมืองตื๋น " ตามคำโบราณที่ได้จารึกไว้ ณ วัดพระพุทธบาทห้วย( ข้าว ) ต้ม เหตุการณ์นี้ก็ตรงตามคำพูดของครูบาชัยลังก๋าและครูบาศรีวิชัย ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อท่านย้ายมาประจำที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ท่านก็ยังออกจาริกไปสั่งสอนธรรมะแก่ชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆอยู่เสมอๆ เหมือนที่ท่านเคยปฏิบัติมา


    ผู้เฒ่าผู้รู้เหตุการณ์

    ในระยะแรกที่หลวงพ่อมาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ผู้เฒ่าคนหนึ่งในหมู่บ้านนาเลี่ยงได้พูดกับชาวบ้านในละแวกนั้นว่า " ต่อไปบริเวณเด่นยางมูล ( คือหมู่บ้านห้วยต้มในปัจจุบัน ) จะมีชาวกะเหรี่ยงอพยพติดตามครูบาวงศ์มาอยู่ที่นี่ จนเป็นหมู่บ้านใหญ่ในอนาคต ในครั้งนี้จะใหญ่กว่าหมู่บ้านกะเหรี่ยง ๔ ยุคที่เคยอพยพมาอยู่ที่นี่ในสมัยก่อนหน้านี้ " คำพูดอันนี้ในสมัยนั้นชาวบ้านนาเลี่ยงฟังแล้วไม่ค่อยเชื่อถือกันนัก แต่ในเวลาต่อมาไม่นาน คำพูดอันนี้ก็เป็นความจริงทุกประการ

    หลวงพ่อได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังเพิ่มเติมว่า คนเฒ่าผู้นี้เป็นผู้รู้เหตุการณ์ในอนาคต และมักจะพูดได้ถูกต้องเสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่งหลังจากที่ท่านได้สร้างวิหารที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มเป็น รูปร่างขึ้นแล้ว ผู้เฒ่าคนนี้ในสมัยก่อนเคยเห็นคำทำนายโบราณของวัดพระพุทธบาทห้วยต้มมาก่อน ได้มาพูดกับท่านว่า " ท่านครูบาจะสร้างให้ใหญ่เท่าไหร่ก็สร้างได้ แต่จะสร้างใหญ่จริงอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ต่อไปจะมีคนๆหนึ่งมาช่วย ถ้าคนนี้มาแล้วจะสำเร็จได้ "


    ชาวเขาอพยพตามมา

    เมื่อท่านอยู่ที่วัดห้วยต้มได้ไม่นาน คำพูดของผู้เฒ่าคนนี้ก็เป็นความจริง เพราะชาวเขาจากที่ต่างๆที่ท่านได้อบรมสั่งสอนมา ได้อพยพย้ายถิ่นฐานติดตามมาอยู่กับท่านเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน เพื่อมาขอพึ่งใบบุญและปฏิบัติธรรมะกับท่าน

    ในระยะแรกๆ นั้น ท่านได้ตั้งกฎให้กับพวกกะเหรี่ยงที่มาอยู่กับท่านว่า พวกเขาจะต้องนำมีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาถวายวัด และให้สาบานกับท่านว่า จะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและจะกินมังสวิรัติตลอดไป ท่านได้เมตตาให้เหตุผลว่า ท่านต้องการให้เขาเป็นคนดี ลดการเบียดเบียน มีศีลธรรม หมู่บ้านห้วยต้มจะได้มีแต่ความสงบสุขทั้งทางโลกและทางธรรม และจะได้ไม่เป็นปัญหาของประเทศชาติต่อไป ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านห้วยต้มนี้มีความเป็น อยู่ที่เป็นระเบียบและมีความสงบสุข ตามที่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนมา ทั้งที่ในหมู่บ้านนี้มีกะเหรี่ยงอยู่หลายพันคน

    แต่ในสมัยนี้ กฎและระเบียบที่ชาวกะเหรี่ยงที่จะย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยต้มที่จะต้องนำ มีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาสาบานกับหลวงพ่อนั้นได้ยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะหลวงพ่อเห็นว่า ทางราชการได้ส่งหน่วยงานต่างๆเข้ามาจัดการดูแลช่วยเหลือ และให้การศึกษาแก่พวกเขา คงจะช่วยพวกเขาให้มีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสงบสุขเป็นระเบียบเหมือนที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา

    สมณศักดิ์

    ๔ เมษายน ๒๕๑๔ เป็นพระครูใบฎีกาชัยยะวงศาพัฒนา

    ๕ เมษายน ๒๕๓๐ เป็นพระครูพัฒนากิจจานุรักษ์

    ๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

    ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ เป็นพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท

    เกียรติคุณ

    ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๐ ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอลี้ โดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูน

    ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ได้รับรางวัล " ครูบาศรีวิชัย "ในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีผลงานการส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนา กิจการสาธารณะ มีความวิริยะ เสียสละเพื่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดี มีปฏิปทาเดินตามรอยเยี่ยง ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย

    ๓ เมษายน ๒๕๓๙ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะ " คนดีศรีทุ่งหัวช้าง " จาก อ.ทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

    ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติในฐานะเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปินดีเด่น จังหวัดลำพูน สาขาศิลปะ สถาปัตยกรรม จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

    ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับรางวัล เสมาธรรมจักร ในฐานะ " บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาส่งเสริมการพัฒนาชุมชน "

    ประวัติการจำพรรษา

    ลำดับการจำพรรษาเมื่อเป็นพระภิกษุ

    พรรษาที่ ๑ พ.ศ.๒๔๗๕ ( อายุ ๒๐ ปี ) วัดห้วยแม่บางแบ่ง เขตพม่า ( อุปสมบทที่วัดป่าน้ำ เมื่อเดือน ๕ เหนือ โดยมีครูบาเจ้าพรหมจักร เป็นพระอุปัชฌาย์ )

    พรรษาที่ ๒-๔ พ.ศ.๒๔๗๖-๗๘ ( อายุ ๒๑-๒๓ ปี ) วัดจอมหมอก ต.ม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๕ พ.ศ.๒๔๗๙ ( อายุ ๒๔ ปี ) วัดห้วยเปียง อ.แม่ระมาด จ.ตาก

    พรรษาที่ ๖ พ.ศ.๒๔๘๐ ( อายุ ๒๕ ปี ) วัดไม้ตะเคียน อ.แม่ระมาด จ.ตาก

    พรรษาที่ ๗-๘ พ.ศ.๒๔๘๑-๘๒ ( อายุ ๒๖-๒๗ ) วัดห้อยเปียง ( นุ่งขาวห่มขาว )

    พรรษาที่ ๙ พ.ศ.๒๔๘๓ ( อายุ ๒๘ ปี ) วัดห้วยหละ ต.ป่าพลู อ.บ้านโอ่ง จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๐-๑๔ พ.ศ. ๒๔๘๔-๘๘ ( อายุ ๒๙-๓๓ ปี ) วัดป่าพลู ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๕-๑๘ พ.ศ.๒๔๘๙-๙๒ ( อายุ ๓๔-๓๗ ปี ) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๙-๒๔ พ.ศ.๒๔๙๓-๙๘ ( อายุ ๓๘-๔๓ ปี ) วัดแม่ต๋ำ ต.เสริมซ้าย อ.เสริมงาม จ.ลำปาง

    พรรษาที่ ๒๕-๒๗ พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๑ ( อายุ ๔๔-๔๖ ปี ) วัดน้ำอุ่น ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๒๘ พ.ศ.๑๕๐๒ ( อายุ ๔๗ ปี ) วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๒๙-๖๔ พ.ศ.๒๕๐๓-ปัจจุบัน ( อายุ ๔๘-๘๔ ปี) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน

    กิจวัตรประจำวันในช่วงปัจฉิมวัยของหลวงปู่
    ๐๖.๐๐ น. สวดมนต์ไหว้พระ อธิษฐานบาตร
    ๐๖.๓๐ น. ลงบิณฑบาต
    ๐๗.๐๐ น. ฉันภัตตาหารเช้า
    ๐๘.๐๐ น. สวดมนต์หลังฉันเช้า
    ๐๘.๓๐ น. พักผ่อนอิริยาบถ
    ๐๙.๐๐ น. รับแขกญาติโยม ออกตรวจงานก่อสร้างทั้งในและนอกวัด
    ๑๑.๓๐ น. ฉันเพล
    ๑๓.๐๐ น. จำวัดพักผ่อน
    ๑๖.๐๐ น. ออกตรวจงานก่อสร้างภายในวัดหรือนอกวัด
    ๑๙.๐๐ น. สรงน้ำ
    ๒๐.๐๐ น. ทำวัตรสวดมนต์ และเจริญกัมมัฎฐาน ที่ห้องรับแขก
    ๒๒.๐๐ น. สวดมนต์ไหว้พระในห้องจำวัด ทำธุระส่วนตัว เช่น เขียนอักขระล้านนา, ออกแบบงานก่อสร้าง, เขียนบันทึกประวัติ หรือตรวจทานบทสวดมนต์
    ๐๐.๐๐-๐๑.๐๐ น. จำวัดพักผ่อน
    หลวงปูครูบาชัยวงศาท่านได้ละสังขารเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2543 (วันวิสาขบูชา) ทางวัดได้จัดพิธีเปลี่ยนผ้าครองสรีระของท่านในวันนี้ของทุกๆปี ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2013
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 02
    เหรียญรุ่นแรกครูบาเจ้าพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2500 เหรียญเก่าผิวหิ้ง ครับ
    คุณ j999 บูชาแล้วครับ



    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    ประวัติพระสุพรหมยานเถร
    (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)

    อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า รูปที่ ๑


    ชาติภูมิ
    พระสุพรหมยานเถร มีนามเดิมว่า “พรหมา พิมสาร” เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๑
    ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ (เดือน ๑๒ เหนือ) ปีจอ ณ บ้านป่าแพ่ง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เป็นบุตรของ นายเป็ง -นางบัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน คือ

