เรื่องเด่น ธรรมสำหรับพุทธมามกะ (สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 4 มกราคม 2018.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,923
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
    zzz_8852.jpg

    หัวข้อแห่งพระพุทธศาสนา
    สำหรับพุทธมามกะ

    พระนิพนธ์
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)

    คัดลอกจาก...หนังสือคู่มือบัณฑิต จัดพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ
    โดยสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. ๒๕๔๐ หน้า ๔๑-๔๕

    พึงเป็นผู้ประพฤติสุจริต คือ ประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ
    อย่างนี้เรียกว่า ธรรมจารี

    พึงเป็นผู้มีละอายแก่ใจของตน รู้ว่าการอย่างใดไม่เป็นธรรม
    อย่าทำการอย่างนั้น ฝืนความรู้สึก อย่างนี้เรียกว่า มีหิริ

    พึงเป็นผู้รู้จักเกรงกลัวต่อการทำผิด พึงทำความชอบใจในการทำถูก
    อย่างนี้เรียกว่า มีโอตตัปปะ

    พึงเป็นผู้ระมัดระวังในเมื่อจะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อย่าให้เชือนไปเป็นบาป อย่างนี้เรียกว่า ผู้สำรวม

    พึงรู้จักข่มใจของตนไว้ให้อยู่ในเมื่อความปรารถนาจะทำบาปเกิดขึ้น
    อย่างนี้เรียกว่า ผู้ฝึกตัวแล้ว

    พึงเป็นผู้มีความเพียร ทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ยากสักปานไร
    พึงตั้งอุตสาหะเพื่อทำให้สำเร็จ อย่าท้อถอยเสียง่าย ๆ อย่างนี้เรียกว่า ผู้บากบั่น

    พึงเป็นผู้แกล้วกล้าในการงานทั้งปวง อย่าครั่นคร้ามต่อภัย
    อย่างนี้เรียกว่า ผู้องอาจ

    พึงเป็นผู้อดทนต่อความลำบาก และการหรือสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาถึงเข้า
    อย่าแสดงวิการง่าย ๆ อย่างนี้เรียกว่า มีขันติ

    พึงเป็นผู้มีสติในเมื่อจะทำ ในเมื่อจะพูด พึงนึกให้รอบคอบก่อนแล้ว
    จึงทำแล้วจึงพูด อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีสติ

    พึงเป็นผู้ไม่เผลอตัวในเมื่อทำอยู่ ในเมื่อพูดอยู่
    พึงรู้รอบคอบถึงการทำ ถึงคำพูด อย่างนี้เรียกว่า มีสัมปชัญญะ

    พึงเป็นผู้ไม่เลินเล่อในการงาน ในความประพฤติ และในความเป็นไปของตน
    พึงระวังความเสื่อมเสียอันหากจะมีขึ้น อย่างนี้เรียกว่า ผู้ไม่ประมาท

    พึงเป็นผู้ซื่อตรงในท่านผู้ที่ตนภักดี และในผู้ที่ตนคบด้วย
    ในการงานอันเกี่ยวกับผู้อื่น อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีสัตย์

    พึงเป็นผู้สนใจการเรียน มุ่งจะรู้สิ่งที่ยังไม่รู้ จะเข้าใจสิ่งที่รู้บ้างแล้วให้ปรุโปร่ง
    อย่างนี้เรียกว่า ผู้ใคร่ศึกษา

    พึงเป็นผู้หมั่นสังเกต เทียบเคียง ใช้ความคิดถึงการหรือสิ่งอันตนได้พบเห็น
    หรือได้เรียนมาเพื่อเกิดปัญญา อย่างนี้เรียกว่า ผู้ใช้ปัญญา

    พึงเป็นผู้ปรารถนาดีในผู้อื่น อย่าเป็นผู้ผูกพยาบาท
    อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีเมตตา

    พึงเป็นผู้เอาใจช่วยเขา ในเมื่อเขาได้ทุกข์ตกยากหรือถึงความวิบัติ
    อย่าแส่หาความลำบากทับถมเขา อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีกรุณา

    พึงเป็นผู้พลอยยินดีด้วยเขา ในเมื่อเขาได้สุขหรือถึงความเจริญ
    อย่าริษยาเขา อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีมุทิตา

    พึงทำใจเป็นกลาง ในเมื่อสมบัติและวิบัติของคนสองฝ่าย
    ผู้ควรได้รับมุทิตาเสมอกันแย้งกันอยู่ อย่างนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอุเบกขา

    พึงเป็นผู้มีใจเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัวโดยส่วนเดียว ไม่ตระหนี่เหนียวแน่น
    อย่างนี้เรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละให้

    พึงเป็นผู้มีแก่ใจทำการอุปการแก่เขาก่อนเมื่อถึงคราว
    อย่างนี้ที่อย่างสูงเรียกว่าเป็น บุพพการี
    คือ เจ้าบุญนายคุณของเขา อย่างนี้ที่อย่างเพลาเรียกว่าเป็น ผู้เกื้อกูล

    พึงเป็นผู้รู้อุปการอันท่านทำแล้วแก่ตน อย่างนี้เรียกว่า ผู้กตัญญู
    และพึงเป็นผู้ตอบแทนอุปการะแก่ท่านเมื่อถึงคราว อย่างนี้เรียกว่า ผู้กตเวที

    พึงนับถือท่านผู้ใหญ่ในสกุล ครูอาจารย์ ท่านผู้ปกครองตน
    ท่านผู้อำนวยการพระศาสนาที่ตนนับถือ อย่างนี้เรียกว่า ผู้รู้จักเคารพ

    พึงเป็น ผู้เที่ยงธรรม ในบุคคลผู้ควรได้รับความเสมอภาคกัน
    ไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะเขลา

    พึงเป็นผู้มุ่งธรรมเป็นใหญ่ ไม่พึงแสวงหาลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
    โดยอาการไม่เป็นธรรม อย่างนี้เรียกว่า ผู้ใคร่ธรรม

    พึงเป็นผู้เชื่อฟังตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนว่า สิ่งทั้งปวงเป็นเหตุและผลเกิดเนื่องกันมา
    อย่าเชื่องมงาย อย่างนี้เรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา

    พึงเชื่อกรรม คือ การที่ทำว่าอาจอำนวยผลให้ผู้ทำ ไม่ถือร่อน ๆ ว่า
    ทำชั่วจับไม่ได้ ไม่ถูกลงโทษ ทำดี ไม่มีผู้รู้ ไม่ได้รับการยกย่อง หาเป็นอันทำไม่
    ไม่เสี่ยงเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ไม่ถือมงคลตื่นข่าวอันไร้จากเหตุ
    ไม่ถือนอกคอกว่า บาปบุญไม่มี มารดาบิดาไม่มี เป็นแค่สมมติทั้งนั้น
    เชื่อกรรม เชื่อเหตุ ยอมรับสมมติ อย่างนี้เรียกว่า มีสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ

    พึงเป็นผู้มุ่งความผ่องแพ้วแห่งใจ เมื่ออารมณ์เศร้าหมองที่เรียกว่า กิเลสเกิดขึ้น
    พึงข่มไว้จนระงับเสียได้ อย่างนี้เรียกว่า ผู้ใคร่ความบริสุทธิ์

    พึงเป็น ผู้มุ่งความสงบใจ อันเป็นผลอย่างสุขุม
    พึงระวังระงับเหตุอันจะยังใจให้ป่วนปั่นเสีย

    พุทธมามกะผู้มีศีลธรรมอย่างนี้ ชื่อว่า สักการะบูชาพระศาสดา
    ด้วยปฏิบัติอันเป็นบูชาอย่างยิ่ง เป็นผู้นับถือพระองค์อย่างสมควร
    เป็นผู้นับถือในพระองค์อย่างสมควรแท้ จักถึงความเจริญสถาพรในพระพุทธศาสนา

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37739
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มกราคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...