เรื่องเด่น มหาปุริสวิตก ๘ ประการ และ การบำเพ็ญของพระอนุรุทธ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 28 พฤศจิกายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541

    ?temp_hash=9a9c0d3aca24fb480f4f08a4525a1e64.jpg


    มหาปุริสวิตก ๘ ประการ และ การบำเพ็ญของพระอนุรุทธ
    ************************

    [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน
    แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่
    ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่
    ในที่ลับ เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความ
    ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
    ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วย
    หมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้
    มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคล
    ผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะ
    แล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไป
    ปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง
    เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น


    พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว
    แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า
    ดีแล้วๆ อนุรุทธะ ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม

    ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่
    ทำให้เนิ่นช้า
    มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำ
    ให้เนิ่นช้า

    ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
    ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า....
    จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก
    มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จัก
    บรรลุทุติยฌาน
    มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก
    วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
    ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
    เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    สรรเสริญ
    ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ
    จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จัก
    บรรลุ
    จตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
    ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
    ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน



    ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล
    จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย
    ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี
    หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด
    แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา
    ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
    ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้
    สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี
    คัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี
    ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และ
    จักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิต
    ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จัก
    ปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอด
    ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิด
    ชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส-
    *วิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
    ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน
    ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
    เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขน
    ยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี
    ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูกร
    อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้
    ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง
    เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ
    แก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ
    เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี
    ฉะนั้น ฯ
    ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน
    แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด



    ท่านพระอนุรุทธะทูลรับพระผู้มีพระภาค

    แล้วลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว
    เสด็จจากวิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน
    แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้
    หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น
    พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว
    ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก
    ๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความ
    ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑ ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้
    สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล
    ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคล
    ผู้เกียจคร้าน ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม ๑ ธรรมนี้
    ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มี
    ปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่
    ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบ
    ใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ๑ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
    บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา
    น้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้
    สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด
    ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียร
    ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ
    ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง
    ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา
    ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่
    ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจ
    ในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
    บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เรา
    อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
    ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
    วินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
    บริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้
    สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ
    บุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
    เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป
    เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต
    ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้
    เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร
    มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
    แห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่
    เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของ
    บุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
    มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึง
    กิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล
    ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง
    มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้
    เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่
    ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ
    ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
    ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
    ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล
    ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรา
    อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป
    เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา
    กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้
    เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
    ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ฯ

    *********************************************************************************


    ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้น
    เจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่
    ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง
    ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต
    โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ
    สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
    เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระ-
    *อรหันต์ทั้งหลาย
    ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้
    ในเวลานั้นว่า
    พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
    ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย
    พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริ
    ไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
    ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึง
    ธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุ
    วิชชา ๓ แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา
    กระทำแล้ว ฯ


    ********************************************************************************************
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต / ๑๐. อนุรุทธสูตร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    มหาปุริสวิตก ๘ ประการ

    ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก

    ธรรมของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ

    ธรรมของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    ธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน

    ธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม

    ธรรมของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง

    ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม

    ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า



    ในการใด บุคคลตรึกมหาปุริสวิตก ๘ จักหวังได้ว่าจะบรรลุรูปฌาณ ๔ ได้ฌาณ ๔ ได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    กัปปสหัสสสูตร
    ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป


    *****************************************

    [๙๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
    บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ
    ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ฯลฯ๑-
    เรียนถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
    “ท่านอนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหนที่ท่าน
    อนุรุทธะเจริญ ทำให้มากแล้ว”
    ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญา
    มาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว

    สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
    คือ ผม
    ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
    ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
    ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
    ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔
    ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป เพราะ
    สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

    **********************************************
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    เชิงอรรถ
    @๑ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๙๐๑ (สุตนุสูตร) หน้า ๔๓๔ ในเล่มนี้
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๒}
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    อิทธิวิธสูตร
    ว่าด้วยเหตุที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

    [๙๑๐] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมแสดงฤทธิ์
    ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ๑- ใช้อำนาจทางกายไป
    จนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

    เชิงอรรถ :
    ๑ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๘๒๓ (ปุพพสูตร) หน้า ๓๙๒
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    ฐานสูตร
    ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดฐานะและอฐานะ
    [๙๑๓] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดย
    เป็นอฐานะตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ
    ทำให้มากแล้ว”
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    นานาธาตุสูตร
    ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดโลกที่มีธาตุแตกต่างกัน
    [๙๑๖] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิดและมีธาตุ
    แตกต่างกันตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ
    ทำให้มากแล้ว”
    นานาธาตุสูตรที่ ๘ จบ
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๔}
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    [๙๒๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย)และกำลัง
    อุบัติ(เกิด)ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นไปตาม
    อำนาจกรรม ฯลฯ๒- ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์อย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน
    ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
    ทิพพจักขุสูตรที่ ๑๓
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    ?temp_hash=635562426d2c5d97acc48610c5cc2c43.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    อนุรุทธสังยุตต์ - ๑. รโหคตวรรค - สุตนุสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

    สุตนุสูตร
    การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา
    [๑๒๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุตนุ ใกล้พระนครสาวัตถี
    ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ครั้น

    ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงไปนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า

    ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน?

    [๑๒๗๑] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหา
    อภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? เรา

    ย่อมพิารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

    ในโลกเสียได้ เราพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิชฌา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติ

    ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อนึ่ง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เรา

    จึงได้รู้ธรรมอันเลว โดยความเป็นธรรมเลว รู้ธรรมปานกลาง โดยความเป็นธรรมปานกลาง

    รู้ธรรมอันประณีต โดยความเป็นธรรมอันประณีต.

    จบ สูตรที่ ๓
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    กัณฏกีสูตรที่ ๑
    ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง

    [๑๒๗๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ กันฏกีวัน (ป่าไม้มีหนาม) ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่าน
    พระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่พักผ่อน เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่
    ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ ธรรม
    เหล่าไหน อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่?
    [๑๒๗๓] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุ
    ผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย
    ในกาย ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ... ย่อมพิจารณาเห็น
    ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    ดูกรท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่.


    จบ สูตรที่ ๔
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ฯ

    พระอนุรุทธเถระผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดา ให้เป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ ควรจะได้ทราบว่าการที่พระอนุรุทธเถระเป็นผู้เลิศเช่นนั้น เพราะเป็นผู้มีความชำนาญที่ได้สั่งสมไว้แล้วในเวลาที่ผ่านมา อรรถกถากล่าวว่า พระเถระนั้น ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ได้เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียว เว้นแต่ช่วงเวลาฉันเท่านั้น ดังนั้น พระเถระนี้จึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมไว้ตลอดวันและคืน ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระอนุรุทธเถระนั้นบังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่งวันหนึ่งได้ไปยังพระวิหารที่พระพุทธปทุมุตตระประทับอยู่ และฟังธรรมอยู่แถวท้ายหมู่พุทธบริษัทในวิหารนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ท่านจึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเช่นนั้นบ้าง

    ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระพระปทุมุตตระพุทธเจ้า และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้

    พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักมีชื่อว่าอนุรุทธ ท่านจักเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าดังนี้ ครั้นเมื่อทรงพยากรณ์แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป

    ตั้งแต่นั้นมา ตราบที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ท่านก็ได้กระทำแต่กรรมที่ดีมาโดยตลอด ครั้นเมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อเจดีย์ทองประมาณ ๗ โยชน์สร้างสำเร็จแล้ว ท่านจึงเข้าไปหาเหล่าภิกษุสงฆ์ แล้วถามภิกษุสงฆ์เหล่านั้นว่า ทำบุญด้วยอะไรจึงจะทำให้ได้ทิพยจักษุ ภิกษุสงฆ์บอกว่าควรทำบุญด้วยประทีป ท่านจึงให้สร้างต้นประทีปหลายพันต้น และสร้างประทีปบริวาร ด้วยถ้วยกระเบื้องและถาดสัมริด นับจำนวนไม่ได้ ถวายเป็นพุทธบูชา และอธิษฐานว่า ผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้เกิดทิพยจักษุญาณ ท่านกระทำเช่นนี้จนตลอดชีวิต เมื่อหมดอายุขัยแล้ว ก็ท่องเที่ยวไปในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย วนเวียนอยู่เช่นนั้นตลอดแสนกัป

    บุรพกรรมในสมัยพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ครั้งที่ท่านเกิดในสมัยของพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ครั้งนั้นท่านถวายประทีป แก่พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เข้าฌานอยู่ที่ควงไม้ พระองค์ทรงรับแล้วห้อยไว้ที่ต้นไม้ ท่านได้ถวายไส้ตะเกียงน้ำมันพันหนึ่ง แด่พระพุทธองค์ด้วย ประทีปนั้นลุกโพลงอยู่ ๗ วันแล้วดับไปเอง อานิสงส์ครั้งนั้นท่านได้กล่าวว่า จะนับจะประมาณมิได้ อาทิเช่น

    เมื่อท่านเกิดเป็นเทวดา วิมานของท่านก็มีรัศมีรุ่งโรจน์ สว่างไสว ท่านได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์อยู่ ๒๘ ชาติ ท่านมีจักษุอันเป็นทิพย์สามารถมองเห็นได้ไกลหนึ่งโยชน์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านมีรัศมีกายแผ่ออกไปจากร่างประมาณโยชน์หนึ่ง ท่านได้เกิดเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป

    บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ครั้นสมัยในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเกิดในเรือนคฤหบดีใกล้กรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน มหาชนได้สร้างพระเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์สำเร็จแล้ว ท่านก็ให้สร้างภาชนะสำริดจำนวนมาก บรรจุเนยใสจนเต็ม แล้ววางไส้ตะเกียงห่างกัน ๑ องคุลี ในภาชนะดังกล่าววางล้อมพระเจดีย์ให้เรียงชิดกันแล้วจุดไฟขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา แล้วให้สร้างภาชนะสำริดที่ใหญ่กว่าใส่เนยใสเต็ม จุดไส้ตะเกียงพันดวงรอบ ๆ ขอบปากภาชนะสำริดนั้น แล้วให้จุดไฟขึ้น ท่านเทินภาชนะสำริดไว้บนศีรษะ เดินประทักษิณเวียนบูชาเจดีย์ระยะทางโดยรอบประมาณ ๑ โยชน์ ตลอดคืนจนถึงเช้ารุ่ง เขาแต่กรรมดีจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลก

    ถวายภัตแด่พระอุปริฎฐะปัจเจกพุทธเจ้า

    ขอจงอย่าได้ยินคำว่า ‘ ไม่มี ’

    ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น เขาถือปฏิสนธิในนครพาราณสีนั้นอีก ในเรือนของตระกูลยาจกเข็ญใจ เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ เป็นคนหาบหญ้า อาศัยอยู่กับสุมนเศรษฐี ผู้ซึ่งให้มหาทานที่ประตูบ้านแก่คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพกและยกจก ทุกวัน ๆ

    วันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าอุปริฎฐะเข้านิโรธสมบัติ ที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว พิจารณาว่า วันนี้ ควรจะทำการอนุเคราะห์ใคร ธรรมดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้อนุเคราะห์คนเข็ญใจ ท่านจึงคิดว่าวันนี้เราควรทำการอนุเคราะห์นายอันนภาระ ท่านทราบว่า นายอันนภาระจะออกจากป่ากลับมายังบ้านตน ท่านจึงเหาะจากภูเขาคันธมาทน์ มายืนอยู่ที่หน้านายอันนภาระที่ประตูบ้านนั่นเอง

    นายอันนภาระเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงถือบาตรเปล่าจึงนิมนต์ว่าโปรดรออยู่ที่นี้ก่อนเถิดขอรับ แล้วรีบไปถามภรรยาว่า อาหารที่ท่านเตรียมไว้สำหรับเรามีหรือไม่ นางตอบว่า มี เขาจึงไปรับบาตรจากพระปัจเจกพุทธเจ้ามา แล้วกล่าวว่า ด้วยเหตุที่เราไม่ได้ทำกรรมที่ดีไว้ในชาติก่อน เราก็ต้องเป็นลูกจ้างเขาอยู่เช่นนี้ ครั้นเมื่อเราปรารถนาจะทำบุญ แต่ก็ขาดของที่จะทำบุญ ครั้นเมื่อมีของที่จะทำบุญก็หาพระผู้สมควรรับไทยธรรมนั้นไม่ได้ มาวันนี้เราพบพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าเข้าพอดี และของที่จะทำบุญก็มีอยู่ ท่านจงใส่อาหารที่เป็นส่วนของฉันลงในบาตรนี้ หญิงผู้เป็นภรรยาก็คิดว่า เมื่อใดสามีของเราให้อาหารซึ่งเป็นส่วนของเขา เมื่อนั้นเราก็ควรมีส่วนในทานนี้เช่นกัน คิดดังนั้นแล้วจึงวางอาหารที่เป็นส่วนของตนลงในบาตรถวายแก่อุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าด้วย นายอันนภาระนำบาตรอันบรรจุภัตตาหารมาถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ขอให้พวกข้าพเจ้าพ้นจากความอยู่อย่างลำบากเช่นนี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับคำว่า ‘ ไม่มี ’

    พระปัจเจกพุทธเจ้า อนุโมทนาว่า จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด เขาจึงปูลาดผ้าห่มของตนลง แล้วนิมนต์พระปัจจเจกพุทธเจ้าเพื่อทรงฉันภัตตาหาร พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงนั่ง ณ อาสนะนั้นแล้ว ทรงพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา แล้วจึงทรงฉัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว นายอันนภาระจึงถวายน้ำสำหรับล้างบาตร ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาว่าสิ่งที่ท่านต้องการแล้ว ปรารถนาแล้วจงสำเร็จทันที

    เทวดาที่สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐีเห็นดังนั้นจึงกล่าวสาธุการขึ้น ๓ ครั้ง สุมนเศรษฐีได้ยินเทพยดาประจำฉัตรกล่าวอนุโมทนา จึงคิดว่า เราให้ทานตลอดเวลามากตั้งเท่าไหร่ ก็ยังไม่อาจทำให้เทวดาให้สาธุการ นายอันนภาระที่อาศัยเราอยู่นี้ ถวายบิณฑบาตเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็ทำให้เทวดาให้สาธุการได้ เนื่องเพราะเขาได้ทำบุญกับบุคคลผู้ที่สมควรเป็นปฏิคาหก เราพึงให้ทรัพย์แก่นายอันนภาระนั้น แล้วทำให้บุญนั้นเป็นของของเราจึงจะดี

    คิดดังนั้นแล้วจึงเรียกนายอันนภาระมาแล้วถามว่าวันนี้เจ้าให้ทานอะไร ๆ แก่ใครหรือ นายอันนภาระตอบว่า ข้าพเจ้าถวายภัตตาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฎฐะเศรษฐีกล่าวว่า เจ้าจงรับกหาปณะไปแล้วให้บุญนั้นแก่เราเถอะ นายอันนภาระตอบว่าให้ไม่ได้หรอกนายท่าน เศรษฐีเพิ่มทรัพย์ขึ้นจนถึงพันกหาปณะ นายอันนภาระก็ยังกล่าวว่า แม้ถึงพันกหาปณะก็ยังให้ไม่ได้ เศรษฐีกล่าวอ้อนวอนขอให้ส่วนบุญแก่ฉันเถอะ นายอันภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าส่วนบุญนั้น ควรให้หรือไม่ควรให้ แต่ข้าพเจ้าจะถามพระปัจเจกพุทธเจ้าดู ถ้าควรให้ก็จะให้ ถ้าไม่ควรให้ก็จะไม่ให้

    แล้วนายอันนภาระจึงเดินไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า สุมนเศรษฐีให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้าพันหนึ่ง แล้วขอส่วนบุญในบิณฑบาตที่ถวายแก่ท่าน ข้าพเจ้าควรจะให้หรือไม่ให้ พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เราจะเปรียบให้ท่านฟัง ในบ้านตำบลนี้มีร้อยเรือน เราจุดประทีปไว้ในเรือนหลังหนึ่งเท่านั้น เรือนอื่นเอาตะเกียงของตนมาต่อไฟถือไป แสงของประทีปดวงเดิมยังมีอยู่หรือไม่นายอันนภาระกล่าวว่า แสงประทีปก็จะสว่างขึ้นไปอีก พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่าฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่คนอื่น พันคนหรือแสนคนก็ตาม ให้แก่คนเท่าใด บุญก็เพิ่มขึ้นแก่ตนเท่านั้น ดังนี้

    นายอันนภาระกราบพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกลับไปยังสำนักของสุมนเศรษฐีกล่าวว่า ขอท่านจงรับส่วนบุญในบิณฑบาตทานเถิด เศรษฐีกล่าวว่า เชิญท่านรับทรัพย์พันกหาปณะไปเถิด นายอันนภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ขายบิณฑบาตทาน แต่ข้าพเจ้าให้ส่วนบุญแก่ท่านด้วยศรัทธา เศรษฐีกล่าวว่า ท่านให้ส่วนบุญแก่เราด้วยศรัทธา แต่เราบูชาคุณของท่าน ฉันให้พันกหาปณะนี้ จงรับไปเถิด นายอันนภาระจึงถือเอาทรัพย์พันกหาปณะไป เศรษฐีกล่าวว่า ตั้งแต่นี้ไปท่านไม่ต้องงานให้เหน็ดเหนื่อย ท่านจงปลูกเรือนอยู่ใกล้ถนนเถิด ถ้าท่านต้องการสิ่งใดฉันจะมอบสิ่งนั้นให้ ท่านจงมานำเอาไปเถอะ

    ปกติแล้วบิณฑบาตที่บุคคลใดถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ บุคคลนั้นย่อมได้รับผลบุญในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นสุมนเศรษฐีในครั้งก่อนที่ไปเฝ้าพระราชา ก็ไม่เคยชวนนายอันนภาระไปด้วย แต่ในวันนั้นได้ชวนนายอันนภาระไปด้วย ในวันนั้นพระราชาไม่มองดูเศรษฐีเลย ทรงมองแต่นายอันนภาระเท่านั้น เศรษฐีจึงทูลถามว่า เหตุไฉนพระองค์จึงทรงมองดูแต่บุรุษผู้นี้ พระราชาตรัสว่า เรามองดูเขาเพราะไม่เคยเห็นเขาเข้าเฝ้าในวันอื่น ๆ เขาชื่ออะไร เศรษฐีทูลว่า ชื่อนายอันนภาระ แล้วเศรษฐีก็ได้เล่าเรื่องที่เขาไม่บริโภคอาหารของตน แต่ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฎฐะ แล้วเขาได้แบ่งส่วนบุญให้ เขาได้ทรัพย์พันกหาปณะจากตนเพื่อบูชาบุญนั้น พระราชาตรัสว่า เขาก็ควรจะได้จากเราบ้าง เราเองก็ควรทำการบูชาบุญนั้น แล้วจึงพระราชทานทรัพย์พันกหาปณะให้นายอันนภาระ แล้วตรัสสั่งให้พนักงานสำรวจดูบริเวณที่จะปลูกเรือนที่นายอันนภาระจะอยู่

    เมื่อพนักงานกำลังจัดแจงแผ้วถางที่สำหรับเรือนนั้นก็ได้พบขุมทรัพย์ชื่อปิงคละ ในที่นั้นตั้งเรียงกัน จึงมากราบทูลพระราชา ๆ สั่งให้ไปขุดขึ้นมา เมื่อพนักงานเหล่านั้นกำลังขุดอยู่ ขุมทรัพย์ก็กลับจมลงไป พนักงานเหล่านั้นไปกราบทูลพระราชาอีก พระราชาตรัสว่า ทรัพย์นั้นเป็นของนายอันนภาระ จงไปขุดเพื่อนายอันนภาระ พนักงานก็ไปขุดตามคำสั่ง ขุมทรัพย์ก็ผุดขึ้น พนักงานเหล่านั้นขนทรัพย์มากองไว้ในพระราชวัง พระราชาประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสถามว่า ในเมืองนี้ใครมีทรัพย์มีถึงเท่านี้บ้าง อำมาตย์ทูลว่า ไม่มีใครมี พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นายอันนภาระนี้จงชื่อว่า ธนเศรษฐีในพระนครนี้ เขาได้ฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐีในวันนั้นนั่นเอง

    กำเนิดเป็นเจ้าอนุรุทธศากยะในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ตั้งแต่วันนั้น เขากระทำแต่กรรมอันดีงามจนตลอดชีวิตจุติจากภพนั้นไปเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์เป็นเวลานาน ครั้งที่พระศาสดาของพวกเราทรงอุบัติ เขาก็มาถือปฏิสนธิเป็น เจ้าอนุรุทธ พระโอรสแห่งเจ้าอมิโตทนะศากยะ ผู้เป็นพระอนุชาแห่งพระพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนศากยะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้าอนุรุทธเป็นน้องชายของเจ้ามหานามะศากยะ ท่านทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็นผู้มีบุญมาก ทรงมีโภคะสมบูรณ์ ไม่เคยทรงสดับคำว่า “ไม่มี ” มีเรื่องเล่าว่า

    ทรงโปรดขนมชื่อว่า “ไม่มี”

    วันหนึ่งเมื่อท่านพร้อมกับพระญาติ ๕ พระองค์ทรงเล่นกีฬาลูกขลุบอยู่ เจ้าอนุรุทธทรงแพ้พนันขนมแล้ว จึงให้มหาดเล็กไปกราบทูลพระมารดาเพื่อให้ส่งขนมมาเป็นค่าที่แพ้พนัน พระมารดาของท่านก็ทรงจัดขนมส่งไป ศากยราชทั้งหกเสวยแล้วทรงเล่นกันอีก เจ้าอนุรุทธก็เป็นฝ่ายแพ้ร่ำไป ส่วนพระมารดาต้องส่งขนมไปถึง ๓ ครั้ง ในวาระที่ ๔ จึงทรงให้ไปแจ้งว่า “ขนมไม่มี” พระกุมารทรงคิดว่า “ขนมชื่อนี้ คงเป็นขนมประหลาดชนิดหนึ่ง ” เพราะไม่เคยทรงได้ยินคำว่า “ไม่มี ” จึงส่งคนไปทูลพระมารดาว่า “ให้นำขนมไม่มี นั่นแหละมาเถิด”

    ฝ่ายพระมารดาของท่าน เมื่อมหาดเล็กทูลว่า “เจ้าอนุรุทธขอให้ทรงประทานขนมชื่อ ‘ไม่มี’ ไปถวาย” จึงทรงพระดำริว่า “ลูกของเราไม่เคยได้ยินคำว่า ‘ ไม่มี ’ เราจะสอนลูกเราให้รู้คำนั้นด้วยอุบายนี้” จึงทรงปิดถาดทองคำเปล่าด้วยถาดทองคำอีกใบหนึ่งแล้วส่งไป

    ด้วยผลแห่งอธิษฐานในคราวที่เจ้าอนุรุทธศากยะเกิดเป็นนายอันนภาระ ได้ถวายภัตตาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ และทำความปรารถนาไว้ว่า ‘ ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับคำว่า ‘ ไม่มี ’ จึงทำให้ถาดนั้นให้เต็มด้วยขนมทิพย์ เมื่อถาดนั้นพอเขาวางลงที่สนามเล่นขลุบแล้วเปิดขึ้น กลิ่นขนมก็ตั้งตลบไปทั่วทั้งพระนคร พอกษัตริย์ทั้งหกหยิบชิ้นขนมเข้าไปในพระโอฐเท่านั้น โอชะก็แผ่ซ่านไปทั่วประสาทรับรสทั้งเจ็ดพัน

    พระกุมารนั้นทรงพระดำริว่า “พระมารดาคงจะไม่รักเรา, พระมารดาจึงไม่ทรงปรุงขนมชื่อไม่มีนี้ประทานเรามาก่อน, ตั้งแต่นี้ไป เราจะไม่กินขนมอื่น” แล้วเสด็จไปสู่ตำหนัก ทูลถามพระมารดาว่า “เจ้าแม่ หม่อมฉันเป็นที่รักของเจ้าแม่หรือไม่เป็นที่รัก ?”

