ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1736557405066.jpg

    โปรดติดตามอย่างใกล้ชิด จ้องตาไม่กระพริบ! สรุปโดนไม่โดน อีกไม่กี่อึดใจได้รู้กัน!
    สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่ารัฐบาลอเมริกาของ โจ ไบเดน จ่อทิ้งทวนแบบ "ประทับใจ" ด้วยการควบคุมการส่งออกชิป AI ของ "เอ็นวิเดีย" ขั้นสุดยอด --- ย้ำว่าควบคุมขั้นสุดยอดอย่างไม่เคยมีมาก่อน
    ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมจะไม่แจกแจงรายละเอียดมาก เพราะนี่ยังไม่ใช่รัฐบาลประกาศเอง แต่เป็นข่าวรายงานว่า "เตรียม" ประกาศ ดังนั้น รอของจริงอีกนิด (ถ้าเกิดจริง)
    แต่คร่าวๆ คือ การจัดเทียร์ทั่วโลก เป็น 3 เทียร์
    ก่อนจะว่ากันต่อ ต้องย้ำอีกทีว่าก่อนๆ นี้ ที่ห้าม Nvidia (และบริษัทอเมริกาอื่นๆ) ด้วยมาตรการต่างๆ นั้น คือห้ามเฉพาะสำหรับที่ส่งออกไปจีนเท่านั้น แต่นี่จะต่างออกไปโดยสิ้นเชิงเลย เพราะจะไล่ทำบัญชีทั้งโลก
    สีฟ้าคือตามสบายจ้ะ เท่าไหร่เท่ากัน จะส่งแค่ไหนก็ตามใจ
    สีชมพูคือห้ามเด็ดขาด ไม่มีให้เล็ดลอดไปได้สักนิด
    สีเหลือง นี่แหละ "เทียร์2" คือส่งได้ แต่จำกัด มีควบคุม (ซึ่งรายละเอียดว่าเท่าไหร่ยังไง รอของจริงดีกว่า)
    ก็เห็นเด่นชัดนะครับว่าไทยแลนด์เราอยู่ในสีเหลือง
    ฉะนั้น ที่ใครดีลอะไรกับ Nvidia ไว้ก็มีตกอกตกใจล่ะครับ และไม่ใช่แค่ดีล Nvidia แต่กับบริษัทต่างๆ นานา อาทิ Google และ Microsoft เป็นต้น ก็กระทบเช่นกัน เพราะดาต้าเซ็นเตอร์ AI ย่อมเลี่ยงไม่ได้ ต้องซื้อ GPU ของ Nvidia มาใช้อยู่แล้ว ... นั่นก็ประการหนึ่ง
    แต่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือบริษัทอย่าง Google และ Microsoft ก็จะถูกควบคุมเช่นกันว่าไปตั้งอยู่ไหนได้เท่าไหร่
    ตามข่าว สีฟ้า แน่ล่ะ จะเท่าไหร่ก็เท่ากัน แต่ถ้านอกสีฟ้า นั่นห้ามเกิน 25% (รายละเอียด รอยืนยัน ถ้ารัฐบาลเอาจริง แล้วจะมีแถลงการณ์ออกมา)
    ซึ่งนอกสีฟ้า ก็หมายถึงสีเหลืองเท่านั้น เพราะสีชมพูห้ามเด็ดขาด
    และสีเหลืองประเทศใดๆ ก็ตั้งได้ไม่เกิน 7% (สำหรับประเทศหนึ่งๆ)
    เท่ากับว่านโยบายใดๆ ก็ต้องกลับมาทบทวนใหม่ เพราะบริษัทจะไปซี้ซั้วไม่ได้ --- ถ้าจะไปประเทศสีเหลืองไหน ก็ต้องเน้นๆ จริงๆ ว่าเกิดประโยชน์โพดผลงอกงาม
    เรื่องนี้ย้ำว่าต้องติดตามอย่างใจจดใจจ่อจริงๆ
    ซึ่งปกติแล้ว ถ้าข่าวระดับบลูมเบิร์กออกมาอย่างนี้ ย่อมไม่พลาด น่าจะลงมือจริง (ตามข่าวบอกว่าอาจเป็นวันศุกร์นี้เลย) แต่พวกรายละเอียดอาจมีคลาดเคลื่อนไป รอลุ้นล่ะครับ
    มีผลกับไทยโดยตรง
    https://www.bloomberg.com/news/arti...chip-exports-in-final-push?srnd=homepage-asia
    https://www.facebook.com/share/p/18SDdZmeak/
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1736566759813.jpg

