สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    ลอเรน รีด จอห์นสัน อายุ 24 ปี อาศัยอยู่ที่นอร์ธฮอลิวูด แคลิฟอร์เนีย เขาเป็นนักบำบัดด้วยการนวด เป็นครูสอนโยคะ และเป็นนักเรียนการแสดง
    ลอเรนฝึกโยคะซึ่งเรียนมาจากครูชาวอินเดียอยู่ทุกวันเป็นเวลานานถึง 5 ปี เขารู้สึกว่ารีชี่โยคะช่วยให้เขานั่งเจริญภาวนาได้ดี การฝึกโยคะนี้รวมถึงการจำกัดอาหารเหลือแค่ผลไม้และผักเท่านั้น ลอเรนและภรรยามาฮันนีมูนกันในประเทศไทยซึ่งเป็นบ้านเกิดของฝ่ายหญิง แล้วตระเวนไปตามวัดต่างๆ เพื่อหาผู้ที่สอนเจริญภาวนาเป็นภาษาอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้เองได้นำเขามาสู่วัดหลวงพ่อสดฯ เขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับธรรมกายเลย พระภาวนาวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดจึงแนะนำให้เขามาร่วมกิจกรรมแบ่งกลุ่มเจริญภาวนาตอนเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้ท่านรับรู้ถึงความสามารถอันพิเศษของลอเรน ท่านจึงให้รองอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาทำหน้าที่สอนเขาทุกๆ วัน หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ หลวงป๋าก็เริ่มสอนเขาเป็นการส่วนตัว แม้ลอเรนเรียนได้แค่ 2 สัปดาห์ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ได้บันทึกการสัมภาษณ์ลอเรนมีความยาว 15 นาที


    ผู้สัมภาษณ์ของช่อง 9 : สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้พบคุณ. คุณได้เรียนรู้อะไรจากการเจริญภาวนา ?

    ลอเรน: อันดับแรก ผมได้เรียนวิธีการรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกาย. หยุดนิ่งถูกส่วนตรงนั้น ศูนย์กลางขยายออกไปเป็นดวงใสรอบตัว เมื่อใจหยุดกลางของหยุดเรื่อยไปก็หยุดในหยุดกลางของหยุดเรื่อยๆ ไป ได้เข้าถึงกายละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดจนถึงธรรมกาย

    คุณรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายในท้องของคุณ ?

    ผมรู้สึกสงบเยือกเย็นมาก อย่างล้ำลึก และความสุขที่แผ่ขยายออกมา

    เมื่อเจริญภาวนาถึง 18 กาย และถึงธรรมกายนั้น คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ?

    รู้สึกว่าแต่ละกายที่เข้าถึงนั้น [กิเลส]เบาบางลงตามลำดับ เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ซึ่งเป็นกายที่หยาบที่สุดและเป็นกายโลกิยะ ถึงกายมนุษย์ละเอียดต่อๆ ไปจนถึงสุดละเอียดได้ถึงธรรมกาย ซึ่งเป็นกายที่ทึบน้อยที่สุด. มันพ้นจากความรู้สึกยึดถือในความเป็นตัวตนใดๆ ทั้งสิ้น.

    คุณรู้สึกไหมว่า สิ่งที่คุณได้เห็นเป็นของจินตนาการหรือของจริง ?

    ใช้จินตนาการน้อยมาก [อาจใช้ในช่วงแรกๆ ในระดับขณิกสมาธิ]. แต่สิ่งที่เห็นนั้นปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ. ผมเพียงแต่เพ่งไปที่กลางของกลาง แล้ว[ดวงและกายต่างๆ]ก็ปรากฏขึ้นเอง.

    คุณได้เห็นนรก-สวรรค์บ้างไหม

    เห็นครับ

    แล้วคุณเห็นอะไรที่นั่น

    ได้เห็นหลายอย่างครับ. ในนรก, เห็นการลงโทษที่แตกต่างกันหลายระดับมาก. เห็นผู้คน[สัตว์นรก]มากมายกำลังถูกสุนัขกัด มันดุร้ายและเกรี้ยวกราดมาก. พวกเขาพยายามวิ่งหนี - ปีนต้นไม้ที่มีหนามแหลม [ต้นงิ้ว]. ยังถูกสัตว์ที่คล้ายแร้งจิกทึ้งจนพลัดตกลงมาจากต้นงิ้ว แล้วก็ถูกสุนัขก็จะเข้ามาจัดการกับพวกเขา.
    ผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้ เห็นเป็นสีดำมืด. ผมได้มองเข้าไปในจุดศูนย์กลางกายของพวกเขาเพื่อดูว่าทำไมพวกเขาจึงต้องไปอยู่ในนั้น - เป็นเพราะประพฤติผิดในกาม. และผมได้เห็น[ว่าเขาทำ]สิ่งที่น่าละอาย ความผิด และสิ่งที่ชั่วร้ายต่อจิตใจ.
    ผมไปยังอีกระดับหนึ่ง [นรกอีกขุมหนึ่ง] เห็นผู้คน[สัตว์นรก]อยู่ในกระทะ[ทองแดง]ใหญ่ … ใหญ่มาก! ร้อน! มีสิ่งซึ่งดูเหมือนของเหลวร้อนหรือโลหะหลอมเหลว เหมือนตะกั่ว [หมายถึงน้ำทองแดงร้อนจัดที่สัตว์นรกต้องดื่ม]. มันแผดเผา[อวัยวะ]ภายใน. บางคนก็ต้องดื่มของเหลว ที่มีกลิ่นเหม็นมาก แย่มาก [หมายถึงน้ำทองแดงนั้นเอง].
    และผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้อีก ได้เห็นว่า [พวกเขาได้รับวิบากกรรมเช่นนี้ เป็นเพราะ]ดื่มแอลกอฮอล์กันเป็นส่วนมาก. รวมทั้งยาเสพติดอื่นๆ, แต่ส่วนมากเป็นแอลกอฮอล์ [เพราะเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย และโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้].
    และแล้ว, ในนรก, สิ่งที่ร้ายสาหัสที่สุดที่ผมเห็น - ลึกลงไปกว่าระดับ[นรกขุม]ที่ 8 - ลึกกว่านรกของพวกที่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พวกที่พูดโกหกหลอกลวง และพวกที่ขโมย โกง คอร์รัปชั่น ของผู้อื่น - ในนรกขุมนั้น ผมเห็นผู้ที่สอนผู้อื่นผิดๆ พวกเขาเหล่านี้ถูกปิดตาจนมืดมิด. พวกเขาไม่สามารถมองเห็นได้และต่างคนต่างวิ่งเข้าหากันด้วยความสับสนอลหม่าน และทุกข์ทรมานมาก. ร่างกายของพวกเขาถูกเผาไหม้จนดำเหมือนกับถูกลวกด้วยน้ำกรด มีกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ กลิ่นตลบอบอวลมาก.
    ผมได้เจริญภาวนาถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ได้เห็นสวรรค์ซึ่งตรงข้ามกับนรก อย่างสิ้นเชิง. สว่างไสวมาก - สวยงามมาก. ศูนย์กลาง[กาย - ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย]ของเทพดาเหล่านี้ส่องรัศมีสว่างนัก. ในนรก สัตว์นรกมีศูนย์กลาง ดำมืดมัวมาก. ในสวรรค์ ผมเห็นเทพยดาบนสวรรค์มีรัศมีใสสว่างเป็นประกาย ประดุจดังแก้วผลึก. และผมสามารถดูไปที่ศูนย์กลางของเทพดาเหล่านี้ และรู้เห็นว่า ทำไมพวกเขาได้มาอยู่บนสวรรค์ - ก็เนื่องจากสิ่งที่เป็นบุญกุศลทั้งหมด, กรรมดีมากมายที่เขาได้ทำแก่[ตนและ]ผู้อื่น.
    เทวดาบางตนอยู่บนพื้นดิน; บางตนอยู่ในอากาศ และผมเห็นเทวดาอยู่ในต้นไม้ก็มาก.
    แต่, ความแตกต่างสำคัญระหว่างสวรรค์กับนรก ก็คือ สิ่งที่ผมเห็นที่ศูนย์กลางกายของสัตว์นรกและเทพดาเหล่านั้น - ไม่กรรมดีก็กรรมชั่ว อย่างใดอย่างหนึ่ง [สองอย่างนี้เท่านั้น ที่พวกเขาได้ทำลงไป เห็นปรากฏได้ที่ศูนย์กลางกาย - บุญกุศลนำให้มาเกิดเป็นเทวดา ส่วนบาปอกุศลนำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก].

    คุณก็ได้เห็นทั้ง 2 ฝ่าย - ระหว่างสวรรค์กับนรก ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่ผู้คนพากันทำ. แล้วคุณได้เห็นพระนิพพานไหม ?

    ครับ, ผมเห็น. พระนิพพานอยู่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เราคิดว่าเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ. ผมไม่เห็นธาตุทั้ง 4 เหล่านี้เลย. ผมได้เห็นพระนิพพานธาตุ นับไม่ถ้วน - เท่าที่ผมจะเห็นได้. และมีรัศมีเจิดจ้า สว่างไสว.

    คุณคิดว่าอะไร คือประสบการณ์ที่ดีที่คุณได้ปฏิบัติเข้าถึง ได้รู้ และได้เห็นจากการเจริญภาวนานี้ ?

    ผมรู้สึกว่า วิธีเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายนี้ มีความพิเศษ เป็นการปฏิบัติทางตรง ทำให้ผมได้มีประสบการณ์อย่างสูง.

    เมื่อคุณกลับไปสหรัฐอเมริกาแล้ว คุณจะทำอะไร ?

    ผมวางแผนไว้ว่า จะสอนวิชชาธรรมกาย. ผมมีลูกค้าซึ่งผมสอนโยคะ, การเจริญภาวนา และการนวดอยู่แล้ว และผมเชื่อว่าการแนะนำวิชาธรรมกายให้จะช่วยให้พวกเขาให้ช่วยตนเองได้.



    Channel 9 Interviewer: Good morning. It's nice to meet you. What did you learn from meditation?
    Loren: Well, I learned first to focus my attention on the center of the center of the body. And, from there, the center expanded to surround my entire body. As I continued to focus on the center, I saw my refined human body and became that - continuing to focus on the center. This happened again and again, all the way until I reached my refinest Dhammakaya body.
    And, how did you feel when you first reached your own nucleus in your stomach?
    It felt very and calm and a very deep, expanding sense of joy... happiness.
    And how did you feel after you completed all 18 bodies and reached Dhammakaya?
    Well, each body became less and less dense. So, we begin with the human body which is the most crude and mundane, and then it becomes more and more refined until it reaches the most refined Dhammakaya which is the least dense. It totally transcends any sense of personal ego.
    And, did you feel that what you saw was imagination or reality?
    Very little imagination. It happened automatically. I just focused on the center of the center and it appeared by itself.
    And did you see hell or heaven?
    Yes.
    And what did you see there?
    Well, many things. In hell, I saw many levels of different punishments. I saw different people in one level who were being attacked by a dog - very mean and angry. And, they were trying to escape - climbing a tree with thorns. Also, like vultures were trying to attack them and they would fall and then the dog would get them.
    And, I would look at the nucleus of the people - very dark. In the nucleus I would see why they were there - because of sexual misconduct. And I would see lots of shame and guilt and mental poison.
    And then we went to another level and I saw a large caldron ... Large! People were inside it. Hot! With what looked like a very hot liquid or melted metal like lead.
    And they are inside, burning. And some had to drink this very smelly - very bad liquid.
    And I look at their nucleus and I see that most had drunk alcohol. Also some drugs and things, but mostly alcohol. And they drink the liquid and it cooks their organs - especially the brain. It fries the brain.
    And then, in hell, the worst thing I saw - below the 8th level - below the murders and all the liars and thieves - I saw the false teachers. And they had blindfolds. They couldn't see and they were running into each other - chaos and lots of torment. And their bodies were burned dark like they had been scalded with acid. There was a dead smell - a very thick smell.
    And then I became the refined Dhammakaya and then we saw heaven. And there we saw the opposite, really. Very luminous - very beautiful. The center of the beings was very radiant. In hell the beings had a very dark, cloudy nucleus. In heaven I saw them very radiant and glowing like a stal sphere. And, I could look into the center and see why they were there - all the meritorious things, the many good deeds they did for the people.
    Some were on earth; some flying through the sky. I saw many in trees. But, the main difference between heaven and hell was what I saw at the center of the beings - either evil deeds or good, meritorious deeds.
    So, you saw both sides - hell and heaven and the good things and bad things that people do. And, did you see Nirvana?
    Yes, I did. It goes beyond what we think of as earth and water and fire. All of these things, I saw none of. I saw countless saints and Buddhas - as far as the eye could see. And they were very very radiant, with glowing centers. I focused on them and I could see all the good things they did to make them so brilliant.
    But, the most luminous, in the center, was Buddha - the Primordial Buddha - surrounded by Buddhas. And, I asked for permission, and I touched Lord Buddha on the leg. And it felt very very cold, like ice.
    What do you think were the good points that you got from meditation?
    Well, I feel that this particular style of meditation, Dhammakaya, is a very very direct way to experience directly my highest self.
    And, when you are back in America, what will you do? Well, I plan on teaching Dhammakaya. I have clients that I practice meditation, yoga and massage with already, and I believe that sharing Dhammakaya with them will help them to help themselves.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    การเจริญภาวนา จำเป็นต้องผ่านนิมิตหรือไม่ ?