    เจ้าย่อมเป็นที่รักยิ่งของแม่ เสมือนนัยน์ตาของคนมีตาข้างเดียว และเหมือนดวงใจของแม่ ฉะนั้น

    เมื่อเช่นนั้น เหตุไร เจ้าแม่จึงไม่เคยทรงปรุงขนมไม่มี ประทานแก่หม่อมฉันเล่า เจ้าแม่

    พระนางรับสั่งถามมหาดเล็กคนสนิทว่า “ขนมอะไร ๆ มีอยู่ในถาดหรือ”

    มหาดเล็กทูลว่า “ มีขนมเกิดขึ้นเองอยู่เต็มถาด, ขนมเช่นนี้ กระหม่อมฉันก็ยังไม่เคยเห็น”

    พระนางทรงพระดำริว่า “บุตรของเราคงเป็นผู้มีบุญ บุญนั้นคงทำให้มีขนมเต็มถาด”

    พระโอรสจึงทูลพระมารดาว่า “เจ้าแม่ ตั้งแต่นี้ไป หม่อมฉันจะไม่เสวยขนมอื่น ขอเจ้าแม่พึงปรุงแต่งขนมไม่มีอย่างเดียว”

    ตั้งแต่นั้นมา เมื่อพระกุมารทูลขอขนม พระนางก็ทรงครอบถาดเปล่านั่นด้วยถาดอื่น ส่งไปประทานพระกุมารนั้น ขนมทิพย์ก็เกิดขึ้นถวายพระกุมารนั้นตลอดเวลาที่ท่านเป็นฆราวาส

    เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

    ก่อนที่ท่านจะเกิดมาในสมัยพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์อยู่หลายชาติ ดังที่ปรากฎในชาดกต่าง ๆ เช่น

    เกิดเป็นปัญจสิขเทพบุตร พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นท้าววาสวะ ใน สุธาโภชนชาดก

    เกิดเป็นท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต ใน จตุโปสถชาดก

    เกิดเป็น ๗ พี่น้อง ร่วมกับพระพุทธองค์ ใน ภิสชาดก

    เกิดเป็น ปัพพตดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ใน สรภังคชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระราชา ใน มณิโจรชาดก

    เกิดเป็น ปัญจาลจันทกุมาร พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น มโหสถบัณฑิต ใน มโหสถบัณฑิตชาดก

    เกิดเป็น นายสารถี พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน กุรุธรรมชาดก

    เกิดเป็น ปัพพตดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบส ใน อินทริยชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น อกิตติบัณฑิต ใน อกิตติชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้าสีวิราช ใน สีวิราชชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระจันทกุมาร ใน จันทกุมารชาดก

    พระบรมศาสดาทรงอุบัติ

    ส่วนพระโพธิสัตว์ของเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต มาถือปฏิสนธิในครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงเจริญวัยโดยลำดับ ทรงครองเรือนอยู่ ๒๙ ปี แล้วทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรงยับยั้งที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ ประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ครั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนทรงสดับข่าวว่าพระบรมศาสดามายังกรุงราชคฤห์ จึงทรงรับสั่งให้อำมาตย์กาฬุทายี ไปนิมนต์พระบรมศาสดา อำมาตย์กาฬุทายีก็ได้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา แล้วพระกาฬุทายีเถระทูลวิงวอนให้เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดายัง ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ในครั้งนั้นทรงทำพระธรรมเทศนาอันวิจิตรแก่พระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ เมื่อทรงอนุเคราะห์พระญาติแล้ว ทรงให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ไม่นานนัก ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปจาริกในมัลลรัฐแล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวัน

    ขัติยศากยกุมารออกบวชตามเสด็จ

    สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงประชุมศากยะสกุลทั้งหลาย ตรัสให้แต่ละตระกูลในศากยราชวงศ์ส่งขัตติยกุมารออกบวชตามเสด็จ ในครั้งนั้นเล่ากันว่า ขัตติยกุมารถึงพันองค์จึงออกผนวชโดยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อขัตติยกุมารโดยมากเหล่านั้นผนวชแล้ว เหล่าพระญาติเห็นศากยะ ๖ พระองค์นี้ คือ ภัททิยราชา อนุรุทธ อานันทะ ภคุ กิมพิละ เทวทัต ยังมิได้ผนวชจึงสนทนากันว่า

    “พวกเรายังให้ลูก ๆ ของตนบวชได้ ศากยะทั้ง ๖ นี้ มิใช่พระญาติหรือจึงมิได้ทรงผนวช”

    เมื่อเป็นดังนั้นเจ้ามหานามศากยะจึงเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศากยะผู้เป็นน้อง และกล่าวว่า บัดนี้ ศากยะกุมารที่มีชื่อเสียงเป็นอันมากได้ออกผนวชตามเสด็จ แต่ผู้ออกบวชจากตระกูลของเรายังไม่มี น้องจักบวช หรือว่า พี่จักบวช”

    พระอนุรุทธราชกุมารจึงทูลถามว่า “การบวชนี้เป็นอย่างไร ? ”

    เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “ผู้บวช ก็ต้องโกนผมและหนวด ต้องนุ่งห่มผ้ากาสายะ ต้องนอนบนเครื่องลาดด้วยไม้ หรือบนเตียงที่ถักด้วยหวาย เที่ยวบิณฑบาตอยู่ นี้ชื่อว่าการบวช”

    เจ้าอนุรุทธศากยะจึงทูลว่า “เจ้าพี่ หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ หม่อมฉันจักไม่สามารถบวชได้”

    เจ้าอนุรุทธกุมารนั้น ทรงเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาล มีโภคะสมบูรณ์ แม้คำว่า“ไม่มี ” ก็ไม่เคยได้ยิน จึงไม่ยินดีในการบวช

    เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “อย่างนั้น ท่านจงเรียนรู้การงานสำหรับอยู่เป็นฆราวาสเถิด ในระหว่างเราทั้งสองจะไม่บวชเลยสักคนก็เป็นเรื่องไม่ควร”

    อนุรุทธกุมารผู้ซึ่งไม่รู้แม้กระทั่งว่าอาหารที่ตนบริโภคนั้นเกิดขึ้นที่ไหน ได้มาอย่างไร จะรู้จักการงานได้อย่างไร ?

    เจ้าศากยะทั้ง ๓ สนทนากันถึงที่เกิดแห่งข้าว

    ก็วันหนึ่ง ยุวกษัตริย์ ๓ องค์ คือ เจ้ากิมพิละ เจ้าอนุรุทธ และเจ้าภัททิยะ ทรงสนทนากันด้วยเรื่องว่า “ ข้าวที่เราบริโภคเกิดขึ้นที่ไหน ?”