    ตัดก่อนตาย ขายก่อนวายวอด! เทรดเดอร์ขาย CALL option หุ้นจีน ตัดใจเจ๊งยับ 3.5พันล้านบาท! เก็งผิดขา! #หุ้นจีน ร่วงหนัก ไหลไม่หยุด

    สั้นๆ ละกันนะครับ เคยอธิบายยาวๆ บ่อยแล้ว
    ซื้อ option ก็คล้ายๆ ประกันแบบหนึ่ง คือซื้อ "สิทธิ์ที่จะทำอะไร" --- แต่เมื่อถึงเวลา จะทำหรือไม่ทำก็ได้
    ถ้า call option ก็ สิทธิ์ที่จะซื้อ ส่วนถ้า put option ก็ สิทธิ์ที่จะขาย
    เราจะซื้อ call option ก็ต่อเมื่อ ตลาดกำลังเป็นขาขึ้น แล้วตัวเราจำเป็นต้องซื้อครับ
    หมายความว่า หมูปิ้ง ราคาสัปดาห์ก่อน 5 บาท แต่วันนี้ 7 บาทแล้ว เราเสียวว่าสัปดาห์หน้า จะพุ่งไป 10 บาท ซึ่งเราจำเป็นต้องซื้อไง เพราะเราจะกินหมูปิ้ง ไม่กินอย่างอื่น
    ทางหนึ่ง เราซื้อล่วงหน้าได้ ซื้อหมูปิ้งของสัปดาห์หน้า (ตลาดฟิวเจอร์ส)
    แต่อีกทาง เราไม่ซื้อ แต่ซื้อ "สิทธิ์ที่จะซื้อ" : เรายอมเสีย 50 สตางค์ตอนนี้ เพื่อที่ว่าถ้าสัปดาห์หน้า ราคาหมูปิ้งเป็นไงไม่รู้ล่ะ แต่เราจะซื้อได้ ที่ราคา 8.50 บาท
    หมายถึงแบบนี้ครับ หมายถึงว่าถ้าสัปดาห์หน้า ราคาหมูปิ้งในท้องตลาด ปาเข้าไป 10 บาท ก็ยิ้มเลย เราซื้อได้ที่ 8.50 บาทจ้า ยิ้มกว้างเลย
    แต่กลับกัน ถ้าราคาวันนั้นมันแค่ 7.50 บาท เราก็ไม่ต้องใช้สิทธิ์นี้ ทิ้งไปเปล่าๆ ปลี้ๆ เพราะเดินไปซื้อตามตลาดได้เลย (ขืนใช้สิทธิ์ก็บ้าสิ เพราะตามสิทธิ์จะซื้อแพงกว่า ที่ 8.50 บาท)
    นี่คือ call option ครับ ความถูกแพงขึ้นอยู่กับ strike price --- สมมติตัวอย่างตะกี้ ถ้าเราซื้อ "สิทธิ์ที่จะซื้อ" ที่ 8 บาท ก็ย่อมจะเสียค่า call option มากกว่า 50 สตางค์แน่
    และก็เวลาข้างหน้าในการ exercise สิทธิ์ด้วยครับ ที่มีผลต่อความถูกแพง
    วกเข้ามาที่ข่าวนี้ คือ ก่อนๆ นี้ หุ้นจีนเป็นขาขึ้นค่อนข้างแรงครับ ก็มีเทรดเดอร์ที่ไปซื้อ call option พอสมควร ซึ่งหุ้นจีนมันขึ้นแรงทีเดียวนะครับ แบบนี้ call option ก็จะยิ่งแพง --- ซึ่งแรกๆ ผลตอบแทน mark-to-market มันดีเลยล่ะครับ
    (ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเล่นท่าไหน คุณไม่จำเป็นต้องกินหมูปิ้ง คุณก็เข้ามาเล่นในตลาด option ได้ --- ซื้อๆ ขายๆ เฉพาะตัว option เลย)
    แต่พอมาถึงต้นปีนี้ โอ้โห หุ้นจีนมันดิ่งชอบกลๆ ซึ่งก็ไม่แน่ เดี๋ยวมันอาจจะขึ้นก็ได้นะครับ เวลามีอีกแยะ แต่เทรดเดอร์พวกนั้นเห็นท่าไม่ดี ยอมตัดใจขาดทุนดีกว่าครับ ขาย call option ทิ้ง (ปิด position) ซึ่งก็ทำให้ปลิวไปกับตา รวมกันเกิน 100 ล้านดอลลาร์เลยล่ะครับ

