เรื่องเด่น รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” จัดการน้ำท่วม สร้างสุขให้ชาวไทย

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 11 ตุลาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    13 ตุลาคม 2564 น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง ร.9 วันคล้ายวันสวรรคต “ในหลวงรัชกาลที่ 9” คมชัดลึกออนไลน์ เทิดพระเกียรติ พระอัจฉริยภาพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการน้ำในทุกด้าน ถ้าน้ำขาดแคลนก็ทรงหาวิธีจัดหาน้ำให้ และเมื่อน้ำท่วมก็ทรงบรรเทาให้น้อยลง และทรงหาวิธีป้องกันให้ หรือมีน้ำเน่าเสียก็ทรงจัดการแก้ไขให้ ศาสตร์พระราชาเรื่องการบริหารจัดการน้ำจึงมีหลายสิบทฤษฎี ทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในด้านนี้อย่างแท้จริง

    การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

    ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม ซึ่งมักได้รับพายุฝนติดต่อกันหลายวันในฤดูฝน ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นพื้นที่กว้างใหญ่เป็นประจําเกือบทุกปี ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติ จึงพระราชทานพระราชดําริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดําเนินการแก้ไขป้องกัน หรือช่วยบรรเทาปัญหาจากการที่น้ำไหลบ่าเข้าไปท่วมพื้นที่เกษตรกรรม โดยหาทางกักเก็บน้ำไว้ใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ ดังพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ซึ่งพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ดังนี้

    0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b8abe0b8b2e0b881e0b8a3e0b8b8e0b893e0b8b2e0b898e0b8b4e0b884e0b8b8e0b893-e0b983.jpg

    “…ในปีที่ผ่านมานี้ก็มีภัยพิบัติต่าง ๆ จะยกเฉพาะเรื่องน้ำท่วม ที่ทําความเดือนร้อนในภาคกลาง ในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติ ไม่มีใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติเช่นนั้น แต่เราจะต้องเรียนรู้ เราต้องใช้ภัยธรรมชาตินั้น เป็นครูที่จะสอนเรา และความเสียหายที่เกิดขึ้นในคราวนี้จํานวนเป็นพันล้าน จะต้องช่วยให้ผู้ประสบภัยนั้นทํามาหากินได้ต่อไป ผู้ที่เป็นกสิกร ต้องแจกพันธุ์พืชให้เขาปลูกได้ต่อไป การใช้จ่ายนั้นมากมาย เพราะว่าแม้เพียงการสูบน้ำหรือการทําให้น้ำในคลองไหลคล่องตัวนั้น ก็ต้องใช้งบประมาณมาก ทั้งต้องเสียค่าพันธุ์พืชทดแทนด้วย ทั้งต้องนําน้ำนั้นลงทะเล เมื่อน้ำแห้งแล้วจะปลูกพันธุ์พืชต่าง ๆ ก็ต้องมีน้ำอีก น้ำนี้เอามาจากไหน เพราะว่าทิ้งทะเลไปหมดแล้ว ฉะนั้น ถ้าสามารถจะเก็บกักน้ำที่เททิ้งลงไปในทะเลเอาไว้ได้ เพื่อทําการเพาะปลูกในเวลาฝนหยุดแล้ว ก็จะเป็นการดี เพราะแทนที่จะต้องเดือดร้อนในการที่ไร่นาไม่มีน้ำ ก็สามารถที่จะทําการเพาะปลูกทดแทนที่ได้ปลูกไว้ และเสียหายไป…