    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ความหมายของนิมิต

    คำว่า "นิมิต" แปลว่า เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล โดยความหมายหลายอย่างต่างๆ กันนี้เอง ที่มีผู้ใช้คำว่า "นิมิต" ในหลายสถาน เช่นว่า

    ความฝัน ที่เวลาบุคคลนอนหลับแล้วฝันไป ก็เรียกว่า สุบินนิมิต
    การแสดงนัยให้ทราบ อย่างเช่นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงนัยให้พระอานนท์ทราบถึงวาระที่พระพุทธองค์จะทรงปลงสังขารแล้ว อย่างนี้ก็เรียกว่า พระองค์ได้ทรงแสดง "นิมิต"
    ส่วนคำว่า "นิมิต" ที่ใช้เรียกกันในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนานั้น มุ่งหมายถึง "เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นที่ใจ" เช่น บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต

    1.เครื่องหมายใดๆ ที่กำหนดขึ้นในใจ คือนึกให้เห็นเครื่องหมายนั้นด้วยใจ ก็เรียกว่า บริกรรมนิมิต
    2.ถ้านึกเห็นนิมิตด้วยใจได้ชัดเจนเพียงชั่วขณะ ก็เรียกว่าได้ อุคคหนิมิต
    3.และถ้าเห็นเครื่องหมายนั้นได้ชัดเจน นาน ติดตา จะนึกขยายให้โตใหญ่ หรือย่อให้เล็กลงด้วยใจ ก็ทำได้ อย่างนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต
    ใช้นิมิตเป็นอุปกรณ์ฝึกใจให้สงบ เป็นสมาธิ การกำหนดเครื่องหมายขึ้นในใจ หรือที่ปรากฏเห็นขึ้นในใจ ที่เรียกว่า บริกรรมนิมิต นั้น เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจ อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มารวมอยู่ในอารมณ์เดียว แนบแน่นเป็นสมาธิดี เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตได้ ตามลำดับของใจที่หยุดนิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง

    อนึ่ง อุบายวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มักใช้ควบคู่กับ "บริกรรมนิมิต" ก็คือให้กำหนด "บริกรรมภาวนา" คือให้นึกท่องในใจว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" หรือ "พุทโธๆๆ" ไปด้วย เพื่อให้ใจช่วยประคองนิมิตนั้นไว้ เป็นอุบายวิธีรวมใจที่มีสภาพเบา กวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านได้ง่าย ให้หยุด ให้นิ่งสงบ เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น

    เมื่อใจถูกประคองให้มารวมอยู่เสียกับบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กัน หนักเข้าๆ ก็จะค่อยๆ เชื่อง และสงบรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็น เอกัคคตารมณ์ คือมีอารมณ์เดียวเป็นหนึ่งนิ่งอยู่

    เมื่อ "ใจ" อันประกอบด้วย ความเห็นนิมิต, ความจำนิมิต, ความคิด และความรู้ในนิมิต มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นนิมิตนั่นชัดขึ้น เป็น อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตได้ ตามระดับของใจที่รวมหยุดเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคง

    ในขณะที่ผู้ปฏิบัติภาวนาเพิ่งกำหนดบริกรรมนิมิตนั้น ใจเพิ่งจะเริ่มเป็นสมาธิ คืออยู่ในอารมณ์เดียว สมาธิในระดับนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ
    แต่พอเห็นนิมิตได้ชัดเจนขึ้นชั่วขณะ ที่เรียกว่า อุคคหนิมิต นั้น ใจที่สงบนิ่งเป็นสมาธิระดับนี้ เป็นสมาธิในระดับ อุปจารสมาธิ
    และเมื่อเห็นนิมิตได้ชัดเจน นาน ติดตา และสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงได้ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ใจที่สงบหยุดนิ่งสนิทระดับนี้ เป็นสมาธิในขั้น อัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน
    กล่าวคือเมื่อจิตประกอบด้วย วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิตอยู่, และประกอบด้วย ปีติ ยินดีที่ได้พบเห็นสิ่งที่เย็นตาเย็นใจ ก่อให้เกิดความ สุข อย่างละเอียดๆ เช่นนั้น และอยู่ในอารมณ์เดียว สงบหยุดนิ่งสนิทได้แนบแน่นดี เป็น เอกัคคตา เช่นนี้ จัดเป็นสมาธิในขั้น ปฐมฌาน

    ใจที่เป็นสมาธิตั้งแต่ระดับปฐมฌานขึ้นไปนี้เอง ที่มีองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา คุณเครื่องปหานกิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 คือ ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา พยาบาท อุทธัจจกุกกุจจะ และ กามฉันทะ ให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสควรแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามที่เป็นจริง ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ชัดแจ้ง

    เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ "นิมิต" เป็นอุบายวิธีในการเจริญสมาธิภาวนาถึงระดับฌาน เพื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต เพื่อรวมใจให้หยุดให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ยกระดับจิตใจขึ้นสู่องค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา อันเป็นธรรมเครื่องปหานกิเลสนิวรณ์

    และเมื่อเจริญภาวนาจนเป็นสมาธิระดับฌานต่างๆ นั้น ก็จะต้องมีนิมิตหรือผ่านนิมิตทั้งสิ้น แม้แต่อรูปฌาน ที่ว่าไม่กำหนดรูปเป็นอารมณ์ อย่างเช่น กำหนดยึดหน่วงเอาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เมื่อจิตละเอียดหนักเข้า ก็เห็นนิมิตคืออากาศนั้น หรือในกรณีที่กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือกำหนดยึดหน่วงเอาความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ก็เห็นวิญญาณ หรือความว่างเปล่านั้นแหละ ที่เห็นนั่นแหละคือนิมิต,

    แม้เมื่อจิตเป็นอุเบกขา ที่เรียกว่า อุเบกขินทรีย์ ก็ยังต้องมีนิมิต ดังพระพุทธดำรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ อุเบกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ดั่งนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้..."(1)

    เจริญวิปัสสนา ก็ต้องมีนิมิต

    ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ต้องมีนิมิตแห่งวิปัสสนาจิต กล่าวคือถือเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาสภาวธรรมอีกเช่นกัน เช่น การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยนิมิต นึกเห็นนิมิต จึงจะพิจารณาสภาวธรรมได้ จึงจะเห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อย่างเช่น การเจริญอสุภกัมมัฏฐานอันนับเนื่องอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจะต้องไปพิจารณาดูแต่ที่ซากศพ หรือจะต้องนำศพไปพิจารณาด้วย หรือจะต้องสาวไส้สาวพุงของใครต่อใครมาดู จึงจะเรียกว่า อสุภกัมมัฏฐาน ก็หาไม่ ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อได้เคยเห็นซากศพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายในหลายๆ ลักษณะ ก็จำภาพนั้นหรืออารมณ์นั้น แล้วน้อมเอาอารมณ์นั้นหรือภาพนั้นมาพิจารณาด้วยใจ การพิจารณาก็จะต้องนึกเห็นทั้งลักษณะและสภาพที่เป็นจริง ว่าเป็นแต่สิ่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด และเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหล่านี้เป็นต้น จึงจะเรียกว่ารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ถ้านึกไม่เห็นแล้วทำไมจึงจะอ้างได้ว่า เห็นแจ้งตามสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงได้เล่า การเห็นของจริงด้วยตาเนื้อนั้นเป็นแต่เพียงเริ่มต้นของเรื่องที่จะนำมาพิจารณาเท่านั้น แต่การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจทางใจ แม้จะเห็นธรรม ณ เบื้องหน้าซากศพ ก็เป็นการเห็นด้วย "ใจ" หาใช่เห็นธรรมด้วยตาเนื้อไม่ และการเห็นสิ่งที่น้อมนำมาพิจารณาสภาวะธรรมด้วยใจนั้น ก็คือนิมิต อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งที่ชื่อว่า "สังขารนิมิต" นั่นเอง

    เรียกว่า หนีนิมิตไม่พ้น ในทางปฏิบัติแล้วจะต้องผ่านนิมิตเสมอไป ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ได้เห็น ถ้าไม่ได้เห็น ก็จะอ้างว่าเห็นแจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงไม่ได้ ก็มีแต่ท่องจำเอาจากตำราเท่านั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงปฏิเสธนิมิตในการเจริญภาวนาธรรม และยังประทานพระบรมพุทโธวาท มีความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์, ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (คือนิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์"(2)

    นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงการถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ในการปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล."3

    จึงว่าการเจริญภาวนาจะต้องผ่านนิมิต อาศัยนิมิตแน่นอน

    ข้อสังเกตในเรื่องนิมิต

    ประการที่ 1 ที่ว่า การเห็น นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ

    1.การเห็นรูปด้วยตาเนื้อ สำหรับคนทั่วไป และเห็นด้วยตาใน (ตาทิพย์) สำหรับท่านที่เจริญวิชชาหรือมีทิพพจักขุ นี้อย่างหนึ่ง กับ
    2.การเห็นนิมิต คือเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นให้เห็นในใจ เพื่อเจริญสมาธิ นั้นอีกอย่างหนึ่ง
    และสำหรับสิ่งที่เห็นด้วยใจนั้น จึงมีทั้ง นิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ที่นึกหรือคิดให้เห็นในใจเพื่อเจริญสมาธิ ได้แก่ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง หรือน้อมสังขารนิมิตเข้ามาพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเห็น รูป หรือ ธาตุธรรมละเอียด ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ด้วยสามารถแห่งทิพยจักขุ เสมือนหนึ่งตาเนื้อเห็นรูป ฉะนั้น นี้อย่างหนึ่ง อย่าปนกัน

    ประการที่ 2 การเห็นนิมิต มิได้หมายความว่า ติดนิมิต หากแต่เป็นเพียงอาศัยการกำหนด บริกรรมนิมิต ขึ้นเพื่อเจริญสมาธิ พัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็น อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น และเป็นความจำเป็นที่จะต้องน้อมนำเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในสติปัฏฐานสูตรจึงแสดงวิธีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน, และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ว่าคือการมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม

    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี สามารถเจริญวิชชา และมีอภิญญา เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์ ให้สามารถรู้เห็นสิ่งที่ละเอียดประณีต หรืออยู่ห่างไกล ลี้ลับได้ กว่าอายตนะของกายเนื้ออย่างเข่น ตา หู ของกายเนื้อ จึงสามารถเห็นสัตว์ในภูมิต่างๆ ที่ละเอียด อย่างเช่น นรก สวรรค์ และแม้แต่เห็นอายตนะนิพพานนั้น ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน และก็เป็นการเห็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เหมือนกับตาเนื้อเห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง เหมือนกับเราผ่านไปทางไหนก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง ผู้คน หรือสัตว์ทั้งหลายตามปกติธรรมดา

    แม้จะเจตนาที่พิจารณาดูความเป็นไปของอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า นรก สวรรค์ นิพพานนั้น มีจริงหรือเปล่า ถ้ามี มีอย่างไร มีความเป็นไปในนรก สวรรค์ ตลอดทั้งอายตนะนิพพานอย่างไร ด้วยผลบุญและผลบาปอะไร จึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ในนรกหรือสวรรค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรู้จักความเป็นไปในนิพพานนั้น เป็นยอดของความรู้ เป็นยอดของปัญญาทีเดียว และประการสำคัญที่สุด ผู้ที่สามารถเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายอันเป็นธรรมขันธ์ที่พ้นโลกแล้ว สามารถให้เข้าถึงอายตนะนิพพานได้นั้น ทำให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นโดยชัดแจ้ง ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระบรมพุทโธวาท ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้น [คือพระนิพพาน] มีอยู่...." และว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว [คือพระนิพพาน] นั้น มีอยู่...." 4

    จึงทำให้สามารถเห็นอรรถ เห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วนี้โดยชัดแจ้ง

    ประการที่ 3 การเจริญสมาธิภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน แล้วมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนามีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือมีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมาก และไม่รู้อุบายวิธีออกจากสังขารนิมิตที่ถูกต้องนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อยหรือให้ปฏิเสธนิมิตนั้น ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่าเกิดวิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐาน อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้

    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย เป็นกัมมัฏฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน และมีมหาสติปัฏฐานสี่ อยู่ครบถ้วนในตัวเสร็จ คือมีการพิจารณาเห็นเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม อยู่ในทุกขั้นตอน มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น เมื่อยกสังขารนิมิตใดขึ้นพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีอุบายวิธีออกจากสังขารนิมิต โดยให้พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตใจก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปได้เองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นสำหรับผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเกิดอภิญญาและวิชชา ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรม กับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย จึงควรที่ท่านสาธุชนจะเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าพึ่งท้อแท้ใจว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้, ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผล ให้ถูกต้องตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า ระวังอย่าให้

    เพียรหย่อนเกินไปจนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือพลอยหงุดหงิดเมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    สะดุ้งตกใจกลัว หรือตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านหรือเคลื่อนจากสมาธิ
    และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาส อย่างน้อยก็ศีล 5 ขึ้นไป
    พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย ตลอดทั้งดูการละเล่น หรือประโคมดนตรี เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น
    ถ้าประสงค์จะได้สิ่งที่ดี มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างสูง ก็ต้องพยายามละสิ่งที่ชั่ว หรือที่เป็นข้าศึกแก่ความดีเหล่านั้นเสีย

    พึงเข้าใจว่า ธรรมอันประเสริฐนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่บุคคลจะพึงบรรลุได้โดยง่าย แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยของบุคคลที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงหรือบรรลุได้ ขอแต่ให้ปฏิบัติถูกวิธีด้วยอิทธิบาทธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมได้ผลแน่นอน

    พระพุทธองค์ก็ได้ทรงประทานบรมพุทโธวาทไว้ มีความว่า เมื่อได้ศึกษาและปฏิบัติอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว ก็แล้วกัน เราไม่มีอำนาจที่จะไปบันดาลให้บรรลุธรรมหรือมรรคผลเมื่อนั้นเมื่อนี้ได้ อุปมาดั่งชาวนาซึ่งไถคราด เตรียมดิน หว่านพันธุ์ข้าว และปักดำ ไขน้ำเข้านา ดูแลใส่ปุ๋ย ดีที่สุดแล้ว ก็ต้องรอให้ข้าวออกรวงเอง การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ทำไปก็แล้วกัน พยายามให้ดีที่สุดแล้ว ถึงเวลาก็ได้บรรลุผลเอง

    และพึงสังเกตว่า ในระหว่างเวลาปฏิบัติที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมหรือมรรคผลนั้น ก็ได้ผลดีไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่ขอให้หมั่นดูที่เหตุ สังเกตดูที่ผลให้ถ้วนถี่ก็แล้วกัน การปฏิบัติธรรมตามแนวนี้ให้ผลดีทั้งในทางโลกและในทางธรรมจริงๆ--------------------------------------------------------------------------------

    (1) สํ. ม. อุปปฏิกสูตร 19/961/269
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กันยายน 2014
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    จะบริกรรมภาวนาอย่างเดียว จะได้ผลหรือไม่ ?