    กิมพิลกุมาร รับสั่งว่า “เกิดขึ้นในฉาง”

    ครั้งนั้นภัททิยกุมาร ตรัสค้านกิมพิลกุมารนั้นว่า “ท่านยังไม่ทราบที่เกิดแห่งข้าว ชื่อว่าข้าว ย่อมเกิดขึ้นที่หม้อข้าว”

    เจ้าอนุรุทธตรัสแย้งว่า “ ถึงท่านทั้งสองก็ยังไม่ทรงทราบ ธรรมดาข้าว ย่อมเกิดขึ้นในถาดทองคำประมาณศอกกำ”

    ได้ยินว่า บรรดากษัตริย์ ๓ องค์นั้น วันหนึ่ง กิมพิลกุมาร ทรงเห็นเขาขนข้าวเปลือกลงจากฉาง ก็เข้าพระทัยว่าข้าวเปลือกเหล่านี้เกิดขึ้นในฉางนั่นเอง

    ฝ่ายพระภัททิยกุมาร ทรงเห็นเขาคดข้าวออกจากหม้อข้าวก็เข้าพระทัยว่า ข้าวเกิดขึ้นในหม้อข้าวนั่นเอง

    ส่วนอนุรุทธกุมาร ยังไม่เคยทรงเห็นคนซ้อมข้าว คนหุงข้าว หรือคนคดข้าว ทรงเห็นแต่ข้าวที่เขาคดแล้วตั้งไว้ เฉพาะพระพักตร์เท่านั้น ท่านจึงทรงเข้าพระทัยว่า “ภัตเกิดในถาด ในเวลาที่ต้องการบริโภค”

    ยุวกษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์นั้น ย่อมไม่ทรงทราบแม้ที่เกิดแห่งข้าวตามเรื่องที่เล่ามาข้างต้น เพราะฉะนั้น อนุรุทธกุมารนี้จึงทูลถามว่า “การทำงานนี้เป็นอย่างไร ?

    เจ้ามหานามศากยะ จึงสอนเรื่องการครองเรือนแก่อนุรุทธกุมารผู้น้องว่า ผู้อยู่ครองเรือน ชั้นต้นต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้หว่าน ให้ไขน้ำเข้า ครั้นไขน้ำเข้ามากเกินไป ต้องให้ระบายน้ำออก ครั้นให้ระบายน้ำออกแล้ว ต้องให้ถอนหญ้า ครั้นแล้วต้องให้เกี่ยว ให้ขน ให้ตั้งลอม ให้นวด ให้สงฟางออก ให้ฝัดข้าวลีบออก ให้โปรยละออง ให้ขนขึ้นฉาง ครั้นถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้อีก เป็นอย่างนี้ทุกปี

    ครั้นอนุรุทธกุมารได้ทรงฟังกิจการที่ฆราวาสจะพึงทำเป็นประจำทุกปีเช่นนั้น ทรงมองไม่เห็นว่า การงานสำหรับเพศฆราวาสทั้งหลายจะมีที่สิ้นสุดเมื่อไร จึงทูลให้เจ้ามหานามทรงครองฆราวาส ส่วนตนเองจะเป็นผู้ออกบวช

    เจ้าอนุรุทธศากยะขออนุญาตจากพระราชมารดา

    เจ้าอนุรุทธศากยะจึงเข้าไปหาพระราชมารดา แล้วกล่าวขออนุญาตที่จะออกบวช พระราชมารดาไม่ทรงยินยอม ท่านได้กล่าวอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระราชมารดาของอนุรุทธศากยะทรงคิดว่า พระเจ้าภัททิยศากยะ ผู้ทรงเป็นพระสหายสนิทของอนุรุทธศากยะนี้ ทรงครองราชสมบัติเป็นราชาของพวกศากยะ พระองค์คงจะไม่อาจสละราชสมบัติออกทรงผนวชเป็นแน่ จึงได้กล่าวกะอนุรุทธศากยะว่า ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะทรงผนวช เจ้าก็ออกบวชได้

    ลำดับนั้น อนุรุทธศากยะจึงเสด็จไปเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยศากยะ แล้วได้ทูลว่า การบวชของเรานั้นขึ้นอยู่กับตัวท่าน

    พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า ไม่ว่าการบวชของท่านจะขึ้นอยู่กับตัวเราหรือไม่ก็ตาม ท่านจงบวชตามสบายเถิด

    อนุรุทธศากยะได้ยินดังนั้นจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเราทั้งสองจะออกบวชด้วยกัน

    พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า เราไม่สามารถออกบวชได้ ถ้ามีสิ่งอื่นใดที่เราสามารถจะทำให้ท่านได้ เราจะทำสิ่งนั้นให้แก่ท่าน ท่านจงบวชเองเถิด

    อนุรุทธศากยะตรัสว่า ก็พระมารดาได้ตั้งเงื่อนไขกับเราว่า ถ้าท่านบวชด้วย พระมารดาก็จะยอมให้เราบวช ก็ท่านพูดเมื่อครู่นี้ว่า เราจงบวชตามความสบาย ดังนั้นเมื่อท่านยอมให้เราบวช ท่านก็ต้องบวชด้วย

    ในสมัยนั้น คนทั้งหลายเป็นผู้มีความสัตย์ ดังนั้นพระเจ้าภัททิยศากยะได้ต่อรองว่า จงรออยู่สัก ๗ ปีเถิด เมื่อครบ ๗ ปีแล้ว เราทั้งสองจึงจะออกบวชด้วยกัน ฝ่ายเจ้าอนุรุทธก็ไม่ยินยอม การต่อรองได้ดำเนินไปโดยลดระยะเวลาลงเรื่อย ๆ จนถึง ๗ วัน เจ้าอนุรุทธจึงยินยอม

    อุบาลีออกบวชพร้อมด้วยศากยะทั้งหก

    แต่นั้น กษัตริย์ทั้งหกองค์นี้ คือ ภัททิยศากยราช อนุรุทธ อานนท์ กคุ กิมพิละ และเทวทัต พร้อมกับนายภูษามาลา ชื่อ อุบาลี ได้เสด็จออกจากเมืองโดยทำเสมือนหนึ่งว่าจะเสด็จไปประพาสอุทยาน เมื่อออกนอกแดนที่เหล่าศากยะทั้ง ๖ ปกครองแล้ว ก็ทรงส่งทหารมหาดเล็กให้กลับพระนคร แล้วเสด็จต่อไปเข้าสู่แดนของศากยะราชพระองค์อื่น กษัตริย์ ๖ พระองค์ก็ทรงเปลื้องอาภรณ์ของตนออกทำเป็นห่อ แล้วรับสั่งให้นายอุบาลีกลับไปพร้อมกับนำเครื่องประดับเหล่านั้นไปเพื่อเลี้ยงชีพ ฝ่ายอุบาลีภูษามาลาไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับ โดยคิดว่า

    “พวกเจ้าศากยะราชโหดร้ายนัก ถ้าเรากลับไปพร้อมเครื่องประดับเช่นนี้ เจ้าศากยราชเหล่านั้นก็จะฆ่าเราเสีย ด้วยเข้าพระทัยว่า พระกุมารทั้งหลายถูกเจ้าคนนี้ปลงพระชนม์เสียแล้ว แล้วก็คิดต่อไปว่า ศากยกุมารเหล่านี้ทรงสละสมบัติ ทิ้งอาภรณ์อันหาค่ามิได้เหล่านี้ราวกับถ่มน้ำลายทิ้ง เพื่อออกผนวช ก็ทำไมเราจึงจะทำเช่นนั้นบ้างไม่ได้เล่า ? ”

    ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงแก้ห่อเครื่องประดับนั้น เอาอาภรณ์เหล่านั้นแขวนไว้บนต้นไม้แล้ว กล่าวว่า “ ใครต้องการก็จงเอาไปเถิด ” แล้วหันกลับเดินไปสู่สำนักของศากยกุมารเหล่านั้น ศากยกุมารเหล่านั้นเห็น อุบาลีภูษามาลากลับมาจึงตรัสถามถึงเหตุที่กลับมา นายภูษามาลาก็กราบทูลให้ทรงทราบ

    ศากยะทั้งหกบรรลุคุณพิเศษ

    ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทรงพาอุบาลีภูษามาลา ไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า

