เรื่องเด่น 'พระเจ้าอชาตศัตรู' เข้าถึงพระรัตนตรัยแล้ว 'ทำไมตกนรก' : หลวงตามหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย montrik, 29 ตุลาคม 2019.

  1. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,090
    450290.jpg
    วันจันทร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 19.20 น.

    ครั้งพุทธกาล พระเทวทัตมาโต้ตอบทุกสิ่งทุกอย่างกับพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาแทน เสี้ยมสอนให้พระเจ้าอชาตศัตรูไปฆ่าพระราชบิดาตาย แต่ไม่ได้ตั้งหน้าฆ่าตาย ฆ่าด้วยวิธีการต่างๆ จนกระทั่งถึงตายในเรือนจำทุกสิ่งทุกอย่างสลดสังเวช พระเจ้าพิมพิสารท่านสำเร็จพระโสดาบัน แล้วเรียกว่า เป็นพระอริยบุคคลแล้ว ท่านจะมีอะไรกับโลก ลูกมาทรมานวิธีใดเพราะได้รับการเสี้ยมสอนจากพระเทวทัต คือให้พระเทวทัตมาเสี้ยมสอนพระเจ้าอชาตศัตรู แล้วฆ่าพระราชบิดาเสีย แล้วเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทนพระเทวทัตนี้ก็จะทำลายพระพุทธเจ้าจะเป็นศาสดาแทน

    พอทางนั้นหลงกล ก็เอาแล้วทีนี้ จับพ่อไปมัดไว้ในเรือนจำทำความทุกข์ ความทรมาน บีบบี้สีไฟในเรือนจำ ไม่ให้กินข้าวกินน้ำ พระชายา ภาษาเราก็ผัวกับเมีย ใช่มั้ยล่ะ จะเป็นจะตาย สงสารผัวเป็นกำลัง เข้าไปไม่ได้ ถืออะไรไปไม่ได้ ลูกบังคับอยู่ พระเจ้าอชาตศัตรูสุดท้ายก็ต้องขออภัยนะ เอาข้าวเหน็บฝ่าพระบาทเหน็บใส่รองเท้าเหยียบเอาไปให้สามีกิน คือ เอาไปทางอื่นทางใดไม่ได้ ต้องเอาข้าวใส่รองเท้าแล้วเหยียบไป เพื่อเขาจะไม่ตรวจ พอถึงวาระพระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูประสูติขึ้นมา

    พอประสูติเท่านั้น มองเห็นลูกเท่านั้น สลดสังเวช ปึ๋งขึ้นมาทันทีความรักลูกถึงขนาดไหน วิ่งหาพ่อตัวเอง “อ๋อ! พ่อรักเราอย่างงี้” รีบไปจัดการสั่งปล่อยพ่อทันที พอรีบไป พ่อก็ตายในเวลาเดียวกัน สลดสังเวชเห็นโทษเห็นภัย แล้วโศกเศร้าเหงาหงอยเป็นกำลัง เมื่อฆ่าพระราชบิดาแล้ว เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้รับคำแนะนำสั่งสอน มันสุดวิสัยไปแล้วทำยังไง
    Ajatashatru_of_Magadha_makes_a_midnight_call.jpg
    พระองค์ก็แนะนำสั่งสอน ยังไงก็ตกนรกไม่สงสัย จนกระทั่งเป็นคำพูดในมหาสมัยสูตรว่า เย เกจิ พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คตา เส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมิ ตามที่ท่านแสดงไว้ว่า ผู้ที่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ย่อมไม่ไปอบายภูมิ ไม่ตกนรก เป็นข้อยืนยันนี่เป็นภาษิตของเทวดาที่จะมาค้านกันกับเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู

    ภาษิตของพระพุทธเจ้าก็แสดงไว้ว่า ผู้เข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์แล้วไม่ตกอบายภูมิ อบายภูมิ คือ สี่พวก นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน นี่เรียกว่า พวกอบายภูมิ ไม่เกิดในพวกนี้ นรกก็ไม่เกิด เปรตก็ไม่เป็น อสุรกายไม่เกิด เรียกว่าสี่อย่าง ทำไมพระเจ้าอชาตศัตรูนี้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงขั้นพระรัตนตรัยแล้ว ทำไมยังจะต้องตกนรกอีก กรรมของพระเจ้าอชาตศัตรูนี้เหนือสิ่งเหล่านี้แล้ว กรรมที่ฆ่าพระราชบิดาเหนือกรรมเหล่านี้ เรียกว่า กั้นไม่อยู่ พระเจ้าอชาตศัตรูต้องตกหลุมแสนสาหัสอย่างเดียวเท่านั้น นี่ภาษิตที่ค้านกัน

    คือเทวดาก็เอาภาษิตของพระพุทธเจ้ามาอ้างว่า ผู้เข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เข้าสู่อบายภูมิ ไม่เกิดในอบายภูมิ แต่ทำไมพระเจ้าอชาตศัตรูก็ถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะแล้วทำไมต้องตกนรก พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้แล้ว เรื่องนี้ก็รับกัน อ๋อ! เรื่องนี้เป็นอนันตริยกรรม เป็นกรรมที่เหนือสุดแล้ว เหนือกรรมทั้งหลาย เพราะงั้นจึงเหยียบกรรมทั้งหลายไปนรกถ่ายเดียว
    ..............
    คัดลอกจากหนังสือ "เทวดา" หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    ที่มา https://www.naewna.com/likesara/450290
     
  2. ดาวศุกร์

    ดาวศุกร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +554
    ถ้าพระเจ้าอชาตศัตรูได้ โสดาบัน ก็จะปิดทางสู่อบายภูมิ ถ้ายังตกนรก แสดงว่าพระองค์ยังไม่ได้เป็นโสดาบัน
     
  3. naitiw

    naitiw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,611
    ค่าพลัง:
    +2,885
    อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด คือ
    มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
    ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
    อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
    โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ
    สังฆเภท - ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์

    บาปอื่นเป็นกรรมเบาแต่อนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการนี้จัดเป็นกรรมหนัก ให้อภัยไม่ได้ต้องลงอเวจี แม้พระเจ้าอชาตศัตรูทำบุญมากมายเพื่อไถถอนแต่ยังต้องตกนรก

    ผู้ใดทำกรรมอนันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจะไม่สามารถบวชเข้ามาเป็นภิกษุได้เลยเพราะถือว่าเป็นผู้ต้องปาราชิกสำหรับฆราวาสแล้วและจะไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานใดๆเลยตลอดชีวิตในชาติที่ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อตายจากโลกไปจะต้องตกนรกเพียงสถานเดียว ไม่สามารถขึ้นสวรรค์ได้ ต่อให้ทำกรรมดีมากมายเพียงใดก็ไม่อาจหนีพ้นจากนรกไปได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2019

แชร์หน้านี้

Loading...