    ๑. พ่อน้อยเมือง พิมสาร
    ๒. เด็กหญิง (ไม่ทราบชื่อ)
    ๓. แม่อุ้ยคำ หล้าดวงดี
    ๔. พ่อหนานนวล พิมสาร
    ๕. พ่อหนานบุญ พิมสาร
    ๖. พระสุธรรมญาณเถร
    ๗. พระสุพรหมยานเถร (เจ้าของประวัติ)
    ๘. พระครูสุนทรคัมภีรญาณ
    ๙. พ่อหนานแสง พิมสาร
    ๑๐. แม่ธิดา สุทธิพงษ์
    ๑๑. แม่นางบัวหลวง ณ ลำพูน
    ๑๒. เด็กหญิงตุมมา พิมสาร
    ๑๓. นางแสงหล้า สุภายอง

    ซึ่งทุกรูปและทุกคนได้ถึงแก่มรณภาพและถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว

    บรรพชา
    ท่านได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๕ ณ วัดป่าเหียง
    ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดยมีเจ้าอธิการแก้ว ขตฺติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ .
    อุปสมบท
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ท่านได้กลับมารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดป่าเหียง ในวันที่
    ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยมี

    เจ้าอธิการแก้ว ขตฺติโย เป็นพระอุปัชฌาย์

    พระอาจารย์ฮอม โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    พระอาจารย์สม สุรินฺโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    และท่านได้นามฉายาว่า “พฺรหฺมจกฺโก”

    การปฏิบัติธรรม
    ท่านครูบาพรหมา ได้รับโอวาทจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ถ้าฮักตั๋ว ก็จงตั้งใจ๋ปฏิบัติธรรม” ท่านจึงฝักใฝ่
    ในการปฏิบัติธรรมตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่านครูบาได้ออกเดินธุดงค์ไปตามป่า
    เขาลำเนาไพรที่เงียบสงบเรื่อยๆ จนทั่วภาคเหนือ ไปจนถึงเขตแดนประเทศพม่า และ ประเทศลาว ต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก นานัปประการ บางครั้งก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อด้วยความมุ่งมั่นที่จะเดินตามรอยพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับว่าท่านเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ออกเดินธุดงค์ใน
    ภาคเหนือ รวมเวลาเดินธุดงค์ทั้งสิ้น ๒๕ ปี

    ท่านครูบาเป็นนักปฏิบัติธรรมที่เสมอต้นเสมอปลายต่อข้อวัตรปฏิบัติเสมอมา เช่นการบิณฑบาตเป็นวัตร
    การฉันอาหารมื้อเดียวเป็นวัตร การอยู่ป่าเป็นวัตร การอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร เป็นต้น.
    นิสัยใจคอ
    ท่านเป็นผู้ที่มีนิสัยใจคอเยือกเย็น ชอบความสงบสงัด ไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งกับใคร และไม่เคยติฉิน
    นินทาใคร แม้ใครจะติฉินนินทาว่าร้ายท่านอย่างไร ท่านก็เฉยไม่โกรธ ยิ่งกว่านั้นท่านยังอำนวยอวยพร
    ให้แก่ผู้ที่ติฉินนินทาเป็นการให้อภัยทาน.
    ด้านการเผยแผ่ศาสนา
    ท่านเป็นผู้ที่ใฝ่ใจทั้งใจด้านปริยัติและปฏิบัติ เห็นได้จากเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้จัดตั้งสำนักศาสนศึกษา
    เปิดสอนนักธรรมขึ้น และเปิดสอนบาลีขึ้นอีกในปีถัดมา จากนั้นท่านได้จัดตั้ง สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้น
    ตามลำดับ จนทำให้วัดได้รับการยกฐานะเป็น “วัดพัฒนาตัวอย่าง” จากกรมการศาสนา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑
    และได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์ เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒

    นอกจากนี้ท่านยังได้ออกไปอบรมศรัทธาประชาชนในที่ต่างๆ ทั้งได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะแจกจ่ายให้กับศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก.

    กิจวัตรประจำวัน
    เวลา ๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน สรงน้ำ บำเพ็ญสมณธรรมใต้ต้นบุญนาค
    เวลา ๐๕.๐๐ น. นำพระภิกษุ-สามเณร ทำวัตรสวดมนต์เช้า
    เวลา ๐๖.๐๐ น. ตรวจตราดูแลพระภิกษุ-สามเณร ปัดกวาดทำความสะอาด บริเวณวัด
    เวลา ๐๘.๐๐ น. ออกรับบิณฑบาต ภายในวัด
    เวลา ๐๙.๐๐ น. รับแขก อ่านหนังสือ พักผ่อน
    เวลา ๑๑.๐๐ น. ฉันภัตตาหารเพล (ฉันมื้อเดียว)
    เวลา ๑๒.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น.บำเพ็ญสมณธรรม รับแขก อ่านหนังสือ พักผ่อน
    เวลา ๑๘.๐๐ น. นำพระภิกษุ-สามเณร ทำวัตรสวดมนต์เย็น นั่งเจริญสมาธิภาวนา อบรมพระภิกษุ-สามเณร
    และผู้ที่มาปฏิบัติธรรม
    เวลา ๒๒.๐๐ น. นำพระภิกษุ-สามเณรไหว้พระก่อนนอน จดบันทึกประจำวัน จำวัด