    https://www.bloomberg.com/news/arti...hina-etfs-swing-from-gain-to-100-million-loss

    https://www.facebook.com/share/18KitfecCQ/
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฉุดไม่อยู่แล้ว! พันธบัตรอังกฤษบัดซบสุดในรอบ 26 ปี! หวั่นทำ "กองทุนบำเหน็จบำนาญ" ล้มทั้งยืน! ทำเอาฟันปลอมแทบหลุด!
    สถานการณ์ยิ่งวันยิ่งเลวร้าย ล่าสุด พันธบัตรรัฐบาลอังกฤษอายุ 30 ปีนั้น yield ดีดทะลัก ขึ้นไปสูงสุดในรอบ 26 ปี
    (*bond : พันธบัตรหรือหุ้นกู้ ยิ่ง yield สูง ยิ่งราคาตก แปลว่า bond นั้นยิ่งไม่ดี)
    ซึ่งปกติแล้ว พวก pension fund กองทุนบำเหน็จบำนาญทั้งหลายแหล่ เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของน่ะสิครับท่าน
    จุดประสงค์เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของวัยเกษียณ
    แต่บัดนี้ ... มั่นคง กลายเป็นสั่นคลอน
    ปลอดภัย กลายเป็นอันตรายที่สุด!
    เสียวสยอง!
    yield สูงปรี๊ดแบบนี้ คือ "ผลตอบแทน" performance เละเทะ
    เท่ากับว่า กองทุนฯ ประดานี้ เจอ "บททดสอบ" ที่หนักหน่วงสาหัสอย่างยิ่ง
    รอดไม่รอด ไหวไม่ไหว
    ลมหายใจของวัยไม้ใกล้ฝั่ง ฝากไว้ที่นี่!!!
    ตอนนี้ ที่ต้องทำ คือทุ่มเงินแหลกลาญ เพื่อบริหารความเสี่ยง hedging ในตลาด derivatives
    ซึ่งมันจะช่วย "หยุดเลือด" ได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้ ...
    ช่วงคับขันจนตรอกเช่นนี้ อยู่ที่พันธบัตรรัฐบาลอังกฤษเลยจริงๆ --- ถ้าถูกเทขายระห่ำแตกแบบนี้ เกรงว่าอะไรก็ยั้งไว้ไม่ได้
    และจินตนาการออกใช่ไหมครับท่าน
    ถ้ากองทุนบำเหน็จบำนาญ "พังทลาย" แล้วจะวุ่นวายโกลาหลขนาดไหน
    และ "โดมิโน่" จากพันธบัตรอังกฤษจะส่งผลเท่าไหร่ต่อโลกทั้งใบ
    ระเนนระนาด ...
    ระวัง
    https://www.reuters.com/markets/uk-...-first-big-test-since-2022-crisis-2025-01-10/
    https://www.facebook.com/share/1GxtAytofv/
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150


    Screenshot_2025-01-11-12-37-36-63_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตำแหน่งใหม่ของขั้วเหนือสนามแม่เหล็กโลกจาก 17 เดือนพฤศจิกายน 2567 ถึง 4 เดือน มกราคม 2568 ระยะทาง 7.7 ไมล์ จากข่าวที่เคยตาม ถ้าเดินหน้าไปไซบีเรีย มาก็ขึ้น ภัยพิบัติก็ยิ่งรุนแรงขึ้น และถ้าถอยกลับไปแคนนาดา ภัยพิบัติ ก็จะลดความรุนแรง แต่ตอนนี้เดินหน้าไปไซบีเรีย