    
    เกี่ยวกับบริกรรมนิมิต เมื่อใดจะได้นิมิตสักที เพราะกำหนดบริกรรมนิมิตไม่ได้ จะบริกรรมภาวนาอย่างเดียวจะเกิดผลหรือไม่ ?
    -----------------------------------------------------

    ตอบ:


    จะภาวนาอย่างเดียวก็ได้ แต่ว่าถึงอย่างไร ใจต้องมีที่ตั้ง เพราะใจเรานั้น เห็นด้วยใจ เห็นที่ไหนใจอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้น ต้องให้เห็นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ใจจึงจะอยู่ที่นั่น

    การนึกบริกรรมนิมิตให้เห็นด้วยใจ ณ ภายใน ซึ่งจะได้ผลดีเป็นของยาก ถ้านึกนิมิตอยู่ภายนอก มักเห็นได้ง่ายกว่า แต่เมื่อใครนึกอยู่ ณ ภายในได้จะได้ผลดีที่สุด เพราะเมื่อใจหยุดตรงนั้น ถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ เมื่อถูกแล้ว เราจะสามารถเข้าถึงธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้โดยสะดวก และไปถึงธรรมกายถึงพระนิพพาน

    เรารู้ว่าจุดนี้เป็นจุดที่เที่ยงตรง เห็นหรือไม่เห็น จงทำต่อไปจนกว่าจะเห็น แต่ถ้านึกไม่เห็นปวดเมื่อยเหนื่อยใจหนักหนา ก็นึกให้เห็นจุดเล็กใสเข้าไว้เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ใจเข้าอยู่ ณ ภายใน การนึกให้เห็น อย่าไปคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่นึกเอา นึกให้เห็นเป็นอุบายเบื้องต้น ใจประกอบด้วยความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ มารวมกันเป็นจุดเดียวกันตรงเห็นนั้น เพราะฉะนั้นความจำเป็นในเบื้องต้นที่นึกให้เห็นจึงต้องทำ

    แต่อุบายวิธีที่เราจะให้เห็นตรงนั้นก็ต้องปล้ำกันหลายเพลง เช่นว่า นึกดวงไม่เห็น อาจจะนึกองค์พระก็ได้ หรือนึกง่ายๆ คือนึกว่าในท้องมีลูกแก้วลูกหนึ่ง ประมาณเอา คือใจจะค่อยปรับตัวจนหยุดนิ่ง นี่เป็นอุบายอย่างหนึ่ง อาจจะต้องใช้อุบายหลายเพลงเช่นกันกว่าจะเห็นได้ แม้กระทั่งดวงไฟตรงไหนที่ไหนที่เห็นกลมๆ ก็นึกดวงให้สว่างอยู่ข้างในท้อง ซึ่งใช้ได้เช่นกัน ถ้านึกอย่างนั้นไม่ได้ให้ท่อง "สัมมา อรหังๆๆๆ" ไปตรงกลางจุดศูนย์กลางนึกให้เห็นจุดเล็กใส นิ่งๆ ไว้ พอนึกเห็นตามสบาย อย่าอยากเห็นจนเกินไป จนไม่ได้เห็น เพราะเพ่งแรงเกินไป จิตที่จะเห็นต้องพอดีๆ เหมือนกับที่ท่านทั้งหลายลองเอาปิงปองวางอยู่ในน้ำ จะกดปิงปองให้จม ในน้ำได้โดยวิธีไหน อุปมาอย่างนั้นฉันใด การเลี้ยงใจให้หยุดให้นิ่ง และจะได้เห็นเองก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน แต่ถ้าจะนึกให้เห็น พอไม่เห็นอึดอัดโมโหหรือหงุดหงิดอย่างนี้ไม่มีทางเห็น ทำให้เป็นธรรมดา เห็นก็ช่างไม่เห็นก็ช่าง ความจะเห็นต้องประกอบด้วยใจสบาย ละวางให้หมด เรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคต แม้ตัวเราก็ต้องละให้หมด วางใจนิ่งๆ พอดีๆ ใจสบายๆ ก็จะเห็นได้ง่าย

    อีกวิธีหนึ่ง ก่อนนอนจะหลับให้ท่อง “สัมมาอรหังๆๆ” นึกเบาๆ ท่องไป พอใจจะหลับ สภาพของใจจะตกศูนย์ ความรู้สึกภายนอกจะหมดไป จะเหลืออยู่แต่ข้างใน พอจิตตกศูนย์ ดวงธรรมดวงใหม่จะลอยขึ้นมาที่ศูนย์กลางกาย ใสสว่างอยู่ตรงนั้นก่อนหลับ แล้วก็เผลอสติหลับไป เห็นตรงนั้นจับให้ดี พอเห็นดวงก็เข้ากลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่งก็จะสว่าง นี่จะเห็นของจริงก็จะไม่หลับ จะรู้เลยว่าเมื่อวิตกวิจาร คือเห็นดวงสว่างระดับอุคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิตแล้วนั้น ความง่วงเหงาซึมเซาจะหมดไป กิเลสนิวรณ์หมดไปในขณะนั้น ช่วงจะหลับสามารถจะเห็นได้ง่าย

    ช่วงจะตื่นถ้าเคยตื่น 6 โมงเช้า ลองตื่นตีห้าครึ่ง พอตื่นแล้วไม่ตื่นเลย คือไม่ลุกขึ้นทันที ตายังหลับอยู่แต่ใจเราตื่น ดูไปที่ศูนย์กลางกายจะเห็นดวง ทำไมจึงเห็น เพราะใจคนเพิ่งตื่นใหม่ๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายลอยเด่น ยังเห็นได้อยู่ พอเห็นแล้วเราเอาอารมณ์นั้นมาสู่ใจเรา ทำบ่อยๆ ก็จะเป็น เมื่อถึงเวลาก็เป็นเอง บางทีอาจเห็นธรรมกายใหญ่มาก ขณะเดิน นั่ง ปกติธรรมดา อารมณ์สบาย ใจเป็นบุญเป็นกุศล ใจก็สบาย พอใจสบายก็จะเห็น ใจสบายด้วยบุญกุศลแตกต่าง กับการสบายด้วยกามคุณคือได้นั่นได้นี่ตามที่เราอยากได้ อันนั้นไม่สบายอย่างที่เราสบายอย่างนี้ การสบายด้วยบุญคือสบายเฉยๆ และลองกำหนดเห็นศูนย์กลางก็จะเห็นเป็นดวงใสได้โดยง่าย ต้องทำบ่อยๆ เนืองๆ แม้อาตมาเองถ้าไม่ทำบ่อยๆ เนืองๆ ก็จะจาง ต้องทำบ่อยๆ จึงดี
     
  5. ดวงแก้วตา

    ดวงแก้วตา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +23
    ขอแชร์ด้วยค่ะ ก็เจ้าของกระทู้อุตส่าห์เรียนเชิญแล้ว เข้ามาดู จดๆจ้องๆ หลายวันแล้ว ไม่กล้าเขียนค่ะ อันนี้เขียนตรงจากประสบการณ์ของแก้ว(อาหมวยจอมซ่า) เองนะคะ

    เริ่มแรกนั่งสมาธิด้วยพุทธโธค่ะ นั่งได้สักสองสามปีก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ไปไหน เพราะไปไหนไม่ได้น่ะล่ะ ก็เลยเริ่มฝึกแบบใหม่ มีทั้ง นะมะ พะธะ จงกลมก็แล้ว แต่สุดท้ายมาหยุดที่วิชชาธรรมกาย ซึ่งเป็นสายที่ไม่เคยคิดว่าจะเข้ามา สาเหตุก็อย่างที่หลายๆคนเป็นค่ะ คือไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ว่าวิชชาธรรมกาย กับวัดพระธรรมกาย เป็นอย่างไร ซึ่งตอนแรกแก้วก็เข้าใจว่าเป็นสายเดียวกัน แต่พอมาศึกษาจริงๆ ก็ได้รู้ ตอนหลังได้สัมผัสกับวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ต้นวิชชาของหลวงปู่สดเพิ่มมากขึ้น ถึงได้รู้ถึงความแตกต่าง หลังจากรู้แล้วก็เริ่มปฏิบัติ จริงๆ ต้องบอกว่าทำบ้าง ไม่ทำบ้าง ทำเป็นปี ไม่เคยเห็นเลยค่ะดวงแก้วน่ะ บางครั้งก็พยายามจำภาพดวงแก้วที่เราชอบ ซึ่งเราคิดว่าจำได้แล้ว แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เห็นในสมาธิเลย แต่ก็ไม่ได้ท้อนะคะ ก็ฝึกไปเรื่อยๆ จนเริ่มไม่ซีเรียสในการเห็นแล้ว เห็นแต่ความนิ่ง สงบของตัวเองก็พอใจแล้ว ไม่เห็นดวงแก้วก็นั่ง สัมมา อะระหังไปเรื่อยๆ หลับมั่ง เข้าสมาธิจริงๆมั่ง เกือบสองปี จนวันนึงได้เห็น พอเห็นก็ไม่แน่ใจอีกว่า นึกคิดไปเองหรือเห็นจริงๆ ต้องค้นข้อมูล พอดีกับมีเพื่อนธรรมให้คำแนะนำ ถึงได้ค่อยๆฝึกแบบเต็มที่ค่ะ

    วิชชาธรรมกาย เหมือนที่หลวงปู่สดท่านสอนไว้ ทำเอง รู้เอง เห็นเอง ต้องลงมือปฏิบัติค่ะ ถ้ามัวแต่สงสัย มัวแต่ถาม คงไม่ได้ลงมือปฏิบัติ คงไม่รู้ เราเป็นคนดื้อเงียบ ไม่ค่อยเชื่อใครง่ายๆ สงสัยมากมาย ชอบถามแต่ขี้เกียจค้นคว้า โดนเม้งมาหลายที จนตอนหลังแก้วเองก็พยายามหาเกี่ยวกับธรรมกาย แต่ไม่ค่อยเจอข้อมูลที่เราอยากรู้มาก ส่วนใหญ่เจอแบบว่า ต้องปฏิบัติเอง แล้วจะรู้เอง ซึ่งตอนนั้น ก็สงสัยนะว่าทำไมไม่มีใครบอกเลยว่าปฏิบัิตแล้วจะเป็นยังไง ก็เริ่ม "ลอง" ค่ะ ลองลงมือปฏิบัติ ตอนนี้ก็เริ่มรู้แล้วค่ะ ก็หวังว่าจะพยายาม "รู้" ให้มากๆ ขึ้นเพราะวิชานี้ลึกซึ้งมากค่ะ

    หากท่านใดสนใจนะคะ ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ทุกๆวันพฤหัสบ่ายสอง จะมีหลวงปุ่วีระมานำวิชชาในการนั่งสมาธิค่ะ หลังห้าโมงเย็นก็มี ยังไงลองโทรเช็คที่วัดปากน้ำนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบ ขอบคุณเจ้าของกระทู้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิ จะเห็นความสว่างเกิดขึ้นบริเวณท้อง ?

    
    เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม พอจิตเริ่มเป็นสมาธิจะเห็นความสว่างเกิดขึ้นบริเวณท้อง เป็นความสว่างโล่งๆ จะต้องทำอย่างไรต่อไป ?

    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม เห็นความสว่างเกิดขึ้น อาจเหมือนดวงจันทร์ หรือความสว่างพอสมควร นั่นแสดงว่าเริ่มใช่แล้ว ใจเริ่มหยุดใกล้ๆ กับฐานที่ตั้งของใจ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม จึงปรากฏมีความสว่างขึ้น อาจเห็นข้างหน้า


    หรือรอบๆ ตัว เป็นของจริงทั้งนั้นแต่ยังไม่แท้ จะแท้ก็ต่อเมื่อใจหยุดนิ่งตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม (ฐานที่ 7) จะเห็นดวงใสสว่างขึ้นมา เป็นดวงปฐมมรรค นั่นแหละของแท้ แต่เป็นของแท้โดยสมมุติ คือ เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ซึ่งยังจัดเป็นสังขารนิมิตอยู่

    ถ้าเห็นอย่างที่กล่าวมา ให้กำหนดนึกหยุดนิ่งที่ศูนย์กลาง หรือกำหนดตั้งศูนย์กลางไว้ พร้อมอธิษฐานขอให้เห็นศูนย์กลางที่ใส และขยายศูนย์กลางออก แต่อย่าเพ่งแรง พอศูนย์กลางขยาย ในไม่ช้าก็จะเห็นดวงใสสว่างขึ้นมา แต่ถ้าเราเผลอง่วงหรือเผลอสติ ความมืดจะเข้ามาแทนที่เป็นธรรมดา นั่นคือกิเลสนิวรณ์ เพราะฉะนั้นขอให้มีสติว่า กิเลสนิวรณ์จะเกิดขึ้น วิธีแก้โดยการนึกให้เห็นจุดเล็กใสตั้งขึ้นมาใหม่ แล้วอธิษฐานขยายศูนย์กลางจุดเล็กใสนั้น ดวงก็จะปรากฏใสสว่างขึ้น ให้หมั่นนึกเข้ากลางของกลางจุดเล็กใสนั้นไว้เรื่อยๆ ให้ใจหยุดในหยุดกลางของหยุดอย่างสม่ำเสมอ อย่าเพ่งแรง นึกเข้ากลางของกลาง หยุดในหยุดอย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็นศูนย์กลางใสขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งความมืดหมดไป (ที่เรียกว่า ธัมโม ปทีโป ความสว่างของธรรมที่สว่างเปรียบประดุจ ดังประทีปหรือดวงอาทิตย์)

    หลักสำคัญ กำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกาย แล้วค่อยๆ อธิษฐานขยายจุดเล็กใสขึ้น อย่าให้ใจเคลื่อนจากศูนย์ ความมืดก็จะหายไป ความสว่างก็จะปรากฏขึ้นแทนที่ อย่าใช้สายตาเนื้อ เพราะจะปวดตา และไปแย่งหน้าที่ของตาใน หมั่นจดใจอยู่เสมอทุกขณะ เดิน ยืน นั่ง นอน ก็จะเห็นดวงในดวง แล้วต่อไปก็จะเห็นกายในกายต่อไปเอง
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย ?

    
    ดวงนิมิตในศูนย์กลางกายยังไม่ใส แต่เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย จะปฏิบัติอย่างไร ? และนิมิตตัวเราให้เห็นชัดขึ้น เจริญขึ้นอย่างไรบ้าง ?

    ------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ที่เห็นนิมิตยังไม่ใส ควรปฏิบัติเช่นนี้

    1. หากใจยังไม่หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ให้หยุดนิ่ง กริ๊กลงไป ให้นึกในใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง นิดเดียว พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จะใสขึ้นมาทันที นี่ข้อที่หนึ่ง

    2. เมื่อศูนย์กลางขยายออก ใสพอสมควร ก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียด ถึงแม้จะยังเห็นไม่ใสก็ไม่เป็นไร มีอุบายวิธีทำอย่างนี้ ละอุปาทาน ละความรู้สึกที่เนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ ไม่สนใจ ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้น แม้เห็นไม่ชัด แม้เห็นลางๆ ก็ทำความรู้สึกว่าเป็นกายละเอียดนั้น ใจจะละจากอุปาทานในกายหยาบ เข้าไปเป็นเวทนา จิต ธรรมของกายละเอียด เมื่อใจกำหนดหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกาย ก็จะเห็นดวงธรรมใสสว่างขึ้น กลางของกลาง หยุดในหยุด กลางของหยุด ให้ใสสว่างขึ้น จะใสสว่างทั้งดวงและทั้งกาย และองค์ฌานแล้วใจก็ หยุดในหยุดเรื่อยไป ดับหยาบไปหาละเอียด หยุดนิ่ง ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายละเอียดอื่นๆ ก็จะปรากฏขึ้นมาใหม่ ให้จำไว้เลย ดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึกเป็นกายละเอียดต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของกลาง ให้ใสสว่างทั้งดวงทั้งกาย และองค์ฌาน

    เราจะเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ที่ผ่องใส สวยงามโตใหญ่ขึ้นกว่าเดิมไปตามลำดับจนถึงธรรมกาย แต่ว่าดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของแต่ละกายในภพ 3 นั้น เนื่องจากยังมีอวิชชานุสัย หุ้ม “ดวงรู้” กามราคานุสัยหุ้ม ” ดวงคิด” ปฏิฆานุสัยหุ้ม “ดวงเห็น” อยู่ เพราะฉะนั้น ดวง เห็น จำ คิด รู้ ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมนั้น จึงยังไม่เบิกบาน คือ ยังไม่ขยายโตเต็มกาย แต่ว่าขยายโตขึ้นในระดับหนึ่ง เช่นของกายมนุษย์จะประมาณฟองไข่แดงของไข่ไก่เท่านี้ สำหรับผู้ที่จะสามารถเจริญกัมมัฏฐานได้ แต่ถ้าใครเห็นดวงเล็กขนาดนิดเดียว เท่าดวงดาว คนนั้นชาตินี้เจริญกัมมัฏฐานสำเร็จได้ยาก บางท่านเห็นดวงโต อย่างโตเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ขึ้นอยู่ที่บุญบารมีของแต่ละท่านที่บำเพ็ญมาแล้วไม่เหมือนกัน ของกายทิพย์เป็น สองเท่าของกายมนุษย์ ของกายรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายทิพย์ ของกายอรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายรูปพรหม

    เพราะเหตุไร ?

    เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่หุ้มซ้อนอยู่นั้นค่อยๆ จางหมดไป ด้วยการรวมใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยๆ เราจึงถึงคุณธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่ากันไปตามลำดับ จากมนุษย์ธรรมไปถึงเทวธรรม ถึงพรหมธรรม อรูปพรหมสุดละเอียด ของคุณธรรมของกายในภพ 3 ก็จะถึงธรรมกาย

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี้จึงเบิกบานเต็มที่ เต็มธาตุเต็มธรรม หมายความว่า ดวงธรรม และดวงเห็น จำ คิด รู้ ของธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู แม้จะมีขนาดหน้าตักและความสูงเพียง 4 วาครึ่ง แต่เส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม และเห็น จำ คิด รู้ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ขยายโตเต็มส่วนเต็มธาตุเต็มธรรม คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย จากธรรมกายโคตรภูไปสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ก็เป็นอย่างนี้.
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เห็นทรงกลม มองนานๆ กลายเป็นแก้วใส จะใช้เป็นนิมิตแทนลูกแก้วใสได้ไหม ?

    
    ผมมองเห็นรูปนิมิตเป็นรูปพระสีเขียวเข้มจนเกือบดำ ทรงเครื่อง คล้ายทรงเครื่อง ฤดูร้อน อยู่กลางทรงกลม ตอนแรกเห็นทรงกลมสีขาวขุ่น มองนานๆ กลายเป็นแก้วใสติดอยู่นาน จะถือเอาเป็นนิมิตแทนลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?

    -------------------------------------------------------------
    ตอบ:


    ได้ครับ ใช้ได้เลย ถ้าเห็นเป็นดวงกลมใส ให้เข้าใจว่าองค์พระอยู่ในดวงกลมนั้น หยุดนิ่งไปกลางดวงกลมใสนั้น หยุดนิ่งถูกส่วนก็จะใสสว่าง ศูนย์กลางขยายออก ประเดี๋ยวองค์พระก็จะปรากฏ


    หรือกายมนุษย์ละเอียดจะปรากฏ เมื่อปรากฏแล้ว ท่านก็นึกเข้าไปเป็นกายละเอียดใหม่ จะเป็นกายมนุษย์ละเอียดหรือองค์พระก็แล้วแต่ ให้ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียดหรือองค์พระนั้น ให้ใสสว่างหมดทั้งดวงทั้งกาย จะปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ ตามขั้นตอนของเขา แต่บางทีข้ามขั้นตอนได้ ถ้าจิตละเอียดหนักจริงๆ เห็น จำ คิด รู้ ขยายโตเต็มส่วน เต็มธาตุเต็มธรรม แล้วกายธรรมหรือธรรมกายจะปรากฏขึ้นมา ข้ามขั้นตอน แทนที่จะต้องผ่านกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ พรหม อรูปพรหมก็ข้ามขั้นตอนไปได้ ไม่เป็นไร
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เห็นนิมิตต่างๆ ?

    
    นั่งแล้วกำหนดเห็นแสงสีขาว แต่จะมีเหมือนรูปรอยเท้าอยู่ จะมีแสงกลมๆ ขนาดลูกมะพร้าวเป็นสีม่วง สีแดง สีเหลืองสลับกัน ลอยห่างออกไป กำหนดเห็นจุดขาวเล็กๆ แต่ถ้าเพ่งจะหายไป จะกำหนดอย่างไร ?
    -----------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    กำลังจะได้ที่ อย่าอธิบายว่าอะไรเป็นอะไรเลย กระผมจะถวายคำแนะนำวิธีปฏิบัติเลย

    ถ้าใครเห็นแสงเฉยๆ อยู่ภายนอก หรือเห็นดวงเฉยๆ อยู่ภายนอกแล้วหายไป จะเป็นสีอะไร ปล่อยครับ หลวงพ่อจงปล่อยเลย อย่าสนใจ ให้เหลือบตากลับนิดๆ กำหนดเป็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกายไว้


    ค่อยๆ นึกให้เห็นดวงใส ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น ใจเย็นๆ หยุดในหยุด กลางของหยุด แต่อย่าเพ่งแรง ถ้าเพ่งแรงแล้วหาย นึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงในน้ำ ถ้ากดแรงเกินไปก็จะกลิ้งหลุดมือ ถ้ากดค่อยเกินไปก็ไม่จมลง ต้องกดเบาๆ ตรงศูนย์กลางพอดีๆ

    เหมือนเมื่อครั้งพระอานนท์เถรเจ้าปฏิบัติธรรมเกือบตาย เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ท่านจะได้บรรลุธรรมก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 หนึ่งวัน พอถึงวันทำสังคายนาพระมหาเถระ ที่จะประชุมทำสังคายนาได้ให้จัดอาสนะเตรียมพร้อมไว้ให้ท่านอานนท์ ท่านปฏิบัติเต็มที่แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน สังขารของท่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการจัดงานถวายพระเพลิง สังขารไม่สบาย จิตใจจึงไม่สงบ ท่านจึงฉันยาระบาย สันนิษฐานว่าเป็นสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฉันแล้วระบายท้อง ระบายท้องแล้วสบายตัว ดึกแล้ว เอนกายในท่าพอเหมาะพอสบาย ก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานทันที ตื่นเช้าขึ้นมา ไปแสดงตนในที่ประชุมสงฆ์ทำสังคายนาด้วยวิธีปรากฏตัวขึ้นโดย ไม่ต้องเดินมาให้เห็น เพื่อแสดงความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา เพราะการทำปฐมสังคายนานั้น อาราธนาแต่เฉพาะพระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา* ทั้งสิ้น เพราะว่าทรงจำข้อธรรมต่างๆ ได้ด้วย ระลึกเหตุการณ์และเห็นแจ้งในพระธรรมได้ด้วยพระญาณ

    คำตอบที่ว่า เมื่อเพ่งไปที่จุดเล็กแล้วหายไป คงจะเข้าใจดีว่า ต้องมีความพอดี อย่าเพ่งแรง อย่าอยากเห็นเกินไป นั่นเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ระวังจิตใจอย่าให้ฟุ้งซ่านเผลอออกไป ก็จะจืดจางจากความเป็นสมาธิ ปล่อยใจให้ดิ่งลงที่กลางของกลางจุดเล็กใส ณ ศูนย์กลางกายเลย ปักดิ่งไม่ถอน ให้ปักดิ่งแต่ต้องเบาๆ สบายๆ ไม่เคร่งครัดเกินไป ดังที่หลวงพ่อท่านว่า “ต้องให้ถูกศูนย์ ถูกส่วน” แล้วจะได้ที่ เพราะฉะนั้นเรื่องอื่นไม่อธิบายละเอียด นึกกำหนดศูนย์กลาง ทุกอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน เดี๋ยวติด เห็นใสสว่างเลย อย่างนี้ไม่ช้า


    --------------------------------------------------------------------------------

















    * พระอรหันต์ประดับด้วยอภิญญา ด้วยปฏิสัมภิทานั้นก็คือ 1) อรรถปฏิสัมภิทา คือมีญาณหยั่งรู้ในเหตุ ไปถึงต้นๆ เหตุ 2) ธรรมปฏิสัมภิทา รู้ผล 3) นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้ภาษาหลายภาษา แม้กระทั่งภาษาสัตว์ และ 4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้การโต้ตอบปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น ตรงไหนควรย่อควรไหนควรขยาย พระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา มีอภิญญาด้วย มีญาณหยั่งรู้ เมื่อมี 4 อย่างนี้ คุณธรรมมีเพียบเลย ไม่ใช่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ หรือสุกขวิปัสสโก ยกตัวอย่าง ท่านพระจักขุปาล เทวดาเดินมา ท่านก็ยังไม่ทราบว่าเป็นเทวดา ต่อเมื่อท่านกำหนดจิตดู สังเกตได้ว่า นี่ไม่ใช่เป็นคนธรรมดา แต่เป็นพระอินทร์ เป็นท้าวสักกเทวราช แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทา เทวดาแปลงโผล่มาก็รู้ ก็เห็นได้เลย หรือไม่มาก็รู้ได้เลย
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เห็นนิมิตนอกตัว กับ เห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันอย่างไร ?

    
    เห็นนิมิตนอกตัว กับ เห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันอย่างไร ?
    -----------------------------------------------------

    ตอบ:


    เห็นนิมิตนอกตัวกับเห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันมากสำหรับผลการปฏิบัติ ยกตัวอย่างให้ฟัง

    แม้การปฏิบัติสายพุทโธ ก็ใช้นิมิตในตัว
    หลวงปู่มั่นท่านนั่งเห็นนิมิตเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสแจ่มในเบื้องต้น ท่านเห็นอยู่ข้างนอก ท่านก็ตามนิมิตไปเรื่อย จะเห็นอดีตก็ได้ เห็นอนาคตก็ได้ บางทีก็แม่น บางทีก็ถูก บางทีก็ผิด ถูกค่อนข้างมากเหมือนกัน ไปๆ ก็เห็นอดีตของตนเองก็ได้ หลวงปู่บอกว่า เอ ! เห็นอย่างนี้อยู่ตั้ง 3-4 เดือน ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเรื่องอะไรกันนี่ สรุปแล้วหลวงปู่มั่นก็ทราบว่า เห็นนิมิตนอกตัว ถูกหลอกได้โดยง่าย และมิได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน 4 หลวงปู่มั่นจึงเพ่งนิมิตเข้าไปในตัว ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” กระผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง ท่านก็สอนศิษยานุศิษย์ ถ้าเห็นนิมิตนอกตัว ให้พิจารณาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าไปตามนิมิตนั้น ตามไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีการกำจัดกิเลสสักที แต่นิมิตในตัว (กระผมได้ในเห็นประวัติของท่าน ซึ่งหลายท่าน คงได้อ่านประวัติแล้ว) ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” มีชาวป่าชาวเขาที่ท่านได้เคยไปพักห่างจากหมู่บ้านพอประมาณ ท่านเดินจงกรม ดูดวงใส ชาวป่าชาวเขาสังเกต เอ ท่านดูอะไรหนอ เลยมาถามท่าน “ตุ๊เจ้า ดูอันหยัง เดินหาอันหยัง” ท่านบอกว่า “เดินหาดวงพุทโธ” ชาวเขาถามท่านว่าตัวเขาอยากจะช่วยตุ๊เจ้าหาบ้างได้ไหม ท่านบอก “ได้ซิ หาเถิด ดวงพุทโธนี้พระพุทธเจ้าประทานมาให้ แต่บางทีมันก็หาย ต้องเดินหา” อุบายของท่านลึก แต่ว่าหาได้นะ หาได้ก็เป็นของตัวเอง คนป่าคนเขาก็หา ลองทำดูว่าทำอย่างไร ท่านก็ว่าพุทโธ สอนไป พวกเจ้าเหล่านั้น ไปเดินก็หาพบจริงๆ บางคนพบแล้วถึงธรรมกาย ในประวัติหลวงพ่อบอกว่าเจ้านี่ถึงธรรมกาย ท่านเล่า อยู่ในประวัติของท่าน ที่กระผมกล่าวนี้ เป็นเรื่องย่อ

    แม้ที่ปฏิบัติพุทโธ เขาก็เอานิมิตเข้าใน พิจารณาภายใน ไม่ได้เอาไว้ข้างนอก เหตุเพราะอะไร ? เพราะข้างนอกเป็นนิมิตหลอก เป็นกสิณ เป็นปฏิภาคนิมิต ติดปฏิภาคนิมิต บางครั้งมันจริงบ้าง มันเพี้ยนบ้าง เพราะเห็นจำคิดรู้มันไม่ได้ซ้อนกัน ฝรั่งเขาเรียก โฟกัสซ้อนกัน เหมือนเราปรับกล้องถ่ายรูป เหมือนแว่นแก้ว หรือแว่นสายตา จะปรับโฟกัสหรือจุดรวมแสง คล้ายกันอย่างนั้น ไม่ได้มีโอกาสปรับอย่างนั้น เพราะไม่ได้หยุด ณ ภายใน ไม่ได้หยุด ณ ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ซึ่งเขาตั้งอยู่กลางของกลางกันและกันตามลำดับตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม มันแตกต่างกันอย่างนี้ จึงไม่มีสภาวะจะไปพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม กิเลสก็ไม่หมด และการเห็นนิมิตภายนอกกายด้วยความเห็น (ด้วยใจ) ความจำ ความคิด ความรู้ บางครั้งก็เที่ยง บางครั้งก็เล่ห์ คือไม่ตรงตามที่เป็นจริง เพราะถูกภาคมารเขาสอดละเอียดให้เห็นนิมิตหลอกได้ง่าย

    เพราะฉะนั้น ให้ไปถามบูรพาจารย์ของเราที่ดีๆ ประเสริฐๆ ท่านต่างเพ่งไปข้างในหมดทั้งนั้น จึงจะถึงนิพพาน เพราะที่นั่นจะสามารถพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายในแบบเบื้องต้น คือ เอาปัจจัยในตัวเรา กายมนุษย์นี้แหละ เป็นปัจจัยในการน้อมนำกาย เวทนา จิต ธรรมของคนอื่นมาเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องพิจารณา ณ ภายนอก

    แต่ถ้าทำละเอียดไปๆ ก็เหมือนอย่างวิธีปฏิบัติของเรา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน

    แต่การจะเข้าถึงกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ต้องเหมือนขึ้นบันได ขึ้นบันไดขั้นที่ 1 เมื่อขึ้นไปยืนแล้ว เรายืนบนชั้นที่ 1 แล้วจึงก้าวขึ้นชั้นที่ 2 เอาชั้นที่ 1 เป็นฐาน จึงก้าวขึ้นชั้นที่ 2 ยืนอยู่บนชั้นที่ 2 เรียบร้อยมั่นคงแล้ว เอาชั้นที่ 2 เป็นฐาน ก้าวขึ้นสู่ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 ตามลำดับ ดังนี้ ใจก็เหมือนกัน ที่จะสะอาดบริสุทธิ์ ต้องอาศัยฐานที่ตั้ง ฐานในการพิจารณา ฐานในการกำจัดกิเลสเป็นชั้นๆ ไป กิเลสของเรา มีตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียด

    กิเลสหยาบ มี อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หนาเตอะ อยู่ในกายมนุษย์หยาบ
    กิเลสละเอียดต่อไป โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายทิพย์
    ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายรูปพรหม นี้ละเอียดไป
    ปฏิฆะ กามราคะ อวิชชา นั่นกิเลสละเอียดค้างอยู่ในใจของกายอรูปพรหม

    แต่ว่ากายหยาบลงมามีกิเลสทั้งหมดที่ละเอียดๆ ไปก็กิเลสที่เหลือๆ บางลงไปๆ จากกิเลสหยาบไปเป็นกิเลสละเอียดๆๆๆ อยู่ที่ไหน ? อยู่ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ นั่นเอง แต่เมื่อสุดละเอียดของกายรูปพรหม อรูปพรหม พ้นจากอรูปภพ นั่นเป็นธาตุธรรมบริสุทธิ์ที่ พ้นโลก คือ ธรรมกาย เพราะฉะนั้น จะเข้าถึงธรรมกาย เข้าถึงพระนิพพาน ต้องปฏิบัติภาวนาธรรม ให้ทั้งรู้ ทั้งเห็น และ ทั้งเป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ชำระกิเลสเป็นชั้นๆ ผ่านกาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายในละเอียดไปสุดละเอียดเป็นชั้นๆ ไป

    การจะไปรู้เห็นอย่างนั้น ใจจะต้องหยุดอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จึงไปพิจารณาเห็นอยู่ตรงนั้น คนไม่ได้ปฏิบัติก็ไม่รู้ เลยเหมาเอาว่าการปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายติดนิมิต นั่นเขาไม่รู้ว่า เมื่อเอาใจเข้าใน หยุดนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมแล้ว เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไปจนสุดละเอียด มันติดนิมิตเดิมที่ไหน ? คนพูดไม่รู้ พูดตำหนิเขาอย่างง่ายๆ นั่น ตัวเองไม่รู้ตัว เพราะไม่รู้ว่านิมิตเป็นอย่างไร

    นิมิตนั้นเรากำหนดขึ้นเพื่อรวมใจ เพราะสายตาเนื้อมองไม่เห็นว่าใจมีรูปร่างเป็นอย่างไร เพราะใจไม่มีรูปร่าง แต่ธาตุละเอียดเขามี เห็นได้ด้วยตาใน ตาเนื้อมองเห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องอาศัยอุบายวิธีรวมธรรมชาติของใจ 4 อย่าง คือ ความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มาหยุดข้างใน ก็ต้องให้นึกเห็นนิมิตข้างในไว้ นึกให้เห็นเครื่องหมายหรือนิมิต “นิมิต” แปลได้หลายอย่าง ความฝันก็ได้ สิ่งที่เห็นอย่างอื่น เรียกนิมิตก็ได้ นิมิตนึกให้เห็นเครื่องหมายหรือนิมิตด้วยใจ เรียกกำหนด "บริกรรมนิมิต" เป็นเครื่องหมายที่นึกเห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามาอยู่ในองค์บริกรรมนิมิต เมื่อใจค่อยๆ มาหยุดนิ่งแล้ว เห็นสิ่งที่เราเอามาเป็นเครื่องหมายนั้นใส แต่เห็นเดี๋ยวเดียวก็หาย เห็นได้ชั่วคราว เรียก อุคคหนิมิต

    ถ้าว่าใจแค่นึกเห็นได้บริกรรมนิมิต คือกำหนดนิมิตได้นั้น เป็นสมาธิอยู่ในระดับขณิกสมาธิ คือนิดหน่อย แต่พอเอาเกศา (เส้นผม) มาเพ่ง คือนึกให้เห็นด้วยใจ และบริกรรมภาวนา คือนึกท่องในใจว่า “เกศาๆๆ” จนกระทั่งเห็นเกศาใส เรียกว่าพอสามารถถือเอา “อุคคหนิมิต” ได้ นี้เป็นสมาธิในขั้น “อุปจารสมาธิ” ขั้นตอนนิมิตอันมีผลในเกิดสมาธิระดับต่างๆ เป็นไปอย่างนี้

    ถ้าจิตนิ่งสนิท เห็นใสแจ่ม ทีนี้เส้นเกศานิดเดียว จะขยายให้เท่าตึกนี้ก็ได้ ย่อลงมาเล็กนิดเดียวก็ได้ ใส อย่างนี้เรียก “ปฏิภาคนิมิต” นิมิตติดตา ลืมตาก็เห็น ยืนก็เห็น เดินก็เห็น หลับตาก็เห็น เรียกว่าได้ปฏิภาคนิมิต นี้เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ

    นิมิตนี้ตั้งแต่นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามา ใจก็ค่อยๆ หยุดเครื่องหมายเดิมที่คิดเห็น มาเป็นเห็นใส จากใสก็เห็นติดตา ติดตาติดใจ เป็นปฏิภาคนิมิต ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น นอนหลับไปแล้วตื่นมาก็เห็นอีก ก็อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น นิมิตเป็นเครื่องช่วยให้ใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงถึงอัปปนาสมาธิ โดยมีนิมิตหรือเครื่องหมายเป็นสื่อ ให้รวมใจมาหยุดมานิ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่ง ถ้าเห็นนิมิตอยู่ภายนอก นั้นเป็นปฏิภาคนิมิตล้วนๆ ภายนอกนั้น เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจ มันเล่ห์ได้ เช่นว่า พอใครเห็นนิมิตอยู่ภายนอก จะอธิษฐานเห็นอะไรๆ เดี๋ยวเดียวมันเห็น ใจลำเอียงนิดเดียวก็เห็น ตามที่ใจนึกลำเอียงไว้ก่อนได้ เพราะใจหยุดยังไม่จริง ไม่หยุดนิ่งจริง ความปรุงแต่งจึงยังมีได้ บางทีก็มีมากด้วย

    แต่การนึกให้เห็นด้วยใจในครั้งแรก เป็นอุบายวิธีที่กระทำขึ้น เพื่อรวมใจเข้ามา ตั้งแต่บริกรรมนิมิต นึกให้เห็นด้วยใจ อย่างนี้ไม่ผิด ถูกทีเดียว เป็นวิธีให้ได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ให้ได้สมาธิตั้งแต่ระดับขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ แล้วใจหยุดนิ่งสนิทจริงๆ เมื่อได้ปฏิภาคนิมิต ก็เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน

    คนที่เจริญสมาธินอกศาสนา กระทำสมาธิโดยไม่รู้ที่ตั้งของใจ เพราะเขาไม่รู้มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ไม่รู้วิธีเจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นเอกายนมรรคคือทางสายเอก ว่า ฐานที่ตั้งของใจควรจะอยู่ที่ไหน ก็ต้องอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เอง แต่เขาไม่เคยเห็น ก็เลยไม่รู้ว่าเอกายนมรรคอยู่ตรงไหน รู้แต่เพียงตัวหนังสือ นี่ความแตกต่างจากอ่านหนังสือกับการลงมือปฏิบัติภาวนา มันแตกต่างกันอย่างนี้ ประสบการณ์มันไม่มี จึงต่างกันตรงนี้

    ความจริงการเจริญภาวนาสมาธิมันมีตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณนานมาแล้ว ก่อนพุทธกาลก็มี แต่มันเป็นมิจฉาสมาธิ คือมิได้เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา มิได้เป็นไปเพื่อละกิเลส แต่ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีบุญบารมีจะพัฒนาวิธีปฏิบัติเข้าไปสู่จุดนี้เอง ได้แก่ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สด เป็นต้น ท่านจึงเอานิมิตเข้าไปพิจารณา ณ ภายใน

    หลวงปู่สดหรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านทราบเหตุและผล จึงได้ชี้แจงอธิบายออกมาเลยทีเดียวว่า เมื่อใจไปหยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จิตดวงเดิมตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสก็จะลอยเด่นขึ้นมา จิตนี้เป็น “วิสุทธิจิต” วิสุทธิจิตนี้มิได้เป็นเพราะการอ่านหนังสือแล้ว เรียกวิสุทธิจิต แต่ต้องรู้ต้องเห็น ต้องเป็นที่ใจซึ่งอยู่ท่ามกลางวิสุทธิศีล หรือศีลวิสุทธิ ศีลที่บริสุทธิ์อยู่ที่ใจ เจตนาความคิดอ่านผ่องใสอยู่ นั่นเป็นสีลานุสติ หลวงพ่อท่านเรียก “ศีลเห็น”

    ศีลเห็นเป็นอย่างไร ? ถ้าศีลมัวหมอง เห็นเลย ข้างใน ไม่ได้เรื่อง มัวหมอง ในใจนี่แหละ สีลานุสติ หรือ ศีลวิสุทธิ ตั้งอยู่ในท่ามกลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มนุษย์ละเอียดนี่เอง

    เมื่อใจไปจรดนิ่งอยู่ตรงนั้นเข้า ถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย จิตดวงเดิมตกศูนย์ ดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมา ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดวงใหม่ที่ผ่องใส เพราะฉะนั้น จิตดวงใหม่ ละคือปล่อยนิมิตไปแล้ว ดวงเก่าไปแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจดวงใหม่ จึงปรากฏขึ้นมา จึงไม่ใช่ปฏิภาคนิมิตดวงเดิมแล้ว เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย แล้วเขาก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป ถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดถึงธรรมกาย

    ถ้าจะนับว่า กรณีที่เห็นกาย ในกาย/ธรรมในธรรมนี้ เป็นนิมิต คือสิ่งที่สัมผัสและเห็นได้ เหมือนเรากำลังเห็นซึ่งกันและกัน เห็นอาคารบ้านเรือน เรียกว่านิมิตก็ได้ แต่เป็นการเห็นนิมิตของจริงโดยสมมติ เห็นของสมมติ จะเรียกว่านิมิตก็เรียกไป นิมิตนั่นแหละ สิ่งที่เห็นนั้นมีอยู่จริงในใจเรา ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของเรา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนา ในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบของกายเนื้อไปสุดละเอียด ของกายมนุษย์ ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย

    นิมิตในส่วนที่กล่าวนั้น ของโลกิยะตั้งแต่กายมนุษย์หยาบไปสุดละเอียด ไปถึงกายอรูปพรหม นั่นแหละเป็นของจริงโดยสมมุติ เป็น “บัญญัติ” ที่เราเรียกว่า “อ้อ นี่ตัวตนของเรา” บัญญัติขึ้น ที่แท้จริงไม่ใช่ตัวตนแท้จริง เป็นอนัตตา ตรงนี้แหละเข้าใจให้ดี

    ถ้าพ้นนิมิตที่เรียกว่า ตัวตนโดยสมมุติ หรือว่าของเราโดยสมมุติ พ้นสิ่งนี้ไปแล้ว เป็นกายธรรม เป็น “ธรรมกาย” นั้นเป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมนั้น ไม่ใช่ส่วนนิมิตที่เป็นสมมุติแล้ว เป็นธรรมในธรรมที่ละเอียดไปสุดละเอียดพ้นโลกแล้ว เพราะฉะนั้นให้เข้าใจ คนไม่เข้าใจ ก็บอกว่า “ติดนิมิต ติดธรรมกาย” ถ้าท่านได้ปฏิบัติถึงธรรมกาย เป็นธรรมกายแล้ว ท่านจะรู้ว่า ที่ด่ามา ท่านต้องรีบไปกราบขอโทษให้ทั่วนะ เพราะการปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วมีคุณมหาศาล นับประมาณมิได้ อย่าว่าแต่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายเลย ได้แค่ดวงใสอยู่ตรงศูนย์กลางกาย เห็นใสแจ่มอยู่ก็มีคุณมโหฬารแล้ว คุณค่ามหาศาล นับประมาณมิได้ สามารถจะปฏิบัติให้ถึงมรรค ผล นิพพานแม้ในชาตินี้ก็ได้ในเบื้องต้น ถ้าได้เพียงเห็นดวงใส ไม่ต้องพูดถึงธรรมกายหรอก ถึงอย่างไรก็จะต้องถึงธรรมกายจนได้แหละ เพราะฉะนั้น คนไม่รู้ พูดไปก็บาป เพราะธรรมกาย นั่นไม่ใช่นิมิตแล้ว จริงอยู่เห็นได้ สัมผัสได้ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ มีในนิพพานสูตร

    “อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ...”

    “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ที่ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มีอยู่ นะ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มิได้มีอยู่แล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งได้แล้ว กระทำได้แล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มีอยู่ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งได้แล้ว กระทำได้แล้ว จึงปรากฏ”

    นั้นเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่เรื่องสมมุติ ไม่ใช่เรื่องบัญญัติแล้ว พ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้น โปรดเข้าใจว่านั่นไม่ได้เรียกว่านิมิต ตรัสเรียกว่า “ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว...”