    ตำแหน่งหน้าที่และลำดับสมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นผู้อำนวยการการศึกษาพระปริยัติธรรม
    สำนักวัดพระพุทธบาทตากผ้า
    พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
    ที่ "พระครูพรหมจักรสังวร" ฝ่ายอรัญญวาสี
    พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
    วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร
    ชั้นเอก
    พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร
    ชั้นพิเศษ
    พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
    ที่ "พระสุพรหมยานเถร"
    พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้เป้นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า พระอารามหลวง

    เป็นเจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดพระพุทธบาทตากผ้า

    เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดพระพุทธบาทตากผ้า

    เป็นประธานกรรมการมูลนิธิวัดพระพุทธบาทตากผ้า

    เป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก ฉบับล้านนา

    มรณภาพ
    ครูบาพรหมา ได้บำเพ็ญสมณธรรมจนเข้าสู่วัยชราภาพ สังขารของท่านชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อาการเจ็บไข้ได้ป่วยจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ท่านครูบาเจ้าได้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ก่อนที่ท่านครูบาท่านจะละสังขาร ท่านครูบาได้ตื่นจากจำวัด แต่เช้าปฏิบัติธรรมตามกิจวัตร เมื่อถึงเวลาท่านลุกนั่งสมาธิ สำรวมจิตตั้งมั่นสงบระงับ ครูบาเจ้าพรหมจักรได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภานา เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ เวลา ๐๖.๐๐ น.อายุ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา ๓ ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑ .
    ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมจักรด้วยพระองค์เอง .

    พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) เป็นพระมหาเถระสำคัญรูปหนึ่งของล้านนาไทย
    เป็นพระนักศึกษา นักปฏิบัติ นักปราชญ์ นักวิเคราะห์วิจารณ์ นักพัฒนา เป็นผู้ทรงเมตตาธรรมอย่างสูง
    เพรียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันบริสุทธิ์ สะอาดทั้งกาย วาจา ใจ เป็นศูนย์รวมใจของคณะศิษยานุศิษย์
    และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นเนื้อนาบุญอันดีของผู้แสวงบุญ เป็นผู้ชี้ทางสวรรค์แก่ผู้ปรารถนาความสุข
    เป็นผู้ชี้ทางพระนิพพานแก่ผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ และเป็นร่มโพธิร่มไทรอันร่มเย็น เป็นสุขของมวลศิษยานุศิษย์และสาธุชนทุกทั่วหน้า.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2013
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 03
    เหรียญรุ่นแรกครูบาเจ้่าบุญชุ่ม ญาณสังวโร พระโพธิสัตว์เจ้า ผู้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุฌาณตั้งแ่ต่ท่านเป็นสามเณร จนมีผู้เลี่ยมใสจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกถวาย เหรียญดีอนาคตไกล ครับ
    คุณ j999 บูชาแล้วครับ


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2013
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 04
    เหรียญครูบาขาวปี บ้านปวง ปี 18
    เหรียญครูบาขาวปี บ้านปวง ปี 18 เหรียญประสบการณ์ ออกเเบบได้สวยงาม ของดีราคาเบาๆ น่าใช้ ครับ
    ปิดรายการนี้ครับ


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Clip_2.jpg
      Clip_2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82.5 KB
      เปิดดู:
      30,608
    • Clip_3.jpg
      Clip_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.4 KB
      เปิดดู:
      28,646
    • Clip_4.jpg
      Clip_4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.9 KB
      เปิดดู:
      24,821
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2014
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 04
    [/B]เหรียญตัดรุ้งครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง เหรียญประสบการณ์ตัดรุ้งขาดจนเป็นที่มาของชื่อรุ่น ตัดรุ้ง ครับ

    คุณ auan 24 บูชาแล้วครับ
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Clip.jpg
      Clip.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111 KB
      เปิดดู:
      25,699
    • Clip_2.jpg
      Clip_2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.2 KB
      เปิดดู:
      25,953
    • Clip_3.jpg
      Clip_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      112.1 KB
      เปิดดู:
      25,787
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2013
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 05
    ล็อกเก็ตฉากทองรุ่นแรกครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล อุดผงเกศา ตะกรุด วัดศรีดอนมูล

    บูชาแล้วครับ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.1 KB
      เปิดดู:
      24,020
    • 99.jpg
      99.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.6 KB
      เปิดดู:
      23,844
    • 19.jpg
      19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.3 KB
      เปิดดู:
      23,844
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2013
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 06
    เหรียญตานใช้ตานแทนครูบาชัยวงค์ จัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในพิธีสำคัญ เป็นพิธีชำระหนี้เจ้ากรรมนายเวร ขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวร (ตานใช้ตานแทน) เน้นทางการต่ออายุ เสริมดวงชะตา จะช่วยให้กรรมนั้นๆ ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ จากเบาจนไม่มีผล