    “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง”

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ

    ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอนุรุทธเป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ แต่ยังไม่บรลุพระอรหัตผล ท่านพระอานนท์ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน

    พระเถระบวชแล้ว เป็นผู้ได้สมาบัติในภายในพรรษาก่อนเพื่อน ได้ทิพยจักษุฌาน ต่อมาท่านได้เกิดความไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จึงไปยังสำนักของพระสารีบุตรเถระ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

    ท่านพระสารีบุตร (๑) ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ (๒) ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา (๓) เหตุใดเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า

    (๑) เราตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้ เป็นเพราะ มานะ ของท่านยังมีอยู่

    (๒) การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาดังนี้ เป็นเพราะ อุทธัจจะ ของท่านยังมีอยู่

    (๓) ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่าจิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็เป็นเพราะ กุกกุจจะ ของท่านยังมีอยู่

    ท่านจงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓ อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุครั้งนั้นแล

    พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่านด้วยประการเช่นนี้ ท่านรับกรรมฐานแล้ว ไปทูลลาพระศาสดาแล้วเดินทางไปบำเพ็ญสมณธรรม ณ ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจติยะ ยับยั้งอยู่ด้วยการจงกรมเป็นเวลาครึ่งเดือน ท่านลำบากกาย เพราะกรากกรำด้วยกำลังความเพียร นั่งอยู่ภายใต้พุ่มไม่พุ่มหนึ่ง แล้วก็ตรึกแล้วถึงมหาปริวิตก ๗ ประการ คือ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ

    ในครั้งนั้น ท่านได้มีความปริวิตกว่า มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ เป็นเช่นไรหนอ พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธแล้ว เสด็จจาก เภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แล้วทรงตรัสให้พระอนุรุทธเถระตรึกใน มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ที่ว่า

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า

    แล้วตรัสมหาอริยวงสปฏิปทา ประดับไปด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และมีภาวนาเป็นที่มายินดี และทรงตรัสให้พระอนุรุทธเถระอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นี้ต่อไปอีก แล้วเสด็จเหาะไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวันแขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ท่านพระอนุรุทธอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นครนั้นต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

    ต่อมาภายหลัง พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า อนุรุทธเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีทิพยจักขุ

    พระอนุรุทธเถระกับการบัญญัติสิกขาบทบางข้อ

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธเดินทางไปพระนครสาวัตถี ในโกศลชนบท ได้ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ณ เวลาเย็น ในสมัยนั้น ในหมู่บ้านนั้นมีสตรีผู้หนึ่งชื่อ นางคันธคันธินี จัดเรือนพักสำหรับอาคันตุกะไว้ เป็นสถานที่อันนางจัดสร้างไว้เพราะความเป็นผู้ประสงค์บุญ ท่านพระอนุรุทธฟังคำของพวกชาวบ้านว่า มีเรือนพักกันเขาจัดไว้ ณ ที่นั้น จึงเข้าไปหานางคันธคันธินี แล้วได้ขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่ง นางคันธคันธินีก็นิมนต์ท่านพักแรม

    ต่อมามีพวกคนเดินทางกลุ่มอื่นเข้าไปหานางคันธคันธินี แล้วได้ขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่งเช่นกัน นางจึงกล่าวว่า มีพระสมณะเข้าไปพักแรมอยู่ก่อนแล้ว ถ้าพระสมณะนั้นอนุญาตก็พักแรมได้ คนเดินทางพวกนั้น จึงพากันเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธแล้ว ได้ขอพักแรมคืนในเรือนพักสักคืนหนึ่ง พระเถระก็อนุญาต

    อันที่จริง นางคันธคันธินีนั้นเมื่อได้เห็นพระเถระก็ได้มีจิตปฏิพัทธ์ ดังนั้น นางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวว่า พระคุณเจ้าอาศัยปะปนกับคนพวกนี้จะพักผ่อนไม่สบาย ดิฉันจะจัดเตียงถวายพระคุณเจ้าให้พักข้างใน ท่านพระอนุรุทธรับด้วยดุษณีภาพ

    ครั้นแล้ว นางได้จัดเตียงที่มีอยู่ข้างในถวายท่านพระอนุรุทธ แล้วประดับตกแต่งร่างกายให้หอม เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวเกี้ยวพาราสีพระเถระ ท่านพระอนุรุทธมิได้โต้ตอบ ท่านได้นิ่งเสีย

    นางได้พยายามเกี้ยวพาราสีท่านพระเถระถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ นางได้ขอให้พระเถระรับเอานางเป็นภรรยาและปกครองทรัพย์สมบัติทั้งหมด

    แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธก็ได้นิ่งเสีย

    นางเห็นดังนั้น นางจึงได้เปลื้องผ้าออกแล้ว เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เบื้องหน้าท่านพระอนุรุทธ ฝ่ายท่านพระอนุรุทธ สำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่ปราศรัยกับนาง

    นางเห็นพระเถระสำรวมกาย วาจา ใจ ได้เช่นนั้นจึงอุทานว่า น่าอัศจรรย์นัก คนเป็นอันมากยอมให้ทรัพย์เรา ๑๐๐ กษาปณ์บ้าง ๑๐๐๐ กษาปณ์บ้าง ส่วนพระสมณะรูปนี้ เราวิงวอนด้วยตนเองยังไม่ปรารถนาจะรับปกครองเราและสมบัติทั้งหมด แล้วจึงนุ่งผ้า ซบศีรษะลงที่เท้าของท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวคำขอขมาต่อท่าน

    ท่านพระอนุรุทธก็ยกโทษให้ ครั้นรุ่งเช้า นางได้ถวายภัตตาหารแด่พระเถระ ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้วจึงแสดงธรรมให้นางฟัง นางจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

    ต่อจากนั้น ท่านพระอนุรุทธเดินทางไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายฟัง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอนุรุทธจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า

    ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอนุรุทธว่า ดูกรอนุรุทธ ข่าวว่า เธอสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม จริงหรือ?

    ท่านพระอนุรุทธทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรอนุรุทธ ไฉนเธอจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

    แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นว่า อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์

    พระอนุรุทธเถระกับนางชาลินีเทพธิดา

    สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธพำนักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ครั้งนั้น นางเทพธิดาในสวรรค์ดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินี ในอดีตเคยเป็นภรรยาเก่าของท่านพระอนุรุทธ นางยังคงมีความเสน่หาอาลัยในพระมหาเถระอยู่ นางเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ตามเวลา ปัดกวาดบริเวณ เข้าไปตั้งน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน น้ำฉันน้ำใช้ให้พระเถระใช้สอยโดยไม่นึก

    ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่าน ให้นึกถึงความสุขอันน่าใคร่ทั้งหลายทั้งปวงบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ท่านเคยอยู่ในกาลก่อน พรั่งพร้อมด้วยหมู่เทวดาแวดล้อมเป็นบริวาร เพื่อให้ท่านได้ตั้งจิตไปเกิดในภูมิเทวดาอีก

    ลำดับนั้น พระเถระได้ให้คำตอบแก่เทพธิดาว่า นางเทพธิดาผู้เขลา ท่านไม่รู้แจ้งถึงคำของพระอรหันต์ว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ ย่อมเป็นสุข บัดนี้ การเกิดในภพใหม่ ไม่ว่าในภูมิใด ๆ ของท่านไม่มีต่อไปอีกแล้ว

    นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้น หมดความหวัง แล้วกลับไปยังวิมาน