    Screenshot_2025-01-11-12-50-39-07_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg Screenshot_2025-01-11-12-49-40-39_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg Screenshot_2025-01-11-12-50-06-20_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg Screenshot_2025-01-11-12-50-12-33_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg Screenshot_2025-01-11-12-50-16-26_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,854
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รีเช็ก ก่อนยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจำปีภาษี 2567 รายได้เท่าไรต้องเสียภาษี? ต้องเตรียมเอกสารอะไร มีค่าใช้จ่ายไหนที่นำมาลดหย่อนได้บ้าง?
    .
    วนกลับมาอีกครั้งสำหรับหน้าที่ของประชาชนไทยผู้มีรายได้ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนผู้แข็งแกร่งที่ถึงช่วงเวลาต้องยื่นภาษีประจำปีในรอบปีภาษี 2567 กันแล้ว
    .
    <เช็กก่อน! เงินเดือนเท่าไร ถึงเสียภาษี?>
    ตามกฎหมาย กรรมสรรพากรได้กำหนดเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำ (ต่อปี) ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    1. คนโสด
    – มีเงินได้เงินเดือนประเภทเดียว เกิน 120,000 บาท (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91)
    – มีเงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน เกิน 60,000 บาท (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90)
    2. ผู้ที่มีคู่สมรส
    – มีเงินได้เงินเดือนประเภทเดียว ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน เกิน 220,000 บาท (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91)
    – มีเงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน เกิน 120,000 บาท (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90)
    .
    สำหรับกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง มีเงินได้เกิน 60,000 บาท (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90)
    .
    ส่วนคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล/วิสาหกิจชุมชน มีเงินได้เกิน 60,000 บาท (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90)
    .
    <คิดอัตราภาษีแบบขั้นบันได>
    โดยสรรพากรได้กำหนดอัตราภาษีแบบขั้นบันไดไว้ในการคำนวณอัตราภาษี ซึ่งรายได้สุทธิ (หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน) จะถูกคำนวณภาษีตามอัตราข่างล่างนี้
    > 0 บาท – 150,000 บาท : ยกเว้นภาษี
    > 150,001 บาท – 300,000 บาท : ร้อยละ 5
    > 300,001 บาท – 500,000 บาท : ร้อยละ 10
    > 500,001 บาท – 750,000 บาท : ร้อยละ 15
    > 750,001 บาท – 1,000,000 บาท : ร้อยละ 20
    > 1,000,001 บาท – 2,000,000 บาท : ร้อยละ 25
    >2,000,001 บาท – 5,000,000 บาท : ร้อยละ 30
    > เกิน 5,000,000 บาท : ร้อยละ 35
    .
    <ยื่นแบบภาษีได้ตอนไหน?>
    กรมสรรพากรเปิดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจำปีภาษี 2567 ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา กรณียื่นแบบภาษีรูปแบบกระดาษ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ยื่นได้ไปจนถึง 31 มีนาคม 2568
    .
    <ยื่นภาษีได้ 2 ช่องทาง>
    (1) ยื่นที่สำนักงานสรรพากร
    หากต้องการความยุ่งยาก(บ้าง) อยากใช้เวลาอยู่บนรถและท้องถนน ก็สามารถไปยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้ โดยในเขตกรุงเทพมหานคร ยังสามารถยื่นภาษีรายได้ที่
    1. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สํานักงานสรรพากรเขต/อําเภอ)
    2. ที่ทําการไปรษณีย์สําหรับการยื่นแบบ โดยสามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือธนาณัติ (ตามจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระทั้งจํานวน) ส่งไปยังที่อยู่ กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
    .
    ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชําระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงิน ให้แก่ผู้ยื่นแบบทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
    .
    ส่วนใน ต่างจังหวัดสามารถยื่นภาษีรายได้ที่ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สํานักงานสรรพากรเขต/อําเภอ)
    .
    โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้
    1. แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90
    2. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
    3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ
    4. เอกสารยืนยันสิทธิค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03)
    .
    นอกจากเตรียมเอกสารเพื่อยื่นภาษีแล้ว ต้องเตรียมเงินเพื่อชำระเงินภาษี และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามกฎหมายสรรพากร ดังนี้
    1. ยื่นเกินกำหนดเสียค่าปรับ 2,000 บาท กรมสรรพากร ระบุว่าเตือนเรื่องค่าปรับกรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เมื่อเกินกำหนดเวลาต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้