    ปลุกเสกในพิธีชำระหนี้สงฆ์ตานใช้ตานแทน ปี 2535 มีเกจิคณาจารย์ ร่วมปลุกเสกดังนี้

    1 . หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข
    2 . หลวงปู่ดาบส สุมโณ สำนักสงฆ์ไผ่มรกต เชียงราย
    3 . ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ ลำพูน
    4 . หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    5 . หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
    6 . ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง
    7 . ครูบาน้อย วัดบ้านปง
    8 . ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี

    อักขระยันต์ด้านหลังของเหรียญทำน้ำมนต์ตานใช้ตานแทนนี้ เป็นอักขระยันต์พระโมคคัลลานะ เป็นเหรียญที่อยู่คู่กับเหรียญทำน้ำมนต์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง มีอานุภาพ คลายกฏแห่งกรรมเช่นเดียวกับเหรียญทำน้ำมนต์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง

    คุณ Sanguank บูขาแล้วครับ

    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.9 KB
      เปิดดู:
      13,676
    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.6 KB
      เปิดดู:
      13,371
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2013
  9. Sanguank

    Sanguank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,386
    สนใจเหรียญ ตานใช้ตานแทน ครูบาชัยวงค์ ขอบูชา ๑ เหรียญ ครับ
     
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 07
    เหรียญชัยมังคลัง ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง

    เหรียญ ประสบการณ์ น้องชายนักการเมืองท้องถิ่นถูกยิงจนเสื้อทะลุ แต่กระสุนไม่ระคายผิวคุณ auan 24 บูชาแล้วครับ


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2013
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 08
    ลูกประคำไม้ม่วงคำ ครูบาชัยวงค์


    สร้างจากต้มไม้ศักสิทธิ์ต้นมะม่วงคำที่มีรอยพระบาทประทับอยู่ มีเทพเทวดารักษาหากนำมาทำเป็นวัตถุมงคลแล้วเทพเทวดาเหล่านั่นท่านจะตามไปดูแลปกปักรักษาคุ้มครอง + ชื่อนามไม้ม่วงคำนั้นเป็นสิริมงคลถือเป็นของมงคลอย่างยิ่ง หลวงปู่ท่านจึงได้นำต้นมะม่วงคำมาทำเป็นวััถุมงคลไว้ให้ลูกศิษย์และผู้มีความศัทธาได้ใช้

    ใช้ในการภาวนาใช้ในการภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ รู้ใจ ทำทุกวันน้ำบ่อจึมทราย มุ่งสู่นิพาน
    สวยสมบูรณ์ ศิลป์สวย แห้งผิวหิ้ง ขนาดใหญ่ยาว 55 ซม
    สมาชิกนอกเว็บบูชาแล้ว ครับ


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2013
  13. Tawatchai1889

    Tawatchai1889 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6,406
    ค่าพลัง:
    +16,787
    สวัสดีครับท่านศิวิไล เข้ามาเยี่ยมชมร้านใหม่ครับ
    มีแต่ของดีๆสวยๆงามๆแท้ๆ มาบริการทั้งนั้นเลยนะครับ
    ขอให้ร่ำๆรวยๆครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2013
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345


    สวัสดีครับพี่ธวัชชัย ขอบคุณพี่ที่เข้ามาเยี่ยมชมร้านและเป็นกำลังใจให้ด้วยดีเสมอมา ขอให้คุณพี่รวย ๆ เฺฮง ๆ เช่นกันครับ
     
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    [/B] รายการที่ 09
    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักปฏิบัติธรรมม่อนปู่อิ่น ต.ยางคราม อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ เนื้อฝาบาตร
    สมาชิกนอกเว็ปบูชาแล้วครับ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    ท่านเป็นสหธรรมิก กับครูบาอิน วัดทุ่งปุย ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม เป็นพระที่ท่านพระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง สิริมังคโล ) ให้ความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ปัจจุบันท่านอายุ 100 ปี เป็นที่มีพระพรรษาอวุโสสูงสุดในเมืองเชียงใหม่ ครับ

    [​IMG]
    [​IMG]