    พระพุทธเจ้าและพระสาวกช่วยพระอนุรุทธเถระทำจีวร

    นางชาลินีเทพธิดาถวายผ้าบังสุกุล

    ในวันหนึ่ง พระเถระมีจีวรเก่าแล้ว จึงได้เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้วในที่ทั้งหลายเช่นตามกองขยะเป็นต้น นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๑๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่าถ้าเราจักถวายท่านตรง ๆ ท่านคงไม่รับ จึงซุกผ้าไว้บนกองขยะแห่งหนึ่งให้โผล่มาเพียงชายผ้าเท่านั้น เมื่อพระเถระเห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงดึงชายผ้านั้นออกมาเห็นเป็นผ้าบังสุกุลจึงถือเอา แล้วกลับไป

    หมายเหตุ บางตำรากล่าวว่า วิธีการที่นางเทพธิดาชาลินี นำผ้าไปวางซุกไว้ในกองขยะ ในลักษณะทอดผ้าบังสุกุลนั้น พุทธบริษัทได้ถือเป็นแบบอย่างในการทอดผ้าบังสุกุล และทอดผ้าป่าในปัจจุบันนี้

    พระศาสดาทรงช่วยทำจีวร

    ครั้นในวันทำจีวรของพระเถระนั้น พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร เสด็จไปที่พระวิหารประทับนั่งแล้ว แม้พระอสีติมหาสาวกทั้ง ๘๐ รูปก็นั่งอยู่ด้วย พระมหากัสสปเถระนั่งแล้วตอนต้น เพื่อเย็บจีวร พระสารีบุตรเถระนั่งในท่ามกลาง พระอานนเถระนั่งในท้ายที่สุด ภิกษุสงฆ์กรอด้าย พระศาสดาทรงร้อยด้ายนั้นในรูเข็ม พระมหาโมคคลัลานเถระ เป็นผู้จัดหาวัตถุที่พระสงฆ์ต้องการ แม้เหล่าเทพธิดาประจำบ้านก็เข้าไปสู่ภายในบ้านแล้ว ชักชวนให้เจ้าบ้านมาถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ในครั้งนั้นภัตตาหารอันมีข้าวยาคูของควรเคี้ยว ต่างทั้งหลายมีปริมาณเป็นอันมาก จนภิกษุทั้งหลายฉันไม่หมด เหลือกองอยู่เป็นอันมาก

    พระขีณาสพไม่พูดเกี่ยวกับปัจจัย

    ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า “หมู่ภิกษุมีเพียงเท่านี้ เพราะเหตุใดจึงมีผู้นำภัตตาหารมาถวายมากมายจนเหลือมากมายปานนี้ พระอนุรุธเถระเห็นจะประสงค์ให้เขารู้ว่าญาติและอุปัฏฐากของตนมีมาก”

    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดเรื่องอะไรกัน?”

    เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องที่ตนโจษจันอยู่ พระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าอนุรุทธเป็นผู้ขอให้นำของเหล่านี้มาหรือ?”

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

    พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุรุทธผู้บุตรของเรา ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น แม้ พระขีณาสพทั้งหลาย ก็ย่อมไม่กล่าวเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย บิณฑบาตเหล่านี้ เกิดด้วยอานุภาพของเทวดา”

    พระอนุรุทธเถระบำเพ็ญเพียรโดยถือเอาการไม่นอนเป็นวัตร

    ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าพระเถระนั้น ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ได้เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียว เว้นแต่ช่วงเวลาฉันเท่านั้น บางอาจารย์กล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕๕ ปี เบื้องต้นไม่ได้หลับ ๒๕ ปี ต่อแต่นั้นจึงได้หลับในเวลาปัจฉิมยาม เพราะร่างกายอ่อนเปลี้ย

    บทบาทพระอนุรุทธเถระเมื่อครั้งพุทธปรินิพพาน

    ตามพระบาลีได้กล่าวถึงบทบาทของพระอนุรุทธเถระเมื่อคราวครั้งพุทธปรินิพพานไว้ว่า เมื่อพระบรมศาสดาได้ทรงมีปัจฉิมวาจาแก่เหล่าภิกษุทั้งมวลแล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าฌานสูงขึ้นไปเป็นลำดับ จนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วยเหตุว่าผู้ที่เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้นลมหายใจก็จะหมดไป ทำให้ไม่ทราบว่าทรงปรินิพพานแล้วหรือยัง เมื่อเทพดาและมนุษย์เห็นความไม่เป็นไปของลมอัสสาสปัสสาสะ จึงได้ร้องขึ้นพร้อมกัน ด้วยเข้าใจว่าพระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว ฝ่ายพระอานนทเถระ ถามพระอนุรุทธเถระว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ พระอนุรุทธตอบว่า พระตถาคตยังไม่ปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ การที่พระอนุรุทธเถระทราบดังนั้นก็เป็นด้วยพระเถระท่านเข้าสมาบัตินั้น ๆ พร้อมกับพระศาสดาที่เดียว และเมื่อท่านทราบว่าพระพุทธองค์ทรงเข้านิโรธสมาบัติ จึงทราบว่ายังทรงไม่ปรินิพพาน เพราะเหตุว่า การสิ้นชีวิตภายในนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่มี

    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ และทรงถอยออกจากฌานลงเป็นลำดับจนถึงจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจาจตุตถ
    ฌาน หยั่งลงสู่ภวังคจิต แล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง

    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธ จึงได้แจ้งแก่หมู่พระภิกษุและเหล่ากษัตริย์ทั้งปวงที่เฝ้าอยู่ ว่าพระบรมศาสดาได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาภิกษุทั้งหลาย นั้น ภิกษุเหล่าใดที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตผลก็ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ส่วนภิกษุเหล่าใดที่บรรลุอรหัตผลแล้ว ก็ได้ธรรมสังเวช

    ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธจึงได้เตือนให้ภิกษุทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย พึงรำลึกถึงพระดำรัสของพระพุทธองค์ในเรื่องความไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย และยังบอกด้วยว่า เหล่าเทวดาจะตำหนิเอาว่า ตัวของพระภิกษุทั้งหลายเองก็ยังไม่อาจอดกลั้นความเศร้าโศกได้ และจะปลอบโยนผู้อื่นได้อย่างไร

    จากนั้น ท่านพระอนุรุทธและท่านพระอานนท์ เห็นเป็นเวลาใกล้รุ่งแล้ว ท่านทั้งสองจึงแสดงธรรมีกถาตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่นั้น รุ่งเช้าท่านพระอนุรุทธสั่งท่านพระอานนท์ให้ไปแจ้งแก่เจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว

    นอกจากนั้นในระหว่างเตรียมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่นั้น เมื่อเกิดเหตุผิดปกติเกิดขึ้น พวกเจ้ามัลละกษัตริย์ก็มักจะเรียนถามสาเหตุกับพระเถระ ด้วยว่าพระเถระผู้เดียวปรากฏว่าเป็นผู้มีทิพยจักษุเพราะฉะนั้น แม้จะมีพระเถระองค์อื่น ๆ ที่มีอายุกว่า แต่พวกเจ้ามัลละเหล่านั้น ก็เรียนถามเฉพาะพระเถระ ด้วยเห็นว่า ท่านพระอนุรุทธเถระนี้สามารถตอบได้ชัดเจน เช่นเมื่อมัลลปาโมกข์ ๘ องค์ จะยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคขึ้นเพื่อแห่ไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แต่ก็ยกพระพุทธสรีระไม่ขึ้น จึงได้ถามพระเถระ พระเถระจึงแจ้งว่า

    เหล่าเทวดาประสงค์จะให้เชิญพระพุทธสรีระไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วแห่เข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ที่มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร

    อีกครั้งหนึ่งเมื่อครั้งจะจุดไฟถวายพระเพลิง มัลลปาโมกข์ ๔ องค์ผู้มีหน้าที่ถวายพระเพลิง ก็ลงมือจุดไฟเพื่อถวายพระเพลิง แต่พยายามอย่างไรไฟก็ไม่ติด เหล่ามัลลกษัตริย์จึงเรียนถามพระอนุรุทธเถระ พระเถระจึงตอบว่า เหล่าเทวดาประสงค์จะให้คอยพระมหากัสสปเถระที่กำลังเดินทางมา เพื่อให้พระมหากัสสปเถระกระทำความเคารพพระพุทธสรีระด้วยตนเองเสียก่อน ดังนี้เป็นต้น