    ที่สถิตอยู่ของพระนิพพาน (คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว) ที่ดับขันธ์ (คือดับรอบ) เข้าปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สถานที่นั้นพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าอายตนะ พระพุทธดำรัสเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องนิมิตทั้งสิ้น

    นิมิตอีกคำหนึ่งคือ สุบินนิมิต ความฝัน

    สิ่งที่เห็นได้ สัมผัสได้ คือที่ชื่อว่า “นิมิต” ดังที่กล่าวมาแล้วเหล่านี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ส่วนธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้วและพระนิพพาน เป็นปรมัตถธรรม เป็นอสังขตธรรม นั่นเป็นอมตธรรม ชื่อว่าวิสังขาร มีสังขารไปปราศแล้ว หรือพ้นไปจากสังขารแล้ว มิใช่เรื่องนิมิต จึงต้องทำความเข้าใจให้ดีโดยทางปฏิบัติภาวนา

    กล่าวสรุปว่า การเห็นนิมิตนอกตัว อาจจะถูกหลอกได้ง่าย ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ อาจเล่ห์ได้ง่าย เห็นผิดพลาดได้ง่าย เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติภาวนาที่เห็นนอกตัว อย่างเช่น พวกฤๅษีชีไพร หรือแม้แต่พระธิเบต มหายาน ที่นิยมตั้งใจ ให้เห็นอยู่ที่กระหม่อม หรือเห็นที่หน้าผากก็มีโอกาสเห็นผิดจนได้ แต่ถ้าตั้งใจให้เข้ามาภายในตัว โอกาสพิจารณาเห็นถูกยิ่งมากขึ้น แต่ก็ไม่วายถูกปรุงแต่งมากมายหนักหนา ก็มีโอกาสพลาดได้เหมือนกัน รู้ไปไม่ตลอด รู้เรื่องธรรมกาย แต่รู้ไม่ตลอด เคยได้ยินว่าพวกพระธิเบตดั้งเดิมเขารู้ธรรมกายตลอด แต่มาหลังๆ มาชักไม่ตลอด นิมิตติดอยู่ที่หน้าผาก เขาเรียกว่า “ตาที่ 3”

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านมีประสบการณ์ ท่านทราบแน่ชัดเลยว่า นิมิตได้แก่ปฏิภาคนิมิต หรือแม้ตั้งแต่บริกรรมนิมิตก็เถอะ ท่านให้เอาใจเข้ามารวมข้างในแล้ว จิตไม่ปรุงแต่ง เมื่อจิตไม่ปรุงแต่งแล้ว กิเลสก็เบาบาง เมื่อกิเลสเบาบาง ธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ได้แก่ ธาตุละเอียดของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ก็จะซ้อนกันอยู่กลางของกลางกันและกันตามลำดับ เป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างใน ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ความเห็น จำ คิด รู้ ก็เที่ยงขึ้น ไปจนถึงคนที่ปฏิบัติภาวนาให้ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ถึงได้ปฏิภาคนิมิต หยุดนิ่งตรงนั้น จิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ ปล่อยนิมิตเดิมไป จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้น นั้นเป็นธรรมในธรรม และกลางธรรมในธรรม มีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด และยิ่งเมื่อเราเข้าถึงกายละเอียดๆ ที่หนึ่ง ก็ผ่องใส ทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม

    อาศัยใจของกาย เวทนา จิต และธรรม ที่ผ่องใสระดับนั้น เป็นพื้นฐานปฏิบัติให้ผ่องใสยิ่งขึ้นไปอีก หยุดนิ่งกลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปอีก เข้าสู่กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปอีก จนสุดละเอียดก็จะถึงธรรมกาย ทีนี้เหมือนกับแว่นขยายซ้อนกันอยู่ เป็นชั้นๆ โฟกัสตรงกัน เมื่อโฟกัสตรงกันตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม การเห็นอะไรๆ จะแม่นยำ แต่ที่ไม่แม่นยำ ก็คือว่า เคลื่อนศูนย์ เมื่อเคลื่อนศูนย์จิตก็ปรุง หลวงพ่อท่านบอกว่า กลางของกลางนั่นแหละถูกพระแล้ว ใครอยากเข้าถึงพระให้หยุด หยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป แต่ถ้าใครเอาใจออกนอกตัว ก็ถูกถิ่นทำเลของมาร เริ่มตั้งแต่จิตของเราออกไปยึดเกาะอารมณ์ภายนอก แล้วก็ปรุงแต่งอารมณ์นั้นๆ แต่เมื่อใจหยุดนิ่ง มันก็หยุดปรุง นี่ธรรมชาติของใจเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น การเอาใจไปวางไปหยุดไปนิ่ง ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือสองนิ้วมือนั้น ถูกศูนย์กลางกายในกาย เวทนา ในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานเลย เพราะฉะนั้น บางคนนั่งภาวนาๆ ไปจนจิตละเอียดขึ้นวูบหนึ่ง เห็นธรรมกาย เห็นพระนิพพานได้เลยก็มี บางคนนั่งไปเห็นดวงธรรม หยุดในหยุดกลางของหยุด ขยายดวงธรรม เห็นธรรมกายใสสว่าง ไม่ต้องผ่านกายมนุษย์ก็มี ข้อนี้ไม่เป็นประมาณ

    เพราะฉะนั้น จึงขอสรุปไว้เท่านี้ก่อนว่า ถ้าเอาใจออกนอกตัวนั้น เป็นถิ่นทำเลของมาร การเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ จะทำหน้าที่ปรุงแต่งได้มากขึ้น การเห็นอะไรๆ จึงไม่เที่ยงร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วก็มักจะผิดพลาดได้เสมอ จึงต้องให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายที่ใสละเอียดต่อๆ ไปจนสุดละเอียด จิตก็จะหยุดปรุงแต่ง ธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ก็จะซ้อนเป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างในตรงกันหมด ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบถึงสุดละเอียด จนถึงธรรมกาย และเป็นธรรมกาย และถึงพระนิพพาน ให้ได้รู้เห็นทั้งสภาวะของสังขารธรรมและวิสังขารธรรมตามที่เป็นจริง ให้เข้าใจจุดนี้ให้ดี นี้คือผลดีของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายที่ตั้ง “ใจ” ไว้ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    แท้ที่จริง กระบวนการของจิต เมื่อจิตดวงเดิมหยุดนิ่งตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม หยุดนิ่งถูกส่วน ก็จะตกศูนย์จากศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ถ่ายทอดกรรมเดิม ปรุงแต่งเป็นจิตดวงใหม่ (ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย) ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นธรรมชาติเกิดดับๆ อยู่อย่างนี้ นี่แหละได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของกาย เวทนา จิต และธรรมของสัตว์โลก

    เพราะฉะนั้น จึงแนะนำให้เอาใจมาหยุดตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมจริงๆ และเป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือ ใจเปลี่ยนวาระตรงนี้ ปรุงแต่งตรงนี้ หยุดปรุงตรงนี้ เข้าถึงมรรคผลนิพพานก็เข้ากันตรงนี้ เพราะเข้าด้วยใจ และด้วยธาตุธรรมละเอียด มิได้เดินเข้าด้วยกายภายนอก แต่เข้าด้วยใจ ใจที่รับรู้ ทางปริยัติเรียกว่า “วิญญาณ” เป็นแกนกลาง ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร ธรรมชาติอีก 3 อย่างของใจ อยู่ในกลางของกลางซึ่งกันและกันไปจนถึงวิญญาณ รวมเรียกว่า “ใจ”

    ใจนี้ เมื่อถึงอรูปพรหมละเอียด สุดละเอียดแล้วตกศูนย์ นี่แหละ “วิญญาณดับ” นั่นแหละ สุดละเอียดของวิญญาณของกายในภพ 3 จึงปรากฏ “ธรรมกาย” รู้ของธรรมกาย ไม่ใช่วิญญาณ แต่เป็นญาณ นี้แหละ ญาณหยั่งรู้ของธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ดับหยาบไปหาละเอียดจนเป็นธรรมกายที่ละเอียด ทีนี้แม่นยำนักเชียว แต่ถ้าเคลื่อนศูนย์เมื่อไร ก็หายแม่น หรือว่าโอ้อวด อยากจะอวด อยากจะโก้ อยากดัง จิตถูกปรุงด้วยกิเลสก็เคลื่อนจากศูนย์ออกมาจากธรรมกาย โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว พวกที่ธรรมกายมัวหมอง ไม่ก็ดับไปเลย ไม่รู้เท่าทันกระบวนการของจิต ไม่รู้เท่าทันกิเลส จึงบอกกัน ณ บัดนี้ว่า มาปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่มีการพยากรณ์กัน เว้นแต่ครูกับศิษย์ ไม่มีการพยากรณ์ว่า ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ข้างหลังจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครให้มาดูว่า พ่อแม่ไปอยู่ไหนนะ เราไม่พูด ที่วัดนี้ไม่ทำ และบอกต่อๆ กันว่า อย่าทำ เพราะใจท่านเริ่มออกไปถิ่นทำเลของมารแล้ว พอจิตปรุงปุ๊บ เดี๋ยวก็หลงลาภสักการะ เสร็จภาคมารเขาเท่านั้นแหละ ฉะนั้น จงจำไว้ เราปฏิบัติธรรมเพื่อกำจัดกิเลส

    อีกอย่างหนึ่ง โปรดทราบ คือว่า แม้ธรรมกายช่วยอะไรๆ ได้มากพอสมควร แต่ทุกคนต้องช่วยตนเอง มาศึกษามาปฏิบัติให้เป็นเอง ให้พอช่วยตนเองได้ เรื่องธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว จงตั้งใจทำเอง ให้มันเป็นเอง ให้มันเกิดเอง ถ้าจะขอความช่วยเหลือจากครูบาอาจารย์ ขอให้เป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ เพราะกิจสำคัญคือเรื่องกำจัดกิเลส ใครเขามาขอให้ช่วยทำอะไร ท่านจงอย่ารับทำให้ทั่วไป เพราะมารเขาสอดละเอียดให้มีภาระมากๆ เรื่องภายในมิใช่เรื่องธรรมดา ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายทั้งหลาย อย่าเมตตามาก อย่าไปตั้งสำนักรับทำอะไรๆ ถ้ามีเมตตามากเกินอุเบกขา ระวังจะกลายเป็นเมตตุ๊บ คือหล่นตุ๊บ ลงได้ง่ายมาก อย่าอยากดังทางนี้เลยครับ จงปฏิบัติภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสลูกเดียวครับ ให้เขาฝึกปฏิบัติเองครับ เพียงแต่ทำใจให้หยุดให้นิ่ง สัมมาอรหัง ตรงกลางของกลาง ก็ช่วยได้พอสมควรแล้ว ช่วยตัวเองได้มาก ถ้าใจหยุดนิ่งสนิท จนเห็นดวงใสแจ่มละก็ช่วยได้มากเลย แม้โรคภัยไข้เจ็บก็หายได้มากทีเดียว ถ้าทำวิชชาชั้นสูงยิ่งขึ้นไปอีกช่วยได้มากอีก เพราะฉะนั้น จงช่วยตัวเอง และแนะนำผู้อื่นให้ฝึกปฏิบัติให้เข้าถึงธรรม ในธรรม ถึงธรรมกายเอง ก็จะสามารถช่วยตัวเองได้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    การแสดงตนเป็นพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม เป็นไปได้หรือไม่ ?

    
    ถ้ามีพระภิกษุผู้สอนธรรม ได้แสดงแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม ให้เป็นที่เข้าใจในหมู่ศิษยานุศิษย์ว่า ท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุด จะให้ธรรมหรือจะให้ธรรมกายแก่ผู้ใด หรือไม่ให้ก็ได้ แล้วแต่ท่าน จะเป็นไปได้หรือไม่เพียงใดครับ ? และถ้าไม่จริงอย่างนั้น พระภิกษุผู้ที่พูดหรือแสดงให้เป็นที่เข้าใจในหมู่ผู้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมเช่นนั้น จะถือว่าท่านมุสาหรือเปล่าครับ ?


    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ปัญหานี้อาตมาจะขอแยกตอบเพียง 2 ประเด็นใหญ่ๆ ก็คงจะพอเข้าใจได้ตลอด คือ

    1.ถ้ามีพระภิกษุแสดงว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุด จะให้ธรรมหรือจะให้ธรรมกาย หรือจะไม่ให้แก่ใครก็ได้แล้วแต่ท่าน
    ข้อนี้ตอบได้เลยว่า ไม่จริง เป็นไปไม่ได้ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐสูงสุด เป็นที่ประจักษ์แก่พระสงฆ์สาวกผู้ศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมของพระองค์ท่าน ก็ยังไม่เคยแสดงพระองค์ว่าเป็นผู้ให้ธรรมหรือธรรมกายแก่ใคร มีแต่ทรงแสดงว่า พระพุทธองค์เป็นแต่ผู้บอกหรือชี้ทางให้ ธรรมเป็นเรื่องที่แต่ละบุคคลจะพึงบรรลุและรู้เองเห็นเอง

    มีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ชัดเจนว่า “... พราหมณ์ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกหนทางให้...” (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วยการศึกษาและการปฏิบัติเป็นขั้นตอน ข้อ 101-103)

    และโปรดดูในบทสรรเสริญพระธรรมคุณที่พุทธศาสนิกชนสวดกันเป็นประจำที่ว่า "สนฺทิฏฺฐิโก" อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง และ "ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ" อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ก็ไม่เคยปรากฏว่าท่านเคยแสดงไว้เช่นนั้น มีแต่ท่านแสดง (จากข้อความที่ถอดเทปไว้) ว่า ท่านศึกษาและปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่บวชมิได้หยุดเลย บัดนี้ (ขณะที่สอนและบันทึกเทปนี้) ทั้งเรียนและทั้งสอนด้วย ไม่เห็นว่าท่านได้เคยแสดงว่าท่านบรรลุธรรมสูงสุดแต่ประการใด

    แล้วยิ่งถ้าเป็นพระภิกษุที่มาบวชในพระพุทธศาสนานี้ เพิ่งจะได้มาเรียนรู้ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้าแต่เพียงครึ่งๆ กลางๆ บางส่วน จากที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านได้สั่งสอนถ่ายทอดไว้ดีแล้วทุกแง่ทุกมุม จะไปวิเศษวิโสกว่าพระพุทธเจ้า หรือแม้แต่กว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดวิชชานี้เอาไว้ก่อนแล้วได้อย่างไร

    ถ้าถึงขั้นจะให้ธรรมหรือให้ธรรมกาย หรือจะไม่ให้แก่ใครๆ ก็ได้ เช่นนั้นก็นับว่า พระภิกษุรูปนั้นทรงคุณวิเศษสูงกว่าพระพุทธเจ้าเสียอีก

    ถ้าเช่นนั้นลองขอให้ท่านเหาะเหินเดินอากาศให้ดูหน่อยปะไร เอาแค่คุณธรรมเพียงเศษธุลีพระพุทธเจ้าเท่านั้นแหละ หรือลองสังเกตภิกษุรูปนั้นดูว่า กิเลสประเภทโลภ โกรธ หลง เพียงขั้นหยาบๆ นี้แหละ ว่ายังมีอยู่ หรือว่าหมดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานแล้ว ถ้าเห็นว่ายังมีโลภ โกรธ หลงอยู่ ก็อย่าได้ไปหลงเชื่อ ถ้ามีพระภิกษุประเภทนี้นะ โกหกทั้งเพ

    2.ถ้าเป็นพระภิกษุได้แสดงออกให้ใครก็ตามที่เป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ให้ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ และเข้าใจความ ตามที่พระภิกษุนั้นกล่าวแสดงเช่นนั้นออกไปแม้เพียงครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกหรือการปฏิญญาโดยตรง หรือว่าจะเป็นการใช้เล่ห์ กโลบาย และการแนะนำธรรมในเชิงชี้นำให้ศิษยานุศิษย์เห็นเป็นเช่นนั้น ด้วยเจตนาจะอวดอุตตริมนุษยธรรมอันไม่มีจริงในตน ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ ภิกษุรูปนั้นย่อมต้องอาบัติปาราชิก ในฐานอวดอุตตริมนุษยธรรมอันไม่มีจริงในตนไปทันที ณ บัดนั้น.
    (ผู้ถาม: คุณโอภาส เครือวัลย์ 2530)
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เห็นนิมิตได้เพียงประเดี๋ยวเดียว นิมิตก็หายไป

    ------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ปัญหาของผู้ที่เห็นนิมิตเป็นดวงใสสว่าง หรือพระพุทธรูปที่ศูนย์กลาง แต่เห็นได้เพียงประเดี๋ยวเดียวก็หายไป หรือออกไปนอกตัว