    บันทึกการจัดสร้าง
    เหรียญหลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ รุ่นแรก
    เหรียญหลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ รุ่นแรก จัดสร้างขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นเจตนาการสร้างของเหรียญหลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ตั้งแต่ต้น โดยหลวงปู่เป็นผู้เขียนต้นแบบอักษรล้านนาบนเหรียญหน้า-หลังด้วยตัวหลวงปู่เอง และ อธิฐานจิตเป็นเวลาเกือบสองเดือน เพื่อเป็นที่ระลึกในการทอดผ้าป่าจัดสร้างถนนเข้าสำนักปฏิบัติธรรมม่อนปู่อิ่น ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธุ์ พ.ศ.๒๕๔๕ โดยคุณสมประสงค์ พยัคฆพันธ์ ศิษย์ฯจากกรุงเทพฯได้ออกทุนทรัพย์ส่วนตัวสร้างถวายทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และ คุณเนาว์ นรญาณ ออกแบบ,ควบคุมการแกะแม่พิมพ์และการจัดสร้าง
    การแจกเหรียญที่ระลึกในครั้งนั้น ได้ใส่เหรียญลงในซองผ้าป่าซองละ ๑ เหรียญ (ประมาณ ๒,๐๐๐ ซอง) โดยที่ผู้ร่วมทำบุญสร้างถนนจะทำบุญเท่าไหร่ก็ได้ไม่กำหนดมูลค่าส่วนเหรียญที่เหลือบางส่วน ทางหลวงปู่ครูบาปู่ฯ ท่านได้เป็นผู้แจกแก่ผู้มาทำบุญ หลังจากงานทอดผ้าป่าสร้างถนนเป็นต้นมา ( ส่วนมากหลวงปู่ท่านจะแจกเหรียญ ทีละกำมือแก่ผู้ที่เข้ามากราบ)
    สำหรับการทอดผ้าป่าในครั้งนั้น ได้ปัจจัยจากการทอดผ้าป่าเป็นเงินทั้งหมด จำนวน ๑๑๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน ) ซึ่งปัจจัยในส่วนนี้ได้จัดทำการจัดสร้างถนนลาดยาง ได้สำเร็จตาวัตถุประสงค์ พร้อมทั้ง เครื่องปรับอากาศ และเครื่องกรองน้ำถวายหลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ส่วนของบล็อกเหรียญนั้นในวันถวายผ้าป่า ผู้จัดสร้างได้นำมาถวาย และทำตำหนิ ด้านหน้า-ด้านหลัง เพื่อให้ไม่สามารถใช้การได้อีก และหลวงปู่ท่านได้ให้นำไปบรรจุในที่อันควรแล้ว
    รายละเอียดการจัดสร้างเหรียญ รุ่นแรกหลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ
    เหรียญฯเนื้อเงิน จำนวน ๙ องค์
    เหรียญฯเนื้อนวะโลหะ จำนวน ๒๐ องค์
    เหรียญฯเนื้อทองแดง จำนวน ๒๐๐ องค์
    เหรียญฯเนื้อทองฝาบาตร(ทองเหลือง ) จำนวน ๓,๐๐๐ องค์


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2013
  16. chartap

    chartap เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2013
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +355
    จองเหรียญตัดรุ้ง กับเหรียญชัยมังคลัง ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง
     
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รับทราบการจอง ขอบคุณครับ
     
  18. เคน มนต์เมืองแจ่ม

    เคน มนต์เมืองแจ่ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +235
    สวัสดีครับเสี่ยดอย เข้ามาเยี่ยมชมครับ พระสายเหนือสวยๆทั้งนั้นเลยครับ
    ขอให้รุ่งเรือง ร่ำรวย เฮงๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ครับ:cool::cool::cool:
     
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 10
    เหรียญรุ่นแรกครูบาก๋ง วัดศรีมงคล ท่าวังผา เมืองน่าน ครับ

    เหรียญครูบาก๋งรุ่นแรก ออกที่วัดต้นฮ่าง อ.ท่าวังผา เมื่อปี2514 โดยในปีนั้นที่วัดต้นฮ่างได้จัดงานฉลองพระวิหาร จึงดำหริจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่ออุปการะคุณผู้ที่ร่วมทำบุญ ทางวัดจะจัดสร้างเหรียญครูบาดอนตันขึ้นจะเห็นว่าเป็นการไม่สมควรเพราะในขณะนั้นที่วัดดอนตันได้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรกครูบาดอนตันอยู่แล้ว จึงพิจารณาดูแล้วว่ายังมีเกจิของท่าวังผาที่เก่งไม่แพ้ครูบาดอนตันเลยคือครูบาก๋ง เมื่อเห็นสมควรดังนั้นจึงขออนุญาตครูบาก๋งจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น โดยปลุกที่วิหารวัดต้นฮ่างโดยมีครูบาดอนตัน ครูบาก๋ง ครูบาวงศาภิวัตร ครูบาสุเทพวัดชนะไพรี ฯร่วมกันปลุกเสก (คนที่เคยใกล้ครูบาก๋งกล่าวว่าเหรียญรุ่นนี้ตอนที่ครูบาก๋งได้ไปร่วมปลุกเสกเหรียญครูบาดอนตันรุ่นแรกนั้น ครูบาก๋งได้นำเหรียญใส่ถุงย่ามไปร่วมปลุกเสกด้วย) เหรียญรุ่นนี้ได้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกพร้อมกับเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อวัดดอนตัน ใช้แทนกันได้ ครับ

    บูชาแล้วครับ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    [​IMG]
    [​IMG]

    ชาติภูมิ

    พระครูมงคลรังสี นามเดิมชื่อ พรมา นามสกุล ไชยปาละ บิดาชื่อ นายธนะวงศ์ ไชยปาละ มารดาชื่อ นางอูบแก้ว ไชยปาละ เกิดเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๓ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ ณ บ้านดอนมูล ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน
    มีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน ๔ คน
    พระครูมงคลรังสี
    นายยืน ไชยปาละ (ถึงแก่กรรม)
    นางบัวเขียว พินิจทะ (ถึงแก่กรรม)
    นางตึง ไชยปาละ อายุ ๗๐ ปี

    การศึกษา

    การศึกษาเบื้องต้น หลวงปู่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลบ้านดอนมูล สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากนั้นก็ได้เรียนหนังสือไทยล้านนา และไทยกลาง ณ วัดดอนมูล จากพระในวัดเป็นผู้สอนให้จนสามารถอ่านออกเขียนได้คล่อง