    รับมอบหมายให้บริหารคัมภีร์อังคุตตรนิกายเมื่อครั้งปฐมสังคายนา

    หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระก็ดำริที่จะทำสังคายนาพระธรรม จึงได้อาราธนาพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป เพื่อทำปฐมสังคายนาที่ ปากถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์

    ในการสังคายนานั้น มีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย โดย พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย และ พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม

    ในการสังคายนา เหล่าพระสงฆ์มีมติให้สังคายนาสุตตันตปิฎกก่อน โดยเริ่มจาก สังคายนาทีฆนิกาย สังคายนามัชฌิมนิกาย สังคายนาสังยุตตนิกาย สังคายนาอังคุตตรนิกาย ไปตามลำดับ

    ครั้นสังคายนาทีฆนิกายแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระกล่าวว่า นิกายนี้ชื่อทีฆนิกาย แล้วมอบท่านพระอานนท์ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์ทีฆนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนามัชฌิมนิกาย แล้วมอบแก่ศิษย์ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระว่า ท่านทั้งหลายจงบริหารคัมภีร์มัชฌิมนิกายนี้

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนาสังยุตตนิกาย แล้วมอบแก่พระมหากัสสปเถระ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตรนิกาย แล้วมอบแก่พระอนุรุทธเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    พระอนุรุทธเถระปรินิพพาน

    ท่านพระอนุรุทธเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธ์ เข้าสู่นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    7EHTbRHd4qUu35sdsOZz7znQXW_06CLGWk&_nc_ohc=qjROk47K3SkAX9XnsjJ&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk2-5.jpg
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    HDIoyRSzT_9t1y95_B2B8emacamiRcMma&_nc_ohc=zA4gcsnh6TEAX_Af_cK&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกายเอก-ทุก-ติกนิบาต
    เอตทัคคบาลี

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอนุรุทธะเลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีทิพยจักษุฯ"


    ประวัติพระอนุรุทธะ

    (อธิบายพระสูตรนี้จาก อรรถกถาอังุคตรนิกายเอกนิบาต)

    ทรงตรัสว่าพระอนุรุทธเถระ เป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์พึงทราบว่า พระอนุรุทธเถระ นั้นเป็นผู้เลิศ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสั่งสมไว้แล้ว.ได้ยินว่า พระเถระ เว้นแต่ชั่วเวลาฉันเท่านั้น ตลอดเวลาที่เหลือเจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียวอยู่ ดังนั้นพระเถระนี้จึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุเพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมไว้ตลอดวันและคืน.

    อีกอย่างหนึ่งเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุที่เหลือเพราะปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป

    ก็ในเรื่องบุรพกรรมของท่านในข้อนั้นมีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไป

    ความพิสดารว่าครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตรนั่นแลกุลบุตรผู้นี้ได้ไปกับมหาชนผู้ไปยังวิหารเพื่อฟังธรรมภายหลังภัตตาหาร. ก็ครั้งนั้นกุลบุตรผู้นี้ได้เป็นกุฎุมพีผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ปรากฏชื่อคนหนึ่ง.เขาถวายบังคมพระทศพลแล้วยืนอยู่ท้าย บริษัทฟังธรรมกถา.พระศาสดาทรงสืบต่อพระธรรมเทศนาตามอนุสนธิแล้วทรงสถาปนาภิกษุผู้มีทิพยจักษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ.ลำดับนั้น กุฎุมพีได้มีดำริดังนี้ว่า ภิกษุนี้ใหญ่หนอพระศาสดาทรงตั้งไว้ในความเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุเอง ด้วยประการอย่างนี้โอหนอแม้เราก็พึงเป็นยอดของภิกษุผู้มีจักษุทิพย์ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้จะอุบัติในอนาคตดังนี้แล้วเกิดความคิดดังนี้ขึ้น เดินเข้าไประหว่างบริษัททูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระภิกษุแสนหนึ่ง เพื่อเสวยวันวันพรุ่งนี้ในวันรุ่งขึ้นถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข คิดว่าเราปรารถนาตำแหน่งใหญ่ จึงทูลนิมนต์ในวันนี้เพื่อเสวยวันพรุ่งนี้แล้วทำมหาทานให้เป็นไปถึง ๗ วัน โดยทำนองนั้นนั่นแลถวายผ้าอย่างดีเยี่ยมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวารแล้วทำความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าข้าพระองค์ทำสักการะนี้เพื่อประโยชน์แก่ทิพยสมบัติหรือมนุษย์สมบัติก็หามิได้ก็พระองค์ทรงตั้งภิกษุใดไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุใน ๗วันที่แล้วมาจากวันนี้แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็พึงเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุเหมือนภิกษุองค์นั้นในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลดังนี้แล้วหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา.

    พระศาสดาทรงตรวจดูในอนาคตทรงทราบว่าความปรารถนาของเขาสำเร็จ จึงตรัสอย่างนี้ว่าดูก่อนบุรุษผู้เจริญในที่สุดแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักอุบัติขึ้นท่านจักมีชื่อว่าอนุรุทธะเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุในพระศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้านั้นก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้วทรงกระทำภัตตานุโมทนาเสด็จกลับไปพระวิหาร.

    ฝ่ายกุฎุมพีทำกรรมงามไม่ขาดเลย ตราบที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อสร้างเจดีย์ทองประมาณ ๗ โยชน์สำเร็จแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ถามว่าอะไรเป็นบริกรรมของทิพยจักษุขอรับ.ภิกษุสงฆ์บอกว่าควรให้ประทีปนะอุบาสก.อุบาสกกล่าวว่า ดีละขอรับผมจักทำจึงให้สร้างต้นประทีปพันต้นเท่ากับประทีปพันดวงก่อน ถัดจากนั้นสร้างให้ย่อมกว่านั้นถัดจากนั้นสร้างให้ย่อมกว่านั้น รวมความว่าได้สร้างต้นประทีปหลายพันต้น.ส่วนประทีปที่เหลือประมาณไม่ได้เขาทำกัลยาณกรรมอย่างนี้ตลอดชีวิตท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายล่วงไปแสนกัป

    ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเกิดในเรือนกุฎุมพีใกล้กรุงพาราณสีเมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสร้างเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์สำเร็จแล้วให้สร้าง
    ภาชนะสำริดเป็นอันมาก บรรจุเนยใสจนเต็ม ให้วางไส้ตะเกียงเว้นระยะองคุลี๑ ๆ ในท่ามกลาง ให้จุดไฟขึ้นให้ล้อมพระเจดีย์ให้ขอบปากต่อขอบปากจดกันให้สร้างภาชนะสำริดใหญ่กว่าเขาทั้งหมดสำหรับตนใส่เนยใสเต็ม จุดใส้ตะเกียงพันดวงรอบๆ ขอบปากภาชนะสำริดนั้น เอาผ้าเก่าที่เป็นจอมหุ้มไว้ตรงกลาง ให้จุดไฟเทินภาชนะสำริดเดินเวียนเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์ ตลอดคืนยังรุ่ง.

    เขาทำกัลยาณกรรมตลอดชีวิตด้วยอัตตภาพแม้นั้น ด้วยอาการอย่างนี้ แล้วบังเกิดในเทวโลก.

    เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น.เขาถือปฏิสนธิในเรือนของตระกูลเข็ญใจในนครนั้นนั่นแลอีก เป็นคนหาบหญ้า อาศัยสุมนเศรษฐีอยู่ เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ.ฝ่าย สุมนเศรษฐีนั้น ให้มหาทานที่ประตูบ้าน แก่คนกำพร้า คนเดินทางวณิพกและยาจก.ทุกวัน ๆ



    attachment.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...