    1.ปัญหาข้อนี้ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ยัง รวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไม่สนิท ใจซัดส่ายออกไปข้างนอกตัว จึงเห็นนิมิตเคลื่อนออกไปข้างนอกตัว นี้ประการหนึ่ง

    2.สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ปฏิบัติภาวนาอยากเห็นนิมิตมากเกินไป จึงพยายามบังคับใจจะให้เห็นนิมิตให้ได้ โดยเพ่งนิมิตแรงเกินไป ทำให้สมาธิเคลื่อน นิมิตจึงหายไป หรือเห็นนิมิตเคลื่อนออกนอกตัว
    ความอยากเห็นนิมิตเกินไปหรือเพ่งนิมิตแรงเกินไปนี้ จัดเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ทำให้จิตเคลื่อนจากสมาธิ จึงควรพึงสังวรระวังอย่าให้เกิดอารมณ์เหล่านี้ได้ โดยพยายามตรึกนึกให้เห็นนิมิตด้วยใจแต่เพียงเบาๆ และพยายามนึกให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม แล้วก็กลายของกลางจุดเล็กใสนั้นเข้าไปเรื่อย กลางของกลางๆๆ นิ่งเข้าไว้ ถ้าเห็นจุดเล็กใสนั้นสั่นรัวหรือเห็นนิมิตนั้นเคลื่อนที่ไปรอบๆ ให้พึงสังวรว่า สมาธิเคลื่อนเพราะเพ่งนิมิตแรงเกินไป แล้วให้พยายามแตะใจแต่เพียงเบาๆ ที่กลางของกลางต่อไปใหม่ พอเห็นจุดเล็กใสนั้นค่อยๆ นิ่ง หรือดวงใสสว่างนั้นหยุดนิ่ง ก็แปลว่า รวมใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็ให้ประคองใจหยุดในหยุดต่อไปอีก ไม่ช้าใจก็จะหยุดนิ่งได้สนิทเองแล้วจุดเล็กใสแจ่มบังเกิดขึ้นมาใหม่ ใสละเอียดยิ่งกว่าเดิมหรือเห็นกายละเอียดหรือกายธรรมปรากฏขึ้น ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางกายดวงใหม่ หรือกายใหม่ที่ปรากฏขึ้นนั้นต่อๆ ไปอีก
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ใช้ลูกกลมสีขาวที่เกิดขึ้นในใจ แทนการเห็นลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?

    
    การกำหนดลูกแก้วใสขึ้นในใจ ถ้าไม่สามารถเห็นเป็นลูกแก้วใสได้ จะสามารถใช้ลูกกลมสีขาวที่เกิดขึ้นในใจแทนการเห็นลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?
    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ได้ ใช้ได้เลย เรื่องการกำหนดลูกแก้วหรือดวงแก้วนั้น ถ้ากำหนดหรือเห็นได้เป็นดวงขาวที่ยังไม่ใส หรือนึกเห็นเป็นดวงแก้วใสก็ได้ หรือจะนึกเห็นพระพุทธรูปแก้วใสก็ได้


    แต่ที่ยังไม่ใสน่ะ เพราะใจยังไม่หยุดนิ่งเข้าไปที่กลางจุดเล็กใสที่กลางดวงขาวๆ ที่เห็นนั้น ถ้าหยุดนิ่งสนิทเข้าไป ณ ภายในแล้ว จุดเล็กใสตรงกลางดวงขาวนั้นจะขยายตัวเองออก แล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง

    ดวงขาวใช้ได้ เช่น ใครอาจจะติดใจลูกกอล์ฟ อาจจะนึกเห็นลูกกอล์ฟก็ได้ ไม่เป็นไร แต่ว่าเมื่อใจมันรวมลงหยุดนิ่งจริงๆ แล้ว จะเห็นใสขึ้นมาเอง แต่ในเบื้องต้นอาจจะต้องช่วยเล็กน้อย ด้วยการอธิษฐานขยายจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางดวงใส หรือดวงที่เห็นขาวๆ นั้น แล้วหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งๆ กลางของกลางๆ นิ่งๆ เข้าไว้ เมื่อศูนย์กลางนั้นขยายออก ก็จะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?

    
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?
    ----------------------------------------------------
    ตอบ:


    การปฏิบัติธรรม ณ ที่นี้หมายเฉพาะการปฏิบัติภาวนาธรรมนะ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ และมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกัน แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติทางจิตที่ต่อเนื่องกัน คือ

    ประการแรก คือ สมถภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งที่จะชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ หรือบางท่านเรียก นิวรณูปกิเลส นิวรณ์ ได้แก่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า แห่งจิต (ถีนมิทธะ) 1 ความลังเลสงสัยว่าวิธีนี้ถูกหรือไม่ถูกทาง (วิจิกิจฉา) 1 ความหงุดหงิดถึงโกรธพยาบาท (พยาปาทะ) 1 ความฟุ้งซ่านแห่งจิต (อุทธัจจกุกกุจจะ) 1 และ ความยินดีพอใจ ยึดมั่นหรือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย (กามฉันทะ) 1

    กิเลสนิวรณ์ดังกล่าวนี้ หากมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็ย่อมทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว ทำให้ไม่อาจเห็นอรรถ (เนื้อความธรรม) เห็นธรรม (ธรรมชาติตามสภาวะที่เป็นจริง) ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์นี้อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถพิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และสูงขึ้นไปถึงอริยสัจ ตามที่เป็นจริงได้แจ้งชัด

    กิเลสนิวรณ์เหล่านี้จะกำจัดได้ก็ด้วยองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร (ความตรึกตรองประคองนิมิต) สามารถกำจัดถีนมิทธะและวิจิกิจฉาได้ ปีติ และ สุข สามารถกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะได้ และเอกัคคตารมณ์ (ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) สามารถกำจัดกามฉันทะได้

    วิธีอบรมจิตเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌาน เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์นั้น เป็นที่ทราบและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทำสมาธิ” หรือ “การเจริญภาวนาสมาธิ” ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสมถกัมมัฏฐาน

    อุบายวิธีที่จะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌานนี้มีหลายวิธีด้วยกัน พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ 40 วิธี รวมเรียกว่า สมถภูมิ 40 วิธีปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายได้เลือกอุบาย 3 ประการขึ้นมาประกอบกัน เพื่อให้เหมาะแก่จริตอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติธรรมต่างๆ กัน และก่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติเป็นอย่างมาก อุบายวิธีทั้ง 3 นั้นก็คือ พุทธานุสติ อานาปานสติ กับ อาโลกกสิณ กล่าวคือใช้อุบาย

    1.ให้กำหนด “บริกรรมนิมิต” คือนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสด้วย “ใจ” ซึ่งเป็นส่วนผลเบื้องต้นของอาโลกกสิณ เพื่อเป็นอุบายรวมใจอันประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มาอยู่ในอารมณ์เดียวกัน โดยการนึก (วาดมโนภาพ) ให้เห็นดวงแก้วกลมใส จำดวงแก้วดวงใส คิดจดจ่ออยู่กับดวงแก้วกลมใส และรู้อยู่ ณ ภายในตรงศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น เพื่อให้ธรรมชาติ 4 อย่างของใจนั้น รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้นิ่งสนิท
    การนึกนิมิต บางคนจึงอาจนึกเห็นได้บ้าง บางคนก็นึกเห็นไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา แต่เมื่อ “นึกเห็น” ได้ที่ไหน ก็แปลว่า “ใจ” อยู่ที่นั่น แม้จะนึกเห็นได้แต่ก็ไม่ค่อยชัดนัก นี่เป็นเครื่องการนึกให้เห็นนิมิต เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจให้มาหยุดเป็นจุดเดียวกัน เพราะใจนั้นเป็นสภาพที่เบากวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านง่าย แต่รักษาให้หยุดนิ่งได้ยาก แต่ก็จะต้องอบรมให้หยุดให้นิ่ง มิฉะนั้นเมื่อมีกิเลสนิวรณ์อยู่ในจิตใจแม้แต่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจเห็นอรรถเห็นธรรมได้แจ่มแจ้ง
    2.ให้กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือให้ท่องในใจว่า “สัมมา อรหังๆๆๆ” ต่อไป เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งได้ง่ายเข้า เพื่อให้ใจมีงานทำ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส ที่ให้ใจนึกเห็นนั้นแหละ คำบริกรรมภาวนานี้จัดเป็น “พุทธานุสติ” กล่าวคือให้รำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ทุกขณะจิตว่า “เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์” (สัมมา = โดยชอบ, อรหัง = ผู้ตรัสรู้ ผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์)
    3.กำหนดฐานที่ตั้งของใจ กล่าวคือกำหนดจุดที่ให้เอาใจไปจดที่ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นจุดที่พักใจอันถาวร คือเวลาสัตว์จะไปเกิดมาเกิด หรือเวลาจะหลับ จะดับ จะตื่น จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นมาที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ณ ที่ตรงนี้ และ ณ จุดนี้ยังเป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีกด้วย กล่าวคือเมื่อจิตละเอียดหนักเข้าเพราะใจค่อยๆ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันนั้น ลมจะหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ 2 นิ้วมือนี้เอง ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะว่าจุดนี้เป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จึงมีลักษณะของ “อานาปานสติ” เพราะเป็นธรรมชาติของใจ เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน และลมหายใจละเอียดเข้าๆ แล้วลมจะหยุด ณ ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมพึงเข้าใจว่า เมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กันไว้เรื่อยนั้น ใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ จะมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กล่าวคือแรกๆ จะเห็นนิมิตเกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วก็หายไป เรียกว่าเห็นๆ หายๆ เรียกว่า “อุคคหนิมิต” อันมีผลให้ใจเป็นสมาธิบ้างเป็น ครั้งคราว จัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ต่อเมื่อเห็นนิมิตใสแจ่ม ติดตาติดใจ แนบแน่น จนนึกจะขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงก็ได้ นี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” อันนี้มีผลทำให้ใจหยุดนิ่งแนบแน่น จัดเป็นสมาธิขั้น “อัปปนาสมาธิ” อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์แห่งฌาน ทั้ง 5 คือ วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต (เห็นใสแจ่มอยู่ได้) และเกิดปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นธรรมชาติเครื่องเผากิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 ให้สิ้นไป

    การเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่มในช่วงนี้ ก็เป็นการเห็นผลของการอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิได้แนบแน่นดี ไม่ใช่เห็นด้วยการนึกเอา จัดเป็นการเห็นของจริง คือ “ปฏิภาคนิมิต” ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ใจหยุดนิ่งสนิท โดยอาศัยองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนา เป็นอุบายวิธีให้ใจมีที่ยึดเกาะ แล้วค่อยๆ รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ ทั้งนี้เมื่อกำหนดฐานที่ตั้งของใจให้หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายที่ 7 นั้น ถูกตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อีกโสดหนึ่งด้วย กำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด และโดยอาการของใจที่มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ตรงนี้ ธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุทั้ง 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ก็จะมาประชุมอยู่ ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เองด้วย มีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบคือของมนุษย์ ละเอียดไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะ คือ กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมของตนเอง เมื่อยิ่งละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จิตใจก็จะพลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สูงขึ้นไปถึงเห็น และเข้าถึงธรรมกายต่อๆ ไปตามลำดับจนสุดละเอียด

    การเห็นกายในกาย และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะนี้ ก็เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ” เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง เหมือนกับการเห็นมนุษย์ เช่นเห็นนาย ก. นาย ข. หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม แต่ยังไม่ได้ “เป็น” เพียงแค่ “เห็น” หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์ และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน

    ประการที่ 2 คือ วิปัสสนาภาวนา มุ่งที่การเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริงว่า ธรรมชาตินี้เป็นสังขารธรรม อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร ? (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) และมีสภาวะตามธรรมชาติหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอย่างไร ? ปัญญาเห็นแจ้งในขั้นนี้ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา” แล้วจะพัฒนาสูงขึ้นไปเป็นการเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง 4 คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ อันเป็นปัญญาขั้น “โลกุตตรปัญญา” ให้สามารถเห็นว่ามีธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานคือพระธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ว่าเป็นบรมสุขยิ่งตามที่เป็นจริงอย่างไร นี้จัดเป็นการเห็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรม ถึงขั้นนี้จึงเป็นการ “เห็นจริงแท้” เป็นการเห็นปรมัตถธรรม คือธรรมชั้นสูงสุด หรือเห็นธรรมชาติที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์

    อันที่จริง การเห็นของหรือธรรมชาติจริงโดยปรมัตถ์นั้น เริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อพระโลกุตตรมรรคญาณเกิด ให้หยั่งรู้การกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ ก้าวล่วงเข้าสู่ภูมิของพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันบุคคลขึ้นไปนั่นแล้ว แต่มาเห็นชัดแจ้งที่สุดเมื่อถึงพระนิพพาน เมื่อพระอรหัตตมรรคญาณเกิด เป็นการเห็นของจริงธรรมชาติจริงๆ ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายสังขตธาตุสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แล้ววางอุปาทานได้หมด) กับฝ่ายอสังขตธาตุ อสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระนิพพานอย่างแท้แน่นอน

    กล่าวโดยสรุป

    1.การนึกนิมิตเป็นเพียงอุบายวิธีการอบรมจิตใจให้มารวมอยู่เสียที่บริกรรมนิมิต เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวกันตรงจุดเดียวกัน นี้นับเป็นการเห็นที่ยังไม่จริง
    2.ต่อเมื่อเกิดอุคคหนิมิตจึงนับเป็นการเห็นนิมิตจริง เพราะเป็นการเห็นขณะที่ใจหยุดนิ่ง ไม่ได้คิดเห็น แต่เป็นการเห็นนิมิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยอุบายวิธีดังกล่าว และมีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถได้เห็นและได้ยินหรือสัมผัสสิ่งที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสายตาเนื้อมนุษย์ หรือประสาทหูมนุษย์จะสัมผัสรู้ได้ นี้ก็เป็นการเห็นของจริง เช่นเดียวกันกับตาเนื้อเห็นกายมนุษย์ หรือประสาทหูได้ยินเสียงที่เราพอได้ยินกันได้ ทั้งหมดนี้ถ้าจะพูดกันในภาษาธรรมก็ชื่อว่า เป็นการเห็นจริงโดยสมมุติ คือเห็นสังขารทั้งหยาบและทั้งละเอียด
    3.การเห็นพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง สูงขึ้นไปถึงการเห็นอริยสัจและเห็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานตามที่เป็นจริง จึงนับเป็นการเห็นแท้จริงโดยปรมัตถ์
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน

    
    อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน ?
    -------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    จะขอตอบในประเด็นที่บรรลุธรรมเร็วช้าต่างกัน เนื่องด้วยบำเพ็ญบารมีมาต่างกัน เสียก่อน

