เรื่องเด่น ทางเดินของจิต (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) ศิษย์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธีระนะโม, 13 ธันวาคม 2017.

  1. ธีระนะโม

    ธีระนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,239
    ?temp_hash=6f233a78735bce1b4eba3fa65d90c9ad.jpg
    พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปํญโญ)
    วัดธาตุมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
    หลวงปู่เทศน์อบรมนักปฏิบัติกัมมัฏฐาน
    ที่วัดป่าอรัญญคาม ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    เทศน์เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๓


    ในการปฏิบัติธรรมนี้ นายแพทย์ผู้ฉลาด ผู้ชำนาญ รู้จักประกอบเภสัชคือ ธรรมโอสถ
    จะกำจัดโรคภายในของนักปฏิบัติทั้งหลาย ก่อนอื่นจะต้องถามสมุฏฐานของโรคของนักปฏิบัติเสียก่อน จึงจะแก้ไขได้
    บางคนก็จิตใจฟุ้งซ่าน คิดถึงอดีต คิดถึงบ้านช่อง คิดถึงการถึงงาน บางทีก็ปรารภถึงอนาคต ว่าจะเป็นอย่างไร บางคนก็บอกว่าเวทนาเกิดขึ้นเป็นต้น อันว่าเวทนานั้น มันมีอยู่ ๓ อย่าง คือ เรามีความสุขกายสุขใจ ก็เป็นสุขเวทนา เรามีความทุกข์กายทุกข์ใจ ก็เป็นทุกขเวทนา เฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เป็นอุเบกขาเวทนา จะเป็นสุขก็ดี จะเป็นทุกข์ก็ดี
    อุเบกขา ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี ให้กำหนดพิจารณาว่า เวทนามันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเกิดได้ดับได้ เป็นของธรรมดา เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว ก็ถอนจิตออก อย่าไปคิดถึงมัน อารมณ์ทางไหนก็ตาม
    อารมณ์ทางตา เมื่อตามองเห็นรูป รูปดี หรือ ไม่ดีก็ตาม ให้กำหนด ให้รู้ทัน เมื่อเห็นรูป กำหนดในใจว่า “รูป” ถ้ามันเกิดแสงสว่าง เป็นสีขาว สีแดง สีดำ สีเหลือง สีอะไรก็ช่าง มันเกิดขึ้นปรากฏในตา บางคนเกิดแสงสว่างขึ้น กำหนดว่า