    2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 /91 ผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ หากมิได้ชำระเงินภาษีภายในวันที่ 31 มี.ค.ของทุกปี ถือว่ามิได้ยื่นแบบ ท่านต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1
    .
    3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เกินกำหนดเวลา
    – กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1
    – กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระค่าปรับเพียงอย่างเดียว
    .
    4. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ
    – กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ
    – กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ
    5. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอผ่อนชำระเงินภาษี หากมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา จะหมดสิทธิ์การผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

    (2) ยื่นภาษีออนไลน์
    ใครที่ชอบความสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สำนักงานก็ยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ง่ายๆ ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2568 ยังมีเวลาจัดเตรียมเอสารอีกหลายเดือนเลยทีเดียว ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียม มีดังนี้
    1. เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากบริษัท ซึ่งระบุว่ามีรายได้รวมเท่าไร มีการหักภาษีล่วงหน้าเท่าไรบ้าง
    2. รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา–มารดา หรือบุตร
    3. เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี, เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปของมาตรการ Easy E–Receipt เป็นต้น
    .
    <เช็ก 31 รายการลดหย่อนภาษีปี 2567 ก่อนยื่นแบบภาษี>
    ในการยื่นแบบภาษียังมีรายการลดหย่อนภาษีได้ 31 รายการ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับเงินคืนมากยิ่งขึ้นด้วย โดยก่อนยื่นแบบภาษี BTimes แนะนำว่าให้กลับไปรีเช็กรายการที่มามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้ ซึ่งรายการที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ มีรายละเอียด ดังนี้
    *สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภทส่วนตัวและครอบครัว*
    – ส่วนตัว 60,000 บาท
    – คู่สมรส (ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
    – บุตร คนละ 30,000 บาท
    – บุตรคนที่ 2+ เกิดตั้งแต่ปี 2561 คนละ 60,000 บาท
    – ค่าคลอดบุตร ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
    – ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ คนละ 30,000 บาท
    – ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ/ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
    .
    *สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภทประกันชีวิตและการลงทุน*
    – ประกันชีวิตทั่วไป/สะสมทรัพย์ ไม่เกิน 100,000 บาท
    – ประกันสุขภาพตัวเอง ไม่เกิน 25,000 บาท
    โดยรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
    .
    – ประกันสุขภาพพ่อแม่ ไม่เกิน 15,000 บาท
    – ประกันชีวิตคู่สมรส (ไม่มีรายได้) ไม่เกิน 10,000 บาท
    – ประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท
    – เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ไม่เกิน 100,000 บาท
    – กองทุน Thai ESG 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 300,000 บาท
    – กองทุน SSF 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
    – กองทุน RMF 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
    – ประกันบำนาญ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
    – กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไม่เกิน 30,000 บาท
    – กองทุน PVD 15% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 500,000 บาท
    – กองทุนสงเคราะห์ครูฯ ไม่เกิน 500,000 บาท
    – กบข. ไม่เกิน 500,000 บาท
    โดยจะต้องรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
    .
    *สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภทกระตุ้นเศรษฐกิจ*
    – ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
    – Easy E–Receipt 67 ไม่เกิน 50,000 บาท
    – เที่ยวเมืองรอง 2567 ไม่เกิน 15,000 บาท
    – สร้างบ้านใหม่ 2567–2568 ไม่เกิน 100,000 บาท (10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้างทุก 1 ล้านบาท)
    .
    *สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภทช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย*
    – ค่าซ่อมบ้าน ไม่เกิน 100,000 บาท
    – ค่าซ่อมรถ ไม่เกิน 30,000 บาท
    (ที่จ่ายไประหว่าง 16 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567) *เฉพาะเขตพื้นที่ที่กำหนด
    .
    *สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภทเงินบริจาค*
    – กลุ่มการศึกษา/กีฬา/มูลนิธิด้านการแพทย์และการสาธารณสุข 2 เท่าของเงินบริจาค (ตาม พ.ร.ฎ. 771 พ.ศ. 2566) ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน (สำหรับการบริจาคผ่านระบบ e–Donation เท่านั้น)
    – บริจาคสถานพยาบาลของรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาค ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
    – บริจาคทั่วไปตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
    – พรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท

    โดยบรรดา 31 รายการที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ผู้เสียภาษี ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
    .
    <ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์>
    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร คลิก https://efiling.rd.go.th/ หรือ https://efiling.rd.go.th/rd–cms/ ทำตามขั้นตอน
    โดยกด “ยื่นแบบออนไลน์” (สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ตั้งแต่วันนี้–9 เม.ย. 2567) จากนั้น “เข้าสู่ระบบ” ด้วยเลขบัตรประชาชน (หากใช้บริการเป็นครั้งแรกกด “สมัครสมาชิก” แล้วทำตามขั้นตอน)
    จากนั้น ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้
    กดยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91
    .
    **ข้อควรรู้ : ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล/ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่น
    .
    2. ดึงข้อมูลค่าลดหย่อนอัตโนมัติ
    กรอกข้อมูลรหัสหลังบัตรประชาชน แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
    ระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ให้อัตโนมัติ จากนั้นกด “ตรวจสอบข้อมูลสำหรับยื่นแบบ”
    เลือกข้อมูลที่จะใช้ในการยื่นภาษี จากนั้นกด “เริ่มยื่นแบบ”
    .
    3. ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว และใส่สถานะ
    ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ทั้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร, ชื่อ–นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, สถานที่ติดต่อ, ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) ให้ตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้ระบุ “สถานะ” โสด/สมรส/ม่าย
    .
    4. ระบุข้อมูลตามแหล่งที่มาของรายได้
    ระบบจะแสดงหน้ารายได้ต่างๆ โดยแยกตามแหล่งที่มาของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากฟรีแลนซ์, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหากเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้ช่องทางเดียวจากเงินเดือน ให้เลือก “ระบุข้อมูลช่อง 40(1)”
    .
    5. กรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ
    ในหน้านี้ให้กรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ ที่ทางบริษัทให้มา ดังนี้
    – เงินได้ทั้งหมดในปีที่ผ่านมา
    – ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้ดูว่าบริษัทมีการหักภาษีล่วงหน้าไปหรือไม่ หากไม่มีให้ระบุ 0 หรือถ้ามีก็ให้ระบุตามใบ 50 ทวิ
    – เลขผู้จ่ายเงินได้ของบริษัทที่ทำงานอยู่
    .
    6. ตรวจสอบค่าลดหย่อนทั้งหมด
    ในระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนให้อัตโนมัติ สามารถใส่เพิ่ม หรือปรับแก้ไขได้
    .
    7. ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด
    จากข้อมูลรายได้ทั้งปี และค่าลดหย่อนต่างๆ ระบบจะทำการคำนวณเงินที่ต้องเสียภาษี หรือได้คืนภาษีมาให้อัตโนมัติ โดยให้ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วเลือกว่าจะขอคืนภาษีและอุดหนุนพรรคการเมืองหรือไม่
    .
    8. กดยืนยันการยื่นแบบ
    ให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง หากเรียบร้อย ถูกต้องแล้ว ให้ “กดยืนยันการยื่นแบบ” ก็เป็นการเสร็จสิ้นการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    .
    **เทคนิคควรรู้: อัปโหลดเอกสารค่าลดหย่อนต่างๆ เพิ่มเติม และผูกหมายเลขบัญชีพร้อมเพย์ที่เป็นเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี
    .
    โดยสรรพากรยังเปิดให้ผู้ที่มีภาษีต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป สามารถขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวด
    .
    นอกจากนี้ ยังสามารถยื่นภาษีแบบใหม่ ผ่านระบบ D–MyTax โดยสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ตามลิงก์นี้ ––>> https://shorturl.asia/PW34K
    .
    หากอ่านข้อมูลทั้งหมด ที่ BTimes นำมาฝากแล้วยังมีข้อสงสัยอื่นๆ เพิ่มเติม ก็สามารถสอบถามไปยังศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (RD Call Center) โทร. 02–272–8000 หรือศึกษาเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ลิงก์นี้ ––>> https://shorturl.asia/V4zmu
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/4gNyK32
    .
    Website: https://btimes.biz
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/@BTimes_ch3
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #ยื่นภาษี2567 #ยื่นภาษี #ภาษี #ภาษีเงินได้ #รายได้ #ลดหย่อนภาษี #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/15whptLk7s/
     

แชร์หน้านี้

Loading...