    บางท่านอธิษฐานบารมีเป็นปกติสาวก ก็บำเพ็ญบารมีเต็มเร็ว และการบำเพ็ญบารมีไม่ต้องยิ่งใหญ่ จึงเต็มเร็วและบรรลุได้

    ผู้ที่บำเพ็ญบารมีสูง ผลของการบรรลุก็ต่างกัน และอัธยาศัยของสัตว์โลกที่สั่งสมมาก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวิธีการบำเพ็ญบารมีก็ไม่เหมือนกัน บางคนบำเพ็ญด้วยศรัทธามาก บางคนบำเพ็ญด้วยวิริยะมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสติมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสมาธิมาก บางคนบำเพ็ญด้วยปัญญา คืออินทรีย์ความเป็นใหญ่ในการบำเพ็ญบารมีไม่เท่ากัน เหตุแห่งการพิจารณาสภาวธรรมและบรรลุในข้อธรรมต่างๆ กัน จึงเป็นไปด้วยอินทรีย์ไม่เหมือนกัน เช่นบางคนรักสวยรักงาม การบำเพ็ญบารมีเป็นไปด้วยศรัทธาจริต อย่างนี้ถ้าได้พบพระพุทธเจ้า กัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ที่รู้อัธยาศัย รู้อินทรีย์ว่าแก่กล้าด้านไหน ? ก็จะสามารถชี้แนะในจุดนั้นที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีต ยกตัวอย่างเช่น มีลูกศิษย์พระสารีบุตร อยู่ในสำนักของพระสารีบุตร เป็นผู้รักสวยรักงาม พระสารีบุตรเห็นว่ารักสวยรักงามจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน ทำอย่างไรก็ไม่บรรลุ จึงพาลูกศิษย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของคนๆ นี้ เดิมเป็นช่างทอง ชอบทำดอกบัวสวยๆ พระพุทธเจ้าเลยให้ดอกบัวเป็นนิมิต ให้พิจารณากัมมัฏฐานคือดอกบัวว่าสวยขึ้นมาอย่างนี้ และพระพุทธเจ้าได้โอภาสแสงสว่างไปด้วยพระฤทธิ์ให้ดอกบัวมันสวย ช่างทองถูกใจมาก ใจจดจ่อจนใจเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคง และใจหยุดนิ่ง พอใจหยุดพอเหมาะ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นด้วยพระฤทธิ์ว่า ดอกบัวเหี่ยว ค่อยๆ เหี่ยวแห้งไป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บรรลุเลย นี่ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ แปลว่าทรงมีอาสยานุสยญาณ และอินทริยปโรปริยัติญาณ ซึ่งเป็นญาณสำคัญของพระพุทธเจ้าเพื่อใช้ในการโปรดสัตว์

    พระพุทธเจ้ามีพระญาณทั้ง 2 ซึ่งบำเพ็ญมานาน อินทริยปโรปริยัติญาณ คือญาณหยั่งรู้อินทรีย์ของสัตว์ว่า สัตว์บำเพ็ญมาแก่กล้ามาทางไหน ทางศรัทธา ทางวิริยะ ทางสติ ทางสมาธิ หรือทางปัญญา ซึ่งอินทรีย์นั้นจะแก่กล้าเป็นพละ จึงชื่อว่า อินทรีย์ 5 พละ 5 ซึ่งจะมีผลให้ข้อธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เป็นโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ เจริญให้สามารถตรัสรู้พระอริยสัจ 4 เป็นพระอรหันตขีณาสพได้

    และทรงมีอาสยานุสยญาณ รู้อัธยาศัยของสัตว์ว่าบำเพ็ญมาอย่างไร พระองค์จะให้ข้อธรรมที่ถูกทั้งอินทรีย์ที่เคยสร้างสมอบรมมาและอัธยาศัยของบุคคล และครูบาอาจารย์มีสิ่งนี้ก็ช่วยได้บ้างครับ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    โทษที่ทำให้ผู้อื่นตื่นจากสมาธิ เป็นอย่างไรบ้าง ?

    
    ขณะที่ผมตั้งใจนั่งสมาธิอยู่นั้น มีผู้ไม่ตั้งใจนั่งสมาธิอยู่ข้างๆ ส่งเสียงรบกวนบ้าง จนบางครั้งผมพลอยเสียสมาธิไปด้วย ผมอยากทราบโทษที่ให้ผู้อื่นตื่นจากสมาธิ เป็นอย่างไรบ้างครับ ?--------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    การทำให้ผู้อื่นตื่นจากสมาธิ บอกได้เลยว่ามีโอกาสไปเกิดในอบายภูมิ เช่น อาจจะไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน 2 อย่างนี้ก็ได้ เพราะโมหะของตัวเอง ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ เพราะฉะนั้นให้รู้ไว้ ไม่ว่าพระสามเณร


    หรือโยม ทำอะไรให้คนอื่นเขาตื่นจากสมาธิ อุปมาดังว่า เทียนเขากำลังจุดกำลังต่อเทียน กำลังสว่างขึ้น ท่านเองไม่มีเทียน มืดอยู่แล้ว ไปดับเทียนคนอื่นอีก ตัวเองมืด 2 เท่าฉันใด คนที่ทำให้คนอื่นตื่นจากสมาธิก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน

    เพราะเหตุนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านได้เคยแสดงธรรมไว้ว่า มีฤาษีหรือโยคีกำลังเจริญภาวนาอยู่ นกเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่แล้ว อยู่บนกิ่งไม้ โผบินกระพือปีกที่จะบินไปพรึบๆ แล้วทำให้ฤาษีตื่นจากสมาธิ นกตัวนั้นตายแล้วลงต่ำลงไปอีก ไปอบายภูมิที่ต่ำลงไปกว่านั้นอีก (เข้าใจว่าเป็นสัตว์นรก) บอกได้เลยว่า แม้ระหว่างที่มีชีวิตอยู่ต่อไปนี้ เมื่อผลกรรมตามทันก็อาจให้ผลเป็นคนหูหนวกเร็ว

    เพราะฉะนั้นอย่านึกว่าเป็นเรื่องล้อเล่น การมาปฏิบัติธรรมที่นี่ อาตมาขอเจริญพรบอกญาติโยมให้ทราบ และบอกให้ลูกเณรทั้งหลายรู้ด้วยว่า ใครทำให้คนอื่นตื่นก็เป็นบาปมาก โยมส่วนใหญ่ก็ไม่มี ถ้าจะมีก็คงเป็นเด็กๆ สามเณร บอกห้ามเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อ ก็เหมือนกับเด็กที่มองเห็นถ่านเพลิงที่แดง แต่ไม่รู้จักว่านั้นคือถ่านเพลิง เข้าไปกำตะปบเข้า ไฟก็ไหม้มือ ยิ่งโมหะไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ก็เหมือนเด็กที่ไม่รู้ว่านั้นเป็นไฟ และก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไงถึงจะหายร้อน ก็กำใหญ่เข้าไปเลย นี่แหละผลกรรมนำลงต่ำ เหมือนก้อนศิลาที่ตกลงไปในบ่อที่ไม่มีก้น ยากที่จะโงหัวขึ้นมาสู่โลกมนุษย์ เพราะฉะนั้นให้รู้สึกตัวไว้ คนที่ทำผิดแล้วก็จงขอขมาเขาเสีย ถ้าใครอยู่ใกล้ๆ ไปทำอะไรให้เขาตื่น เพราะฉะนั้น มาที่นี่ ทำดีก็ดีเลิศ ถ้าทำไม่ดีก็ได้ผลเสีย เพราะเรื่องธรรมปฏิบัติไม่ใช่เรื่องธรรมดา นี้เป็นกัมมัฏฐาน เป็นเรื่องใหญ่ เป็นบุญกุศลใหญ่ เหมือนกับว่าเป็นระเบิดที่มีอานุภาพสูงเอาไว้ใช้เข่นฆ่าศัตรู คือ อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นทางมรรค ผล นิพพาน เป็นไฟฉายดวงใหญ่ เพราะฉะนั้นถ้าทำไม่ดี ระเบิดลูกนั้นแหละจะระเบิดโดนตัวเองเลยแหละ เพราะฉะนั้นให้สำรวมเอาไว้ อย่าล้อเล่นนะ

    ดังตัวอย่างผลของกรรมประเภทนี้ ได้มีผู้ส่งจดหมายมาถึงอาตมาในเวลาเดียวกันนี้ ว่าอย่างนี้

    “ข้าพเจ้านายมนตรี ตั้งจิตรมณีศักดา ขออโหสิกรรมต่อหลวงป๋าและพระธรรมกาย ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

    เนื่องจาก ข้าพเจ้ามาปฏิบัติธรรมที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ได้ทำรถยนต์ติดหล่มเสียงดังรบกวนสมาธิผู้ที่กำลังนั่งสมาธิ (ประมาณปี 2530 สมัยที่หลวงพ่อสังเวียนอยู่ประจำที่สถาบันฯ) ทั้งที่หลวงป๋าขอร้องทางเครื่องขยายเสียงแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็มิได้หยุดรถ เหตุผลเพราะพวกข้าพเจ้าเลอะโคลนหมดทุกคน ฝนตกทุกวัน รถจึงติดหล่ม จึงขัดคำสั่งหลวงป๋าโดยมิได้ตั้งใจ ต่อมาข้าพเจ้าก็ได้รับความทุกข์ทรมานจากเสียงที่รบกวนจากข้างบ้าน เป็นเวลานาน และต่อมาเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2541 นี้ ข้าพเจ้าก็ทนเสียงรบกวนไม่ไหว ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร จึงนั่งสมาธิ และข้าพเจ้าเองรู้แล้วว่า เสียงรบกวนต่างๆ นั้นเป็นวิบากกรรมของข้าพเจ้า ที่ทำเสียงรถยนต์ดังรบกวนผู้ที่กำลังนั่งสมาธิ (ที่สถาบัน)

    ข้าพเจ้าจึงขอให้หลวงป๋า และพระธรรมกาย อโหสิกรรมให้ข้าพเจ้า ถ้ากรรมครั้งนี้พอจะอภัยให้ได้
     
  19. ดวงแก้วตา

    ดวงแก้วตา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +23
    ตอนุปฏิบัติช่วงที่เห็นดวงแก้วใหม่ๆ ทำยังไงก็เข้ากลางไม่ได้ หาจุดศูนย์กลางไม่เจอ กำหนดจุดศูนย์กลางก็ไม่ได้ คงเพราะเราไม่ได้เอาใจไปวางไว้ตรงกลางของดวงแก้ว หรือวางแล้วไม่นิ่ง ไม่สนิท ไม่หยุด เป็นอยู่แบบนี้นานมากค่ะ ทำให้นึกถึงคำที่หลวงปู่สดสอนไว้ว่า "ประกอบเหตุ สังเกตุผล ทนเอาเถิด ประเสริญนัก" เราโง่ไปตั้งนานแน่ะคะ อย่างไรเสียถือว่าเป็นการเรียนรู้ หากท่านใดติดตรงนี้ ลองพิจารณาดูนะคะ

    ดวงแก้วที่เห็นในกลางกาย แต่ละครั้งไม่เหมือนกันเลยค่ะ เคยคิดว่าจำดวงแก้วนี้ไว้ แต่พอเห็นในกลางกายไม่เหมือนเลย แต่ละครั้งก็ดวงเล็ก ดวงใหญ่ ใสบ้างไม่ใสบ้าง แตกต่างกันตลอด บางครั้งใสเหมือนแก้ว แต่ไม่มีความแวววาว บางครั้งเป็นดวงแก้วขาวๆ มีรัศมีด้วย ครูที่นำเดินวิชชาได้เมตตาบอกว่า ตอนจบให้ใสสว่างก็พอ
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เดินสมาบัติ ดูอริยสัจจ์สี่ สรุปง่ายๆ เฉพาะตัวบางท่าน(ที่สอบถามมา ไม่เข้าใจศัพท์ในคัมภีร์ )


    1.ดับหยาบไปหาละเอียดซ้อน สับ ทับทวี เดินสมาบัติไปกลับสลับฌาณนับไม่ถ้วนจนตกศูนย์เข้านิพพานองค์ปัจจุบัน และเข้านิพพานองค์ต่อๆไปย้อนหลังไปนับไม่ถ้วน

    2.เมื่อใสสะอาดเป็นประกายไร้อณูผงฝุ่นดำแล้ว อาศัยญาณพระธรรมกายดูอริยสัจจ์ที่กลางดวงธรรมกายมนุษย์ก่อน

    -เห็น 4ดวงใสเป็นดวงเห็น จำ คิด รู้

    -มองกลางสุดละเอียดของเห็นจำคิดรู้ จะเห็นดวงอริยสัจจ์

    ดวงแรกเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทรเป็นดวงเกิด จะเห็นข่าวใส เป็นดวงที่นำมาเกิดในกาย
    มนุษย์ของบิดามารดา
    ดวงที่สองเรียกว่าดวงแก่ จะมีสีเทาไปจนดำ ตามอายุของกายเนื้อ ถ้าหมั่นเจริญอิทธิบาทหรือสมาธิก็ประทังให้แก่ช้าได้
    ดวงที่สามเรียกว่าดวงเจ็บ จะมีสีทาไปจนดำ ตามอาการเจ็บป่วย ถ้าเห็นให้รีบแก้ไข
    ดวงที่สี่เรียกว่าดวงตาย มีสีดำนิล ถ้ามาจรดกลางดวงธรรมกายมนุษย์เมื่อไร มีอันตรายสุงมาก กายภายในใกล้ขาดจากกายมนุษย์แล้ว


    ดวงอริยสัจจ์ข้อแรกคือดวงทุกข์ ซึ่งแยกเป็น4ดวงย่อยคือเกิดแก่เจ็บตายนี้ มีในทุกกาย
    เว้นจากธรรมกาย



    2.ต่อไป ดวงสมุทัย จะอยู่กลวงดวงทุกข์ หรือ ซอนในกลางที่ละเอียดของดวงทั้ง4 เกิดแก่เจ็บตาย แยกเป็นสามดวงย่อยคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    ให้เข้ากลางไปจนสุดละเอียดกลางดวงนี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ......

    3. เกิดดวงนิโรธ (สภาพที่ทุกข์ดับ)
    4.เข้ากลางดวงนิโรธ จะเห็นดวงมรรค ( ศีล สมาธิ ปัญญา)


    ดวงนิโรธ และมรรค จะขาวใสสว่างมาก


    เห็นเช่น่นี้แล้ว ดับหยาบไปหาละเอียดไปเป็นธรรมกายที่ละเอียดขึ้นเรือ่ยๆๆๆๆๆๆ
    จนดับสมุทัยไปเรื่อยๆ แม้เป็นการดับชั่วคราว ก็ให้เจริญไป เพื่อเกิดปัญญาที่เพิ่มพูนประหารกิเลส อาสวะ ไปเรื่อยๆ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...