    ฉะนั้น ข้อแรกที่ควรพิจารณาคือ หาทางเก็บน้ำไว้เพื่อเพาะปลูกทดแทนส่วนที่เสียไป แต่นอกจากนี้เราควรพิจารณาว่า ถ้าสามารถที่จะเก็บน้ำที่ลงมาท่วม สกัดไว้ ไม่ให้ลงมาท่วม ก็จะบรรเทาการท่วมและลดความเสียหาย ฉะนั้น การหาทางที่จะเก็บน้ำที่ลงมาท่วมเอาไว้ได้ สําหรับให้เป็นน้ำที่ให้คุณ ที่ช่วยให้มีรายได้ ก็จะเป็นการดีเป็นทวีคูณ ที่พูดมานี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ถ้าหากว่าเราทําโครงการได้ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อน จะกลับเป็นวิธีที่จะเพิ่มพูนการผลิตได้ด้วยซ้ำ ฉะนั้น การที่จะทําโครงการที่แยบคาย เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายในการท่วมนั้น และเพิ่มพูนผลิตผลในหน้าแล้ง ก็ได้ผลสองเท่าตัว คือไม่ต้องใช้เงินแก้ไข หรือบรรเทาทุกข์ของประชาชน ซ้ำจะได้ให้ประชาชนทํากินได้ เพิ่มพูนขึ้นไปเกือบสองเท่า ฉะนั้น ถ้าหากว่าสามารถที่จะทําโครงการอะไรในทํานองนี้ ก็จะไม่ใช่เพียงเป็นการประหยัดเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มผลผลิตของประเทศชาติขึ้นไปอีกด้วย อันนี้เป็นตัวอย่าง…”

    การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการสนองพระราชดำริมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ งบประมาณ และความสามารถในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา ดังนี้

    การก่อสร้างคันกั้นน้ำ

    • คันกั้นน้ำส่วนใหญ่สร้างด้วยดินถมบดอัดแน่น สูงพ้นระดับน้ำท่วมสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เป็นวิธีป้องกันน้ำท่วมที่นิยมทํากันมาช้านาน กรมชลประทานได้ก่อสร้างคันกันน้ำเพื่อสนองพระราชดำริ ได้แก่ คันกั้นน้ำของ โครงการมูโนะ และ โครงการปิเหล็ง จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น
    การก่อสร้างทางผันน้ำ
    • เป็นการขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งให้ไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นมาใหม่ ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเล แล้วแต่กรณี
    การปรับปรุงสภาพลำน้ำ
    • เป็นวิธีการปรับปรุงและตกแต่งลำน้ำเพื่อเพิ่มความสามารถของลำน้ำ ในฤดูน้ำหลากให้น้ำไหลได้สะดวกขึ้น ด้วยความเร็วมากขึ้นกว่าเดิม อันเป็นการลดปัญหาความเสียหายจากน้ำท่วม ซึ่งอาจทําโดยการขุดลอกลำน้ำที่ตื้นเขินให้น้ำสามารถไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือชุดทางน้ำใหม่ลัดจากลําน้ำด้านเหนือที่คดโค้งไปบรรจบกับลําน้ำด้านใต้
    การก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ
    • เป็นการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำปิดกั้นลำน้ำธรรมชาติระหว่างหุบเขา หรือเนินสูงที่บริเวณต้นน้ำของลําน้ำสายใหญ่ เพื่อกักเก็บน้ำไว้เหนือเขื่อน ทําให้เกิดแหล่งน้ำขนาดต่าง ๆ เรียกว่า “อ่างเก็บน้ำ” เขื่อนดังกล่าวมีหลายขนาด และสร้างด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อการชลประทาน ซึ่งมักได้ประโยชน์อื่น ๆ ตามมา เช่น การประมง การบรรเทาปัญหาน้ำท่วม การอุปโภคบริโภค โดยที่เขื่อนขนาดใหญ่เหล่านี้มักเป็นเขื่อนอเนกประสงค์
    การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
    • เป็นการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งมีน้ำขังอยู่นานหลายเดือนในแต่ละปีจนไม่สามารถใช้เพาะปลูกได้ การระบายน้ำออกจากที่ลุ่มนี้ จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง และสามารถใช้พื้นที่นั้นให้เกิดประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ ทั้งนี้ จะต้องขุดคลองระบายน้ำออกไปทิ้งในลําน้ำหรือทะเล
    ซึ่งทั้งหมดนี้ ทรงทำด้วยพระราชหฤทัยเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขปวงชนชาวไทย ใต้ร่มพระบารมีของพระองค์ ทำให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยทรงตระหนักว่า “น้ำคือชีวิต” และชีวิตของพสกนิกรชาวไทยต้องมีน้ำกินน้ำใช้อย่างยั่งยืน

    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.komchadluek.net/news/487712
     
  2. nuttawat_chin

    nuttawat_chin เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2013
    โพสต์:
    3,827
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +550
    รักที่สุด เทิดทูลไว้เหนือสุด
    ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
     
  3. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,101
    ธ สถิตย์ในดวงใจ ตราบนิจนิรันดร์
     

แชร์หน้านี้

Loading...