    การบรรพชา

    บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๕๙ ขณะเมื่ออายุได้ ๑๔ปี โดยมีพระอิทธิยศเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านดอนมูล

    การอุปสมบท

    อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี หลวงปู่ต้องไปคัดเลือกทหาร จึงได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้ว่า “ถ้าข้าน้อยได้คัดเลือกชั้นที่ ๑ ก็จะขอเป็นทหารรับใช้ชาติตลอดไป แต่ถ้าข้าน้อยคัดเลือกได้ชั้นที่ ๒ ก็จะขออุปสมบทเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต จะไม่ขอลาสิกขาเพศ จะขออยู่รับใช้พระศาสนาจนดับขันธ์ คงสืบเนื่องจากบุญวาสนา ซึ่งหลวงปู่ได้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด จึงคัดเลือกได้ที่ ๒ในวันรุ่งขึ้นของวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๖๖ หลวงปู่จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดอนมูล โดยมีพระอิทธิยศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมวาท เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอินต๊ะวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้นามฉายา ว่า “มงคโล ภิกษุ”


    การศึกษาและการปฏิบัติธรรม

    เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐาน และถวายตัวเป็นศิษย์ครูบาหลวงพุทธวงศ์ ครูบาอุปละ ครูบาญาณะวัดสวนดอก ครูบาก๋าอาธะวัดไฮ่สบบั่ว ครูบากิตต๊ะวงศ์ ครูบาอินต๊ะ ครูบาบ้านส้าน ครูบาขัตติยะ วัดร้อง ได้ศึกษาและปฏิบัติอยู่เป็นเวลา ๒ ปี จึงได้อำลาครูบาและอุปัชฌาย์ โดยแจ้งความจำนงที่จะออกไปบำเพ็ญเพียร ตามป่าเขาลำเนาไพรด้วยตนเอง เพื่อให้กายวิเวก ได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาในจังหวัดน่าน แล้วออกทะลุป่าดงใหญ่ไปยังจังหวัดเชียงราย เชียงตุง แล้ววกกลับมาทางเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ ตามป่าเขาอันเงียบสงบ และในป่าช้าใช้หลุมฝังศพเป็นที่ปฏิบัติธรรมอยู่เป็น เวลา ๖ ปี
    รูปภาพนี้ได้ถูกปรับขนาดให้เหมาะสมกับการแสดง ต้องการดูเท่าขนาดต้นฉบับคลิกที่นี่...


    การเผยแพร่ธรรมและการปกครอง

    สืบเนื่องมาจากหลวงปู่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัด ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ คณะศรัทธา ชาวบ้านก๋ง ในขณะนั้น มีจำนวน ๑๕ หลังคา ได้ส่งตัวแทนไปนมัสการหลวงปู่ โดยแจ้งความจำนงให้หลวงปู่ทราบว่า “มานิมนต์หลวงปู่ไปประจำที่วัดบ้านก๋ง เพราะเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษา ให้ชาวบ้านได้ทำบุญสนทานกันหลายสิบปีแล้ว ศีลธรรมของชาวบ้านเริ่มเสื่อม มีการฉกชิง วิ่งราว ปล้นสดมภ์ ฉุดคร่าอนาจารอยู่เสมอ” หลวงปู่จึงรับนิมนต์และมาอยู่จำพรรษาบนกุฏิร้างมุงหญ้าคา ซึ่งมีอยู่หลังเดียวเท่านั้นในบริเวณวัด ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมผุพัง เป็นป่าทึบมืดครึ้ม มีเสือลายพาดกลอน และเสือโคร่ง ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ แต่ด้วยกระแสแห่งเมตตาธรรมของหลวงปู่ได้แผ่เยือกเย็นไปทั่วบริเวณกว้าง ความโหดร้ายและปรากฏตัวให้เห็นก็สูญหายไปในที่สุด ชาวบ้านที่รุ่มร้อนเบียดเบียนบีฑาซึ่งกันและกันเกินกว่าที่ผู้ใหญ่บ้านจะปกครองได้ ด้วยบุญบารมีแห่งเมตตาธรรมของหลวงปู่ที่ได้อบรมชาวบ้านทุกวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่มีชาวบ้านบางคนยังขาดความสามัคคี เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นพกแต่ความโลภะ โทสะ และโมหะ หลวงปู่จึงได้สร้างพระพุทธรูปและประกาศแก่ชาวบ้านให้ทุกคนนำปอยผมของแต่ละคนมามอบให้ แล้วหลวงปู่ก็นำเอาปอยผมของทุกคนบรรจุไว้ในฐานพระ ในพิธีบรรจุปอยผมไม่ว่าเด็กเล็กชายหญิง คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าคนแก่ มาพร้อมเพียงกันทุกคน แล้วหลวงปู่ก็ประกาศว่า ต่อแต่นี้ไปชาวบ้านก๋งผู้ใดขืนกระทำความชั่ว พระพุทธรูปจะไม่ให้ความคุ้มครองเป็นอันขาด แต่ถ้าผู้ใดทำความดีละความชั่ว ให้หมั่นเข้าวัดรักษาศีล ฟังธรรม พระพุทธรูปจะให้ความคุ้มครองแก่เขาเหล่านั้น ให้มีแต่ความสุข ความเจริญ อายุยืนนาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปรากฏว่าบ้านก๋งเริ่มเป็นดินแดงแห่งความร่มเย็น ชาวบ้านต่างก็มี เมตตาธรรม มีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว เลิกอบายมุขทั้งหลายจนหมดสิ้น ทั้งกลับมาฝึกกรรมมัฎฐานกันทั้งหมู่บ้าน จนทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ขจรขจายไปทั่วทุกหมู่บ้านทั้งจังหวัดน่าน
    เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยความสำนึกในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อต้องการให้กุลบุตรของพุทธศาสนิกชนได้บรรพชาและอุปสมบทสบทายาทพุทธศาสนา หลวงปู่ต้องเดินทางไปทำการบรรพชาและอุปสมบทให้ด้วยความลำบากตรากตรำในท้องที่ตำบลยม ตำบลอวนและตำบลศิลาเพชร ซึ่งเป็นท้องที่ป่าเขาลำเนาไพร ทุรกันดาร ต้องเดินทางนอนพักแรมกลางป่า บางครั้งก็ต้องใช้ม้าเป็ นพาหนะในการเดินทาง
    เมื่อวันที่ ๕ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูมงคลรังสี ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นโทในนามเดิม เจ้าคณะตำบลยม