    “แสงสว่าง แสงสว่าง”
    ไม่ได้ ไม่ถูก มันต้องกำหนดว่า “สี” อย่างเดียว มันเกิดได้ดับได้แล้ว มันก็จะหายไปเอง
    เมื่อมันหายแล้วก็ปล่อยจิต จิตอย่าไปยึดไปถือ ให้วางให้ปล่อย แล้วบริกรรมไปเรื่อย ๆ
    เราเห็นแล้วกิเลสในใจของเรา ก็เรียกว่า เห็นด้วยปัญญาของเรา เราเห็นมันเกิดขึ้น เราก็ดับมันได้ กำหนดทัน ถ้าเราไม่เห็น หมายความว่ามันเกิดขึ้นเราก็ไม่เห็น ไม่ได้กำหนด ก็เรียกว่าไม่รู้ไม่เห็น อันนี้มัน
    เป็นตัวหลอก เป็นตัวไม่ใช่ของจริง มันหลอกล่อให้เราหลงทาง
    สมมุติว่าเราเดินทางเท้า ตามถนนหนทางเห็นป่าไม้ เห็นห้วยหนองคลองบึง เห็นสะพาน ตลอดไปถึงเมืองนครพนม เมื่อเห็นต้นไม้ก็หยุดแวะอยู่อย่างนั้นไม่ไป ไปดูอยู่แล้วไป ไม่ต้องดูอยู่อย่างนั้น อันนี้ก็เช่นเดียวกัน
    เดินทางทางจิต มันก็มีการเห็นอย่างนี้ เดินทางทางเท้าเห็นอย่างไร เดินทางทางจิตเห็นอย่างนั้นเหมือนกัน
    กิเลส ของจิตมันเกิดขึ้น เพราะจิตนี้ มันกินอารมณ์ตลอดเวลา มันไม่ได้พัก มันนึกว่ามันคิดอยู่อย่างนั้น
    มันกินอยู่ตลอดเวลา แต่ตัวเองคิด ตัวเองนึก ตัวเองไม่รู้ รู้แต่การคิดเท่านั้น แต่ตัวที่มาบอกให้รู้คือ
    ตัวสติกับตัวปัญญา อันนี้คิดผิดนะ อันนี้คิดถูกนะ อันตัวเองคิดไปเฉย ๆ เพราะมีหน้าที่อย่างนั้น
    ดวงปัญญามันเกิดไม่ได้ เพราะจิตมันนึกไปตามอารมณ์ของมัน คือ อารมณ์ของจิตนี้ จำพวกอุปกิเลสทั้งหลาย มันโลมจิตโลมใจไว้ มองอะไรไม่เห็น ตัวปัญญาไม่เกิด เหมือนกับว่าควันเมฆหมอกมันโลมตาของคน คนก็มองไม่เห็นอะไร ตาใน
    คือดวงปัญญา ถ้ากิเลสทั้งหลายมาติดแล้ว มันก็มองไม่เห็น มันเป็นอย่างนั้น
    เมื่อเราปฏิบัติไป ตัวอันนั้นมันต้องเกิดขึ้นมาถ้าจิตสงบ ถ้าจิตไม่สงบก็มีแต่เวทนาอย่างเดียว มันก็ทุกขเวทนาเองอยู่เรื่อย เพราะมันไม่สงบ ถ้าสงบแล้วมันลืมไปหมด ตัวเวทนามันลืมไปหมด
    มันเฉย มันมีแต่อุเบกขาเวทนานาน ๆ เข้า อุเบกขาก็ไม่มี จิตสงบเป็นภวังค์ จิตสงบแล้ว มันเลยจากเอกจิต
    สู่สภาวะแห่งความสงบเรียบร้อย อันเป็นความสุข อย่างยิ่ง หมายความว่าเข้าไปในองค์ญาณ พอออกจากนั้น ออกมาอีกแล้ว
    ตามันจะเห็นรูป หูจะได้ยินเสียง จมูกจะได้กลิ่นอีก ทีนี้มันจะสะเทือนแล้วนะ กิเลสที่มันนอนอยู่มันจะขึ้นมาอีก ก็ต้องกำหนดอีก เฉพาะญาณมันละกิเลสไม่ได้ เพียงแต่กลบให้มันอยู่เท่านั้น ไม่ให้มันเกิดขึ้น
    เวลาที่ปฏิบัติอันที่ตัดกิเลสได้ คือ“ตัวปัญญา” จึงว่าการพิจารณา การเห็น อารมณ์อะไร ก็ให้กำหนด ให้รู้ ให้รู้ทัน เห็นรูปกำหนดรูป ได้ยินเสียงกำหนดเสียง ได้กลิ่นกำหนดกลิ่น ได้รส กำหนดรส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ที่มาสัมผัสกายนี้ ถ้ามันเย็น ก็กำหนดเย็น ถ้ามันร้อน ก็กำหนดร้อน แข็งก็กำหนดแข็ง อ่อนก็กำหนดอ่อนดังนี้เป็นต้น กำหนดไปเรื่อยๆ ให้มันรู้ เมื่อรู้แล้วก็ปล่อยวาง อย่าไปยึดถือ ถ้าไปยึดอยู่ มันก็เป็นอุปาทาน มันติดแล้ว เรียกว่าถอนมันไม่ขึ้น คล้าย ๆ กับว่ามันมีตออยู่ทุ่งนา ไปเห็นตอแล้วขุดถอน มันไม่ได้ ก็ปล่อยมันไว้ ขุดไม่ออกก็ปล่อยมันไว้ มันก็อยู่ในนั้น เดี๋ยวมันก็สะดุดคันไถ อันนี้ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเห็นแล้วก็ต้องกำหนด
    เออ ! อันนี้รูป กำหนดรูป อันนี้เสียง กำหนดเสียง แล้วก็วางเสีย การวางหมายความว่า การถอน การวาง การปล่อย การไม่ยึดเป็นอย่างนี้ ตัวสำคัญคืออย่างนี้
    มันเกิดเวทนา ก็ให้กำหนดเวทนา ให้รู้ ให้ทัน ถ้าเรา ไม่กำหนด ไม่รู้
    ไม่เห็น มันเป็นอย่างนั้น เหมือนคนตาบอด ถ้ามาในหู ไม่มีกำหนด
    ในหู คือ คนหูหนวก มาทางจมูก ไม่กำหนด คือคนจมูกไม่มีกลิ่น


