เรื่องเด่น รวมเรื่องเล่าพระอัจฉริยภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 “ไอที-สื่อสาร” ฝีพระหัถต์ล้วน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 ธันวาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    e0b988e0b8ade0b887e0b980e0b8a5e0b988e0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8ade0b8b1e0b888e0b889e0b8a3e0b8b4.jpg
    หยิบมาให้อ่านกันอีกครั้งสำหรับเรื่องราวพระอัจฉริยภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านไอที-สื่อสาร ทุกเรื่องสะท้อนว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษามุ่งมั่นจริงจังจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้จากฝีพระหัถต์ล้วน ไม่เน้นพึ่งพาโปรแกรมสำเร็จรูปใดๆ

    1213apTHPATTA_3_render.jpg

    aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL25zLzAvdWQvNDE4LzIwOTE3MDIvazQuanBn.jpg

    ในหลวงกับพระอัจฉริยภาพด้านการสื่อสาร (Cyber Weekend)

    พระราชอัจฉริยภาพด้านการสื่อสารปรากฎชัดตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาวิชาไฟฟ้าและวิทยุสื่อสาร สิ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์และทดลองใช้คือเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องรับวิทยุยังใช้แร่อยู่ ดังความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่อง เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าให้ฟังว่า

    ‘เครื่องวิทยุที่บ้านไม่ทรงมีสิทธิที่จะแตะต้อง มีไว้ฟังข่าวเท่านั้น แต่เมื่ออายุสัก 10 ปี ได้ ก็มีโอกาสสร้างของตนเองขึ้นมาได้ ที่โรงเรียนมีการขายสลากในงานของโรงเรียนงานหนึ่ง ท่านก็ได้สลากเป็น คอยล์ (Coil) ท่านก็ศึกษาถามผู้รู้ว่า จะต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นวิทยุออกมาได้ เขาก็บอกให้ท่านซื้อแร่ดำ (GalenaหรือgaleniteหรือPbs) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครื่อง คือที่รับฟังไฟฟ้าในอากาศที่เป็นคลื่นวิทยุ และหูฟังอีกคู่หนึ่ง ทั้งหมดราคาประมาณ 10 แฟรงค์ มาต่อกันอย่างไรไม่ทราบ ทรงสามารถฟังวิทยุที่เขาส่งมาได้ ยังแบ่งกันฟังคนละหูกับพระเชษฐา ต่อไปพระเชษฐาก็ซื้อของพระองค์เอง’

    640_2016101813402284.jpg

    สามารถอ่านต่อบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

    “Infographic พระราชทาน” ยากเป็นง่ายด้วยพระราชาไอที

    เรื่องราวของ Infographic ฝนหลวง ที่ถูกเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “แผนภาพ (การ์ตูน) ตำราฝนหลวงพระราชทาน” แผนภาพนี้มีเอกลักษณ์เดียวกับ ส.ค.ส.ฝีพระหัตถ์ โดยเฉพาะความเป็นสีขาว-ดำ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการสะท้อนให้ลูกหลานไทยได้เห็นถึงตัวอย่างของความประหยัด มัธยัสถ์

    564000012210002.jpg
    หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ต้องถือว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงริเริ่มนำภาพกราฟิกมาอธิบายเรื่องยาก และเต็มไปด้วยซับซ้อนทางเคมีได้ก่อนเทรนด์โลก จะเห็นว่าภาพการ์ตูนที่ทรงบันทึกด้วยคอมพิวเตอร์นี้ถูกสร้างในยุคที่เทคโนโลยีมีข้อจำกัดสูงมาก การใช้คอมพิวเตอร์ทรงงานของพระราชาไอทีองค์นี้ จึงสะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มที่

    สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

    ตามรอย “คอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์” เครื่องแรก

    มีหลักฐานชัดเจนว่า พระองค์ทรงสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลด้วยพระองค์เอง, ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทย (Font) ที่มีลักษณะงดงามอ่อนช้อยเพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์, ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ, ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ และยังทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส.ด้วยคอมพิวเตอร์แก่ปวงชนชาวไทยหลายปีติดต่อกัน พระกรณียกิจมากมายเหล่านี้เริ่มต้นมาจาก “Macintosh Plus” คอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์เครื่องแรกที่ทรงใช้งาน

    b988e0b8ade0b887e0b980e0b8a5e0b988e0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8ade0b8b1e0b888e0b889e0b8a3e0b8b4-2.jpg
    ตามข้อมูลที่ปรากฏ ม.ล.อัศนี ปราโมช คือผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งหากนับอายุโดยคร่าวของ Macintosh Plus ก็จะพบว่าคอมพ์ทรงเกียรตินี้มีอายุนับจากการเปิดตัวครั้งแรกในปี 1986 เกินกว่า 30 ปี

    สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

    4 เรื่องเด่นบอกเล่าพระอัจฉริยภาพด้านไอที-สื่อสาร ในยุคไร้ดิจิทัล

    ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย กูเกิล (Google) ยังไม่เกิด เครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ยังไม่ตั้งไข่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านดิจิทัลและการสื่อสารเพราะทรงศึกษามุ่งมั่นจริงจัง และทรงนำเทคโนโลยีสาขาวิชาเหล่านั้นมาทรงประยุกต์ใช้เพื่อความร่มเย็นผาสุกของพสกนิกร

    เรื่องแรกเริ่มที่สมัยที่เครื่องรับวิทยุยังใช้แร่ เรื่องที่ 2 คือระบบฐานข้อมูลที่ทรงไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เรื่องที่ 3 คือทรงไม่ต้องพึ่งพา digital mapping และเรื่องที่ 4 คือทรงไม่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าในหนังสือ “ดุจดวงตะวัน” (ปี 2538) ว่า “ยุคแรกๆ นั้น ยังไม่ค่อยมีเรื่องเสียง ท่านก็ทำให้พูด สวัสดีครับ อะไรต่อมิอะไรตั้ง 10 กว่าปี นานแล้ว”

    สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9640000119570
     

แชร์หน้านี้

Loading...