    การทะนุบำรุงวัด

    เนื่องจากวัดก๋งเป็นวัดรกร้างมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษาเมื่อหลวงปู่ได้รับนิมนต์ชาวบ้านมาอยู่จำพรรษาประจำที่วัดแล้ว หลวงปู่ได้เริ่มปลูกฝังจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้านก่อน ต่อมาเมื่อชาวบ้านคลายความรุ่มร้อน ชาวบ้านมีศีล มีเมตตาต่อกัน มีหลวงปู่เป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน หลวงปู่ก็ได้ชักชวนชาวบ้านบูรณะซ่อมแซม และสร้างกุฏิ พระวิหาร พระอุโบสถ ชาวบ้านจะช่วยกันบริจาคทรัพย์และร่วมแรงกันทำการก่อสร้าง หลวงปู่จะบริจาคทรัพย์ส่วนตัว สมทบทุนในการก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ โดยมิได้หวังสะสมไว้เป็นของส่วนตัว จนกระทั่งในบั้นปลายของชีวิตบรรดาสานุศิษย์ต่างก็มีความประสงค์จะให้หลวงปู่ได้พักผ่อน ทุกคนต่างก็ร่วมมือกันสร้างกุฏิหลังใหม่ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ เป็นการน้อมถวายแก่หลวงปู่ เพื่อเป็นบุพการีบูชา อยากจะให้หลวงปู่มีชีวิตยาวนานเป็นมิ่งขวัญของสานุศิษย์ทั่วหน้า



    อวสานแห่งชีวิต

    หลังจากคณะศิษย์ได้สร้างกุฏิ และได้ทำการถวายแด่หลวงปู่แล้ว ก็มีการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ ซึ่งหลวงปู่ได้ทนุถนอมไว้เป็นเวลาอันยาวนาน พิธีบรรจุได้กระทำพร้อมกับวันสืบชะตาอายุครบ ๘๗ ปี ของหลวงปู่ เสร็จการจัดงานนมัสการพระธาตุแล้ว หลวงปู่เริ่มมีอาการป่วยเกี่ยวกับหลอดลมและความชราภาพ พระอาจารย์มนตรี ธมมเมธี ก็ได้พาไปตรวจรักษาหลายครั้ง จนกระทั่งเกินขีดความสามารถของแพทย์ที่จะทำการเยียวยา และให้การรักษาได้ แต่หลวงปู่มิได้แสดงอาการเจ็บปวดหรือบ่นแม้แต่น้อย คงมีสุขภาพจิตสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ได้เรียกศิษย์ผู้ใกล้ชิด พร้อมกับสั่งพระอาจารย์มนตรีไว้ทุกประการ และขอมอบสังขารให้สานุศิษย์เก็บไว้ที่วัดศรีมงคล ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ได้บูรณะซ่อมแซม ได้ทำการฟื้นฟูสภาพความเสื่อมโทรมนานัปการ ได้สร้างชาวบ้านให้เป็นชาวพุทธ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ได้ขอร้องให้สานุศิษย์นำหลวงปู่ไปส่งที่วัด เมื่อหลวงปู่ได้ถึงวัด ชาวบ้านก็ได้มาต้อนรับอย่างคับคั่งหลวงปู่อยู่ ๒-๓ วัน หลวงปู่ก็จากไปด้วยอาการอันสงบ ต่อหน้าสานุศิษย์ผู้ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุข เคยบุกป่าผ่าดอยมาด้วยกัน ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๐๑.๓๐ น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2014
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,548
    ค่าพลัง:
    +1,345
    สวัสดีครัยเสี่ยเคน ที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม ขอให้รุ่งเรือง ร่ำรวย เฮงๆ เช่นกัน ครับ:cool::cool::cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...