    ถ้ามาทางลิ้นก็ไม่กำหนดลิ้นไม่มีรสอะไร จึงว่าถ้ามันเกิดขึ้นในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร ทั้ง ๖ นี้ เกิดอันใดรู้หมด ตัวรู้เป็นตัวสำคัญที่เราเอง ถ้าไม่รู้ ทำอะไร
    ก็ไม่เป็น เหมือนคนตาบอดเดินทาง คนตาบอดไม่รู้จักตอไม้ก็ชนตอไม้
    ไม่รู้จักหล่มก็ตกหล่ม ก็มันไม่เห็นนี่ ถ้าคนตาดีแล้วเขาจะชนเข้าก็ดูแล้วหลีก อย่างนี้เหมือนกัน ถ้าคนมีปัญญา มันไม่ชน มันไม่ข้อง เห็นมันก็ปล่อย เห็นมันก็วาง มันไม่ยึด มันไม่ถือ ทีนี้ก็สบายไป

    ท่านนักปฏิบัติธรรมที่มีน้ำใจสวยงามทั้งหลาย อันนี้เราเป็นลูกตถาคตเป็นลูกของพระพุทธเจ้า
    ตระกูลของเราเป็นตระกูลอริยะวงศ์ คือวงศ์พระอริยะเจ้าทั้งหลาย อันนี้พวกเรา กำลังเดินทาง ทางสายตรง
    สายที่พระพุทธเจ้าของพวกเราเดินแล้ว พวกเราก็เดินด้วยกาย กายบริสุทธิ์ เดินด้วยวาจา วาจาก็บริสุทธิ์ เดินด้วยใจ ใจก็บริสุทธิ์ เป็นสัมมาทิฏฐิด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ตามมัชฌิมาปฏิทา คือทาง ๘ สาย
    ที่เป็นองค์มรรค เป็นหนทางตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าพวกเราจัดอยู่ในขั้นกำลังย่างก้าวต้น ๆ ก็ตาม
    หากว่าก้าวต้นถูกแล้ว ก้าวที่ ๒ ก็ต้องถูก ก้าวที่ ๓ ก้าวที่ ๔ ก็ต้องถูกไปเรื่อย ๆ ถึงทางแยกสงสัยว่าทางนี้ไปทางไหน จะไปบ้าน หรือไปป่า ความสงสัยของพวกเราไม่มีแล้ว ก็ไปตามสายตรงอย่างนี้
    ก็ขอให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ได้เอาความคิด ความเข้าใจ ความปฏิบัติที่ได้ปฏิบัติมาแล้วนี้ ตั้งแต่วันที่ ๕
    ถึงวันนี้ ก็ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเหล่านี้ คือ บารมีธรรมที่ปฏิบัตินี้ จงเป็นพลวะปัจจัยช่วยค้ำจุน
    อุดหนุน บ่งบอกทางปฏิบัติให้เกิดความสว่างไสว ให้เกิดปัญญาอันแจ้งชัดในจิตสันดาน ของพวกท่านทุก ๆ